ในปัจจุบันการสร้างธุรกิจ SMEs ที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นให้เข็มแข้งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดาย แม้ว่าจะมีต้นแบบกิจการที่ประสบความสำเร็จ ความรู้และความสามารถทางการบริหารจัดการ และหน่วยงานสนับสนุนเป็นจำนวนมาก แต่การจะเติบโตต่อไปในธุรกิจ SMEs ยังคงต้องอาศัยจุดเด่นของสินค้าบริการ นวัตกรรม และการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงที่ดีและรวดเร็วของตนเอง เพื่อฉีกหนีข้อจำกัดของธุรกิจขนาดเล็กในเรื่องขนาดและเงินทุนออกไปให้ได้ และที่สำคัญที่สุดที่จะขาดไปไม่ได้ก็คือความพยายามที่จะเรียนรู้และแสวงหาแหล่งข้อมูลและเทคโนโลยีที่จะมีส่วนเข้ามาแก้ไขทดแทนข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้
ด้วยเหตุนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กิจการ SMEs จึงได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐในหลากหลายรูปแบบ โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้กิจการ SMEs โดยส่วนใหญ่ทั้งที่ดำเนินอยู่และที่กำลังเกิดขึ้นใหม่สามารถยืนหยัดและเติบโตในระบบธุรกิจได้ในที่สุด
SMEs จึงต้องมีการพัฒนาและสร้างสรรค์สินค้าให้มีความแตกต่างและโดดเด่น หากผู้ประกอบการสามารถทำการวิเคราะห์ทางการตลาดได้ ก็จะทำให้ง่ายต่อการกำหนดรูปแบบและประเภทของธุรกิจให้ชัดเจน ภายใต้งบประมาณที่จำกัด เพื่อให้เกิดการยอมรับจากผู้บริโภค ตลอดจนพัฒนาจุดเด่นของช่องทางการตลาดโดยสร้างข้อเสนอขายที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว (Unique Selling Proposition : USP) ของสินค้าให้ได้ ต้องมีความแตกต่างและยากที่คู่แข่งขันจะเลียนแบบ
เมื่อกำหนดตำแหน่งของสินค้า หรือ บริการ (Product / Service positioning) ได้แล้ว ในการวางแผนการสื่อสารการตลาด ผู้ประกอบการ SMEs ควรเริ่มต้นด้วย การนำข้อมูลขั้นตอนการซื้อมาวิเคราะห์ และวางแผนว่าจะพบกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย (Target customers) ได้ที่ไหน อย่างไร และใช้เครื่องมือการสื่อสารใดบ้าง เพื่อให้สิ่งที่ต้องการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเกิดประสิทธิภาพในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนการวางแผนการสื่อสารการตลาดได้ ดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมาย (Purpose) หรือ ภารกิจ (Mission)
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Target Group)
3. ทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย (Products orientation)
4. วิเคราะห์การตลาด ทั้งสินค้าและคู่แข่ง โดยศึกษาจุดแข็ง Strength จุดอ่อน Weakness โอกาส Opportunity และ อุปสรรค Treat หรือที่นิยมเรียกว่า (SWOT Analysis)
5. กำหนดตำแหน่งของตราสินค้า (Brand Positioning)
6. กำหนดเอกลักษณ์สนับสนุนจุดขาย (Unique Selling Point)
7. เลือกเครื่องมือสื่อสารตราสินกับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย (Brand Contact Point)
8. เลือกแนวทางการนำเสนอ ( Presentation Methods )
การที่จะทำให้ตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ SMEs โดนใจผู้บริโภคกลุ่มใดต้องมีเครื่องมือสนับสนุนการทำการสื่อสารเช่นเดียวกับการทำตลาดของธุรกิจในรูปแบบอื่น กล่าวคือมีการดำเนินการโฆษณา ( Advertising ) การส่งเสริมการขาย ( Sales promotion ) การขายโดยพนักงานขาย ( Personal Selling ) การประชาสัมพันธ์ ( Public Relations ) การตลาดโดยตรง ( Direct Marketing ) การตลาดเชิงกิจกรรม ( Even Marketing ) สื่อเคลื่อนที่ ( Transit Medias ) คำขวัญ ( Slogan) บรรจุภัณฑ์ (Packaging) การสาธิตการใช้สินค้า (Demonstration) และ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ( Signage) เป็นต้น
High Energy Brand หรือ ตราสินค้าประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในระยะเวลาอันสั้นนั้นเป็นสิ่งที่สามารถสร้างได้ ตราสินค้าเหล่านี้จะใช้การลงทุนด้านการสื่อสารการตลาดที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับยอดขายและผลกำไร ตัวอย่าง High Energy Brand ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกอย่างเช่น Google เว็บไซต์ที่จะช่วยให้การค้นหาข้อมูลง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส และ eBay เว็บไซต์ที่มีข้อมูลสำหรับการซื้อ – ขาย และชำระค่าสินค้าออนไลน์ สะดวก รวดเร็ว และ หลากหลาย การที่ตราสินค้า เหล่านี้ประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้นได้ก็เนื่องมาจากคุณสมบัติพิเศษหลายประการที่มีอยู่ในตัวสินค้าหรือบริการต่างๆ นั่นเอง
หากเจ้าของผลิตภัณฑ์ SMEs ต้องการสร้างตราสินค้า ให้ประสบความสำเร็จ ต้องสร้างตราสินค้าให้มีความแตกต่าง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารการตลาดและสร้างความเชื่อถือต่อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการยอมรับได้เร็วขึ้น ที่สำคัญเมื่อตราสินค้าของคุณเกิดแล้ว อย่าลืมวิธีการรักษาเพื่อให้ตราสินค้าคงอยู่อย่างยาวนานและครองใจลูกค้าตลอดไปด้วย
ที่มา https://www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=201:marketing-management-for-smes&catid=25:the-project&Itemid=72