ธุรกิจ การตลาด กลยุทธ์ น่านน้ำสีคราม Blue Ocean Strategy : Four Actions Framework


1,039 ผู้ชม


   เครื่องมือในการวิเคราะห์ที่สำคัญประการหนึ่งของกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy) คือ สิ่งที่เรียกว่า “Four Actions Framework”   ซึ่งเป็น 4 องค์ประกอบที่ทุกองค์กรควรจะทบทวนตนเอง เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์กลยุทธ์ในการดำเนินงานทางธุรกิจของตนได้

          Kim & Mauborgne แนะนำให้แยกองค์ประกอบต่างๆ ที่ธุรกิจแข่งขันอยู่ เช่น แข่งขันกันด้านราคา บริการ บรรจุภัณฑ์ ฉลาก บริการเสริม ชื่อเสียง การจัดส่ง ความประหยัด ค่าบำรุงรักษา ความสวยงาม ฯลฯ เป็นต้น   จากนั้นให้นำคู่แข่งแต่ละรายมาจัดวางลงในแต่ละแกนองค์ประกอบนั้นตามระดับที่เสนอ คล้ายการทำ Perceptual Map* จากนั้นให้ลองประเมินทางเลือกของธุรกิจตนเองตามกรอบการดำเนินการ 4 ประการได้แก่  (ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม, 2549 : ออนไลน์)

          1. Eliminate (กำจัดหรือตัดทิ้ง ตัดออก) 
          องค์ประกอบใดที่เราน่าจะตัดหรือขจัดออกไปได้ เช่น ปัจจัยที่เคยคิดว่าสำคัญ หรือจำเป็น และในปัจจุบันไม่สำคัญและจำเป็นอีกต่อไปอีกทั้งควรที่จะตัดออกไป  ของบางอย่างที่เคยคิดว่า ลูกค้าต้องการแต่จริงๆ แล้วในปัจจุบันลูกค้า อาจจะไม่มีความต้องการเลยก็ได้   กรณีตัวอย่างของ Dell Computer  ที่อยู่ในสายการผลิตและจำหน่ายคอมพิวเตอร์นั้น สิ่งที่ Dell ตัดออกไปคือ Showroom หรือสถานที่สำหรับแสดงสินค้าที่   เนื่องจาก Dell มองว่าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ลูกค้าสามารถเลือกที่จะสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางอื่นๆ ได้   การตัดปัจจัยในส่วนนี้ไปทำให้ Dell ประหยัดงบประมาณไปได้มาก ทั้งในเรื่องของสถานที่หรือการผลิตสินค้าเพื่อรอคนมาซื้อ

          2. Reduce (ลด) 
          องค์ประกอบใดที่เราน่าจะลดลงได้ จนถึงลดให้ต่ำว่ามาตรฐานของอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะเคยคิดว่าคุณค่านั้น ๆ ลูกค้ามีความต้องการมาก แต่จริง ๆ แล้วอาจจะไม่มากอย่างที่ตนเองคิดก็ได้  กรณีตัวอย่างของ Apple Computer, Inc. ที่ส่งเครื่อง IPad  เข้าสู่ตลาดคอมพิวเตอร์แบบพกพาสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใช้งานที่มีการพิมพ์ข้อความมากโดยมุ่งเป้าหมายเพื่อใช้สำหรับสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต แลดูหนัง ฟังเพลงเป็นสำคัญ  และที่สำคัญสามารถพกพาได้สะดวกด้วยการนำส่วนของแป้นพิมพ์ออกไปจึงส่งผลให้ IPad เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

          3. Raise (ยกระดับ เพิ่มมากขึ้น)  
          ปัจจัยที่ควรที่จะยกให้สูงกว่ามาตรฐานของอุตสาหกรรม โดยการการเพิ่ม (Raised)   ปัจจัยบางอย่างให้สูงกว่าระดับอุตสาหกรรมองค์ประกอบใดในด้านบวกที่เราเพิ่มให้ลูกค้าได้ เช่น เพิ่มความประหยัดเวลา   กรณีตัวอย่างของ Apple Computer, Inc. ที่ส่งเครื่อง IPad  และ IPhone เข้าสู่ตลาดคอมพิวเตอร์และตลาดมือถือสร้างความแตกต่างให้กับทั้งผู้ใช้คอมพิวเตอร์และมือถือที่สร้างความแปลกใหม่ให้กับคอมพิวเตอร์โดยการสร้างคอมพิวเตอร์ที่สามารถพกพาไปได้ทุกแห่งด้วยน้ำหนักที่เบาและไม่ต้องใช้แป้นพิมพ์  โดยนำระบบ Touch Screen มาประยุกต์ใช้

          4. Create (สร้างใหม่)
          องค์ประกอบใดที่เราสร้างขึ้นมาใหม่ได้บ้าง  หรือปัจจัยใหม่ที่องค์กรควรจะพัฒนาขึ้นมา อีกทั้งยังไม่มีการนำเสนอในอุตสาหกรรมใดๆ มาก่อน โดยการสร้าง (Created) คุณค่าบางประการที่ไม่เคยมีการนำเสนอในอุตสาหกรรมนั้นๆ  กรณีตัวอย่างของ Apple Computer, Inc. ที่ส่งเครื่อง IPad  และ IPod เข้าสู่ตลาดคอมพิวเตอร์และตลาดมือถือสร้างความแตกต่างให้กับทั้งผู้ใช้คอมพิวเตอร์และมือถือที่สร้างความแปลกใหม่ให้กับคอมพิวเตอร์โดยการสร้างคอมพิวเตอร์ที่ แป้นพิมพ์ ใช้ระบบ Touch Screen เป็นส่วนเสริมและสามารถใช้ทั้ง IPad ป็นเครื่องใช้ในสำนักงานและสร้างความบันเทิงไปพร้อมๆ กัน   อีกทั้งในส่วนของ Iphone ยังมาในรูปแบบของโทรศัพท์ติดตามตัวไปพร้อมกับอุปกรณ์สร้างความบันเทิงทั้งเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต ไปพร้อมๆ กันด้วย

          ภายใต้แนวคิด Blue Ocean นั้น องค์กรธุรกิจที่ใช้ Blue Ocean Strategy สามารถที่จะเป็นผู้ที่นำเสนอความแตกต่าง และมุ่งเน้นการลดต้นทุนไปพร้อม ๆ กันได้ โดยการลดต้นทุนนั้นจะเกิดขึ้นจากการลดหรือกำจัดปัจจัยบางประการที่เคยมีอยู่ให้หมดไป ( Reduce หรือ Eliminate ตามที่ได้เสนอในสัปดาห์ที่แล้ว ) ส่วนการนำเสนอคุณค่าและความแตกต่างแก่ลูกค้านั้นสามารถทำได้โดยการเพิ่มหรือสร้างสรรค์ปัจจัยบางประการที่คนอื่นไม่มี หรือมีน้อยให้กับลูกค้า ( Create หรือ Raise ตามแนวทางที่เสนอไว้ )  (จอมขวัญ อุทัยรักษ์, 2549 : ออนไลน์)

………………………………

Perceptual Map (ผังแสดงการรับรู้)  คือ  รูปภาพที่แสดงความแตกต่างในภาพรวมของสิ่งที่สนใจ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นแผนภูมิ 2 มิติ   มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการตลาดที่มีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน เนื่องจากผังแสดงการรับรู้ทำให้ทราบว่า สินค้าและบริการต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด มีความเหมือนหรือแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดในการรับรู้ของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย โดยพิจารณาจากระยะห่างของตำแหน่งของสินค้าหรือบริการที่อยู่บนผัง ทำให้นักการตลาดสามารถใช้ผังแสดงการรับรู้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ทางการตลาด (วิวัฒน์ หวังเจริญ, 2548 : )
       1. บอกให้เราทราบว่าในสายตาของผู้บริโภคได้จัดอันดับสินค้าของเรากับของคู่แข่งขันไว้ในระดับหรือในตำแหน่งใด โดยเปรียบเทียบกัน 
       2. ช่วยชี้ตำแหน่งที่ยังว่างอยู่  ที่จะเป็นช่องว่างที่เหมาะจะวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทได
       3. ใช้ปัจจัยที่เป็นตัวเปรียบเทียบเพียง  2 ปัจจัยเท่านั้น

 ที่มา https://www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=363:blue-ocean-strategy-four-actions-framework&catid=25:the-project&Itemid=72

อัพเดทล่าสุด