การผลิต การติดตั้ง ข้อดี ข้อเสีย ถังก๊าซ เอ็นจีวี (NGV)


839 ผู้ชม


ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับคนไทยทุกคน

          เอ็นจีวี (NGV ย่อมาจาก Natural gas vehicle) เป็นยานพาหนะที่ใช้พลังงานก๊าซธรรมชาติแบบบีบอัด (compressed natural gas - CNG) สำหรับใช้เป็นพลังงานสะอาดทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปกติ มีใช้กับพาหนะได้ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถตู้ รถประจำทาง เป็นต้น ด้วยราคาที่ถูกกว่าน้ำมันหลายเท่า และ ช่วงที่น้ำมันกำลังขึ้นราคามาก มีผู้นิยมใช้เพิ่มขึ้นอย่างสูง
การผลิต

          ใช้ก๊าซธรรมชาติ (ส่วนใหญ่เป็นมีเทน) มาอัดจนมี ความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว (เป็นแรงดันที่ค่อนข้างสูงมากเท่ากับ 200 เท่าของ ความดันบรรยากาศ) แล้วนำไปเก็บไว้ในถัง ที่มีความแข็งแรง ทนทานสูงเป็นพิเศษ

สถานีบริการ เอ็นจีวี

          แต่ก่อนเคยเป็นปัญหาว่ามีน้อย แต่ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นมาก ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ปัจจุบันยังมีผู้ให้บริการหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น ปตท. บางจาก ทีพีไอ และ คาลเท็กซ์

ข้อดี

  • ราคาถูก (8.50 บาท)
  • สามารถขุดได้ในบริเวณอ่าวไทย
  • ลดมลพิษในบรรยากาศ เนื่องจากเชื้อเพลิงเผาไหม้สมบูรณ์

ข้อเสีย

  • ถังก๊าซทำให้รถหนักขึ้นและที่วางของน้อยลง
  • ต้องเติมบ่อย
  • ค่าติดตั้งราคาสูง
  • แรงดันในถังสูงมาก หากระเบิดจะรุนแรงและสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบสภาพถัง และอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของ NGV อยู่เสมอ
  • กำลังของเครื่องยนต์จะตกลงประมาณ 10 - 15%

ระบบที่ติดตั้ง

           เครื่องยนต์เบนซินแบ่งการทำงานเป็น 2 ระบบ คือระบบหัวฉีด และระบบดูดก๊าซ ระบบดูดก๊าซเหมาะกับรถยนต์รุ่นเก่าที่เป็นเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ ระบบนี้บำรุงรักษาง่าย คุ้มทุนเร็ว ราคาค่าติดตั้ง 30,000-50,000 บาท ส่วนระบบฉีดก๊าซเหมาะกับรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นระบบไฮเทค ให้อัตราการเร่งเครื่องยนต์ใกล้เคียงกับการใช้น้ำมันเบนซินมากกว่าระบบดูดก๊าซ อัตราการประหยัดการวิ่งเชื้อเพลิงต่อวันคุ้มกว่าระบบดูดก๊าซ ราคาค่าติดตั้ง 52,000-65,000 บาท สำหรับการติดตั้ง เอ็นจีวี ในเครื่องยนต์เบนซินสามารถเลือกใช้ เอ็นจีวี หรือเบนซินก็ได้ เพียงกดปุ่ม ในเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ เช่น เครื่องยนต์รถสิบล้อ หรือ เครื่องยนต์ในเรือ หากต้องการจะติดตั้งระบบก๊าซ NGV สามารถทำได้เช่นกัน โดยสามารถทำได้ 2 แบบ 1 ใช้วิธีผสมระหว่าง NGV กับ ดีเซล อัตราส่วนผสม ขึ้นอยู่กับความสามารของเครื่องแต่ละตัว

ราคาค่าติดตั้งประมาณ 100000 บาท อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับจำนวนถังก๊าซที่ใส่เข้าไป

2 ใช้วิธีแปลงเครื่องมาใช้ NGV 100% แต่ไม่สามารถกลับไปใช้น้ำมันดีเซลได้

ราคาค่าดัดแปลงพร้อมระบบก๊าซอยู่ที่ประมาณ 400,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับจำนวนถังก๊าซที่ใส่เข้าไป

          ตอนนี้ได้มีการทำการทดลองนำ LNG (liquid natural gas) มาติดตั้งในเรือหาปลาทะเล ระบบการทำงานจะคล้ายของเดิมแต่วัสดุของถังจะต่างกัน

ถังก๊าซ

ปัจจุบันมีการผลิตถังก๊าซอยู่ 4 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อะลูมิเนียม

ประเภทที่ 2 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อะลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือ เส้นใยคาร์บอน

ประเภทที่ 3 ถังที่ทำด้วยแผ่นอะลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง

ประเภทที่ 4 ถังที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว (Fiberglass)

          ส่วนการระเบิดนั้นจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากเมื่อก๊าซรั่วจะพุ่งออกมาแล้วฟุ้งกระจายขึ้นไปในอากาศอย่างรวดเร็วทำให้ไม่ลุกไหม้ ระเบิด และเรื่องของการทนความดัน ถังทุกใบทนความดันได้ถึง 2.5 เท่าของความดันปกติ ต่อให้มีไฟมาเผาถังก๊าซก็จะไม่มีอันตราย เพราะวาล์วหัวถังก็ระบายก๊าซออกมาจากถัง โดยอัตโนมัติ
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=75

อัพเดทล่าสุด