ธุรกิจ การตลาด E-Marketing การตลาดผ่านอินเทอร์เน็ต


763 ผู้ชม


   อินเทอร์เน็ต (Internet) นับเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นจำนวนหลายล้านเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ หน่วยงานของราชการ สถานบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย หรือเครือข่ายส่วนบุคคล ซึ่งแต่ละเครือข่ายที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะมีการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากร  การให้บริการด้านสินค้า และการให้เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของตนผ่านอินเทอร์เน็ต    วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก นับตั้งแต่ปี 1900 เป็นต้นมา และได้กลายมาเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด และมีการเชื่อมต่อเป็นทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) ในเวลาต่อมา    ปัจจุบันเชื่อกันว่ามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก และได้ขยายไปสู่การบริการด้านธุรกิจ บันเทิง การทำงานร่วมกันในองค์กร และระบบพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ เป็นต้น     นอกจากนี้ยังมีการใช้อินเทอร์เน็ตในภาคธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยคู่แข่งขัน  การจัดการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า  และการนำไปใช้เพื่อการสนับสนุนพ่อค้า หรือแม้กระทั่งการซื้อขายผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆรวมไปถึงการให้การบริการด้วย ซึ่งพอประมวลได้ดังต่อไปนี้ คือ (หนังสือพิมพ์เทเลคอม เจอร์นัล,   2550 : ออนไลน์) 

          การเปิดโฮมเพสเพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสาร  ไม่ใช่เพียงการขายสินค้าแต่เพื่อทำกิจกรรม  และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค Interactive Communication ซึ่งจะช่วยการบริหารงบการตลาดผ่านสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้สื่อแบบ Interactive Communication คือ การใช้สื่อที่สามารถเกิดการสื่อสารโต้ตอบกลับมาได้ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญคือการตลาดแบบผสมผสาน (IMC)โดยการเลือกใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย    


          1.  หลายตราสินสินค้าในปัจจุบันเลือกที่จะใช้สื่อแบบหลากหลาย ผสมทั้งสื่อใหม่และสื่อเก่าเข้าด้วยกัน   โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ซึ่งมีการเติบโตสูงมาก จากเดิมที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอยู่เพียงไม่กี่ล้าน เมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มเป็น 13.5 ล้านคน    ดังนั้น เราจึงได้เห็นตราสินค้าดังๆ หลายตราที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง    และไม่เพียงเท่านั้นยังมีเว็บไซต์เฉพาะแต่ละแคมเปญเสริมเข้าไปอีก    ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย และสร้างเครือข่ายสำหรับคนที่มีแนวคิด หรือความชื่นชอบที่เหมือนๆ กัน
        
 

          การผนึกกำลังระหว่างสื่อใหม่สื่อเก่า และการทำกิจกรรมการตลาดในรูปแบบ Interactive Communication  ภายใต้กลยุทธ์การตลาดแบบผสมผสานที่เพียบพร้อมด้วยครีเอทีฟไอเดียที่ดี   ยังจะเป็นเครื่องมือการตลาดที่สำคัญ ที่ผู้ประกอบการจะใช้เป็นเครื่องมือหลักในการสร้างรายได้ และขยายกลุ่มเป้าหมายไปอีกยาวนาน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ได้ผลเร็วและแม่นยำที่สุด ดังที่ผู้ประกอบการหลายๆ ตราสินค้าได้พิสูจน์มาแล้ว (หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ,  2552 : ออนไลน์)

 

               1.1  การติดตั้งระบบ IT ต่างๆ ที่จะทำให้องค์กรสามารถเพิ่มสมรรถนะในขบวนการการให้บริการแก่ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นทาง front office หรือ back office ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น software, hardware, people ware, ERP หรือ infrastructure ต่างๆ ที่จำเป็น   สิ่งเหล่านี้ในทุกวันนี้กลายเป็นสิ่งจำเป็นขององค์กรที่จะต้องมีอย่างน้อยเพื่อการดำเนินกิจการปรกติ    แต่ถ้าองค์กรใดต้องการจะเป็นผู้นำจะต้องมีกลยุทธ์ในการทำ system design & development ที่เป็น customer-centric process มากขึ้น   เพราะฉะนั้นการวาง IT architecture ขององค์กรอาจจะต้องเป็น collaboration effort ระหว่าง Chief IT Officer และ Chief Marketing Officer มิฉะนั้นเงินลงทุนมหาศาลที่ลงไปใน fixed assets เหล่านี้จะเป็นแค่ capital expenditure ตามที่นักบัญชีชอบใช้เรียกกัน แทนที่เงินลงทุนเหล่านี้จะเป็น capital investment ที่สามารถ generate return

 

               1.2  ในอนาคตถ้าระบบเหล่านี้สามารถทำให้ขบวนการการให้บริการลูกค้าเร็วขึ้น สั้นลง ถูกลง ใช้คนน้อยลง ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากขึ้นโดยไม่ไปเสียเวลากับลูกค้าที่ไม่ดีและไม่ก่อให้เกิดรายได้ และที่สำคัญที่สุดคือลูกค้าพึงพอใจมากกว่าการบริการที่ได้รับจากคู่แข่งจากการที่มีระบบเหล่านี้ติดตั้งอย่างเหมาะสม (สุมาส วงศ์สุนพรัตน์,  2551 : ออนไลน์)

 

               1.3  การสื่อสารทางตรงกับลูกค้า

 

               1.4  ความรวดเร็วในการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมข้อมูลในถ่ายทอดสู่ผู้บริโภค

 

               1.5  การสามารถรวบรวมกิจกรรมและแสดงวัตถุประสงค์ของสินค้าแก่กลุ่มลูกค้าได้อย่างครบถ้วน

 

               1.6  การสามารถจัดทำ Loyalty Program  ต่างๆ  ผ่านอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวก  รวดเร็ว  และประหยัด    โดยการใช้บริการกลยุทธ์ Loyalty Program ถือเป็นโปรโมชั่นยอดนิยมแห่งยุค ธุรกิจหลากหลายรูปแบบต่างมุ่งประเด็นใช้สร้างสัมพันธ์กับลูกค้า ตั้งแต่สินค้า ภัตตาคาร ร้านอาหาร มือถือ บัตรเครดิต ห้างสรรพสินค้า สายการบิน โรงภาพยนตร์ และสถานบันเทิง ต่างแห่จัดโปรแกรมมัดใจลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นสะสมคะแนน ศูนย์บริการรองรับลูกค้าทางโทรศัพท์ บัตรสมาชิกเพิ่มสิทธิประโยชน์ หรือส่วนลด เป็นต้น

 

          การจัดทำ Loyalty Program ถือเป็นเครื่องมือการตลาดแบบหนึ่งที่อยู่ภายใต้กลยุทธ์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ หรือ CRM โดยจุดเริ่มต้นของธุรกิจที่คิดจะนำโปรแกรมนี้ไปใช้ คือต้องการทราบถึงความต้องการของลูกค้า พฤติกรรมการซื้อสินค้า ปัจจัยในการซื้อหรือใช้บริการ และใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า (Database) เพื่อหาโปรแกรมที่เหมาะสมมาใช้เพื่อสร้างประโยชน์ทางการตลาดและ Lifetime Value Customer (ศูนย์ข้อมูลธุรกิจและข้อมูลการตลาด, 2551 : ออนไลน์) 

 

          นอกจากนี้ยังมีสื่อหลักคือกระดานข่าวในเว็ปไซต์       การร่วมกันทำกิจกรรมหรือจัดกิจกรรมต่างๆ นับเป็นการสร้างประสบการณ์ทางตรงแบบ Word of Mouth ให้กับทั้งสมาชิกและเกิดการรับรู้ในของชุมชนและกลุ่มผู้สนใจ ซึ่งการจัดกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า“จุดสัมผัสทางการตลาด” (Touch Point)  การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องนั้นก็จะสร้างความผูกผันกับกลุ่มผู้บริโภค  เกิดการสื่อสารเป็นในลักษณะสองทาง (Interactive communication) คือสามารถแลกเปลี่ยนโต้ตอบกันได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักจะเป็นข้อจำกัดของการใช้สื่อประเภททีวี และสิ่งพิมพ์ ซึ่งผู้ชมผู้อ่านนั้นจะรับสื่อแบบทางเดียวไม่สามารถโต้ตอบกันได้ และไม่เกิดความรู้สึกของความมีส่วนร่วมมากเท่ากับสื่อสารจากการจัดกิจกรรม 
ที่มา https://www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=39:internet-brand-marketing-&catid=25:the-project&Itemid=72

อัพเดทล่าสุด