สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เศรษฐกิจ การคลัง สศค.ชี้ 6 มาตรการลดค่าครองชีพเป็นมาตรการระยะสั้น


723 ผู้ชม


ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับคนไทยทุกคน

สศค.ชี้ 6 มาตรการลดค่าครองชีพเป็นมาตรการระยะสั้น

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เศรษฐกิจ การคลัง สศค.ชี้ 6 มาตรการลดค่าครองชีพเป็นมาตรการระยะสั้นสศค. 15 ก.ค. - ผอ.สศค.ระบุมาตรการ "6 เดือน 6 มาตรการเพื่อไทย" ช่วยเหลือประชาชนจากปัญหาเงินเฟ้อ เป็นมาตรการระยะสั้นถือเป็นการเติมค่าเงินให้มากขึ้น ส่วนเศรษฐกิจไทยปีนี้ยังต้องจับตาราคาน้ำมัน-การเมือง

นางพรรณี  สถาวโรดม  ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  (สศค.)  กล่าวถึงการออก “6 เดือน 6 มาตรการเพื่อไทย” ที่รัฐบาลจะประกาศในวันนี้ (15 ก.ค.) ว่า  เป็นมาตรการระยะสั้นที่ใช้ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นระยะเวลา  6 เดือน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น โดยรัฐบาลจะช่วยลดค่าสาธารณูปโภคให้กับผู้มีรายได้น้อย  เพื่อมีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ เนื่องจากการใช้นโยบายคูปองคนจน ซึ่งรัฐบาลมีแนวคิดที่จะใช้ช่วยเหลือประชาชนยังไม่มีความชัดเจนและกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาของ สศค. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อจัดทำทะเบียนคนจนให้มีความชัดเจน เพื่อเกิดความโปร่งใสและเป็นระบบ โดยจะแจกคูปองคนจน 1 ใบ ต่อครอบครัวที่มีรายได้ไม่เกิน 6,200 บาทต่อเดือน แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้ทันที  รัฐบาลจึงใช้มาตรการ 6 เดือน 6 มาตรการ เพื่อไทยทดแทนการใช้คูปองคนจนไปก่อน

“เป็นเพียงมาตรการชั่วคราว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุนน้ำมันแพง  จึงถือเป็นการเติมค่าของเงินให้มากขึ้น  หลังจากเงินถูกลดค่า  เพราะภาวะเงินเฟ้อพุ่งขึ้น” นางพรรณี  กล่าว

สำหรับการคาดการณ์ว่า โครงการดังกล่าวเงิน จะส่งผลต่อรายได้ของภาครัฐประมาณ 40,000  ล้านบาทนั้น  นางพรรณี  กล่าวว่า โครงการดังกล่าว คงมีผลคิดเป็นเงินไม่มาก หากเทียบกับความช่วยเหลือประชาชน โดยรัฐบาลจะนำรายได้จากงบกลางปี 2551 มาทดแทนรายได้ที่สูญเสียไป ซึ่งไม่จำเป็นต้องกู้เงินเพิ่ม

นางพรรณี กล่าวว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ ยังต้องจับตามองปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ สถานการณ์ราคาน้ำมัน  หากน้ำมันเฉลี่ยทั้งปี 116  ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล  เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 6  ตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้  แต่ต้องจับตามองปัญหาทางการเมืองว่าจะมีเสถียรภาพเมื่อใด  เพราะมีผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชนและการลงทุนของภาคเอกชน  อย่างไรก็ตาม  ยอมรับว่าจากปัญหาการเมืองทำให้โครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) ไม่มีความชัดเจน ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เมกะโปรเจกต์เป็นแรงกระตุ้นทำให้ภาคเอกชนลงทุน เพราะภาคเอกชนมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 80 ขณะที่ภาครัฐมีเพียงร้อยละ 20.- 
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=102

อัพเดทล่าสุด