เศรษฐกิจ ไฟฟ้า ทำไมไทยต้องซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้าน?


1,014 ผู้ชม


หากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดริมแม่น้ำโขงทั้งลาว เวียดนาม และไทย ประเทศไทยมีความสะดวกสบายด้านพลังงานไฟฟ้านำหน้าสุด ส่งผลให้เราเป็นประเทศอุตสาหกรรมในระดับนำหน้าของประเทศดังกล่าว เพราะส่วนหนึ่งมาจากพลังงานไฟฟ้าที่เอื้อต่อระบบอุตสาหกรรม มีการคาดการณ์ว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประเทศจะเพิ่มเป็น 1,000 เมกะวัตต์ในทุกปี นั่นเท่ากับต้องสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เท่ากับเขื่อนภูมิพล ปีละ 1 เขื่อน 
หากแต่แนวคิดใน การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศ ณ เวลานี้เป็นไปได้ยากขึ้น เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำเป็นเขื่อนสุดท้ายในประเทศ ดังนั้นการมุ่งไปหาพลังงานไฟฟ้าจากพลัง งานน้ำจาก ประเทศเพื่อนบ้าน จากลาว พม่า จึงเป็นเป้าหมายสำคัญ และเชื่อว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ลงทุนต่ำหากเทียบกับแนวทางอื่น ขณะเดียวกันพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ หรือถ่านหินก็คงเกิดขึ้นยากพอ ๆ กันสำหรับประเทศไทย 
จากการที่เข้าไปอยู่ในธุรกิจไฟฟ้า โดยการเป็นลูกจ้างของบริษัท เอ็มดีเอ็กซ์ เพาเวอร์ จำกัด (MDX) ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น บริษัทจีเอ็มเอส เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทได้เข้าไปทำธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำในประเทศเพื่อนบ้านจนถึงปัจจุบัน สุพจี นิลอุบล และคณะ ได้นำข้อมูลจากประสบการณ์ตรงและการหาข้อมูลเพิ่มเติมมาทำวิจัยในหัวข้อ “จำเป็นเพียงใด...ที่ไทยต้องซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้าน” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 
สุพจี เปิดเผยว่า งานวิจัยเริ่มต้นจากคำถามที่ว่าทำไมต้องพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำในประเทศเพื่อนบ้าน แล้วซื้อไฟกลับมาใช้ในประเทศไทย เกิดอะไรขึ้นกับเขื่อนในประเทศไทย ประเทศไทยมีลุ่มน้ำหลักอยู่ประมาณ 36 ลุ่มน้ำ และได้พัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำต่าง ๆ ที่มีศักยภาพที่สามารถสร้างเขื่อนได้ แต่ประเทศใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนเพียงร้อยละ 5 ของกำลังการผลิตทั้งหมด ส่วนหนึ่งคือต้องปล่อยน้ำให้กับภาคเกษตร ประกอบกับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ปริมาณน้ำจากต้นน้ำลดลง ปัจจุบันกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศอยู่ที่ 27,000 เมกะวัตต์ ตัวเลขที่นำมาใช้จริงคือ 22,000 เมกะวัตต์ที่เหลือเป็นพลังงานสำรอง 
ไฟฟ้าพลังงานน้ำที่กำลังรุ่งโรจน์ในเอเชียยกให้กับลาว เพราะศักยภาพของ ลำน้ำโขง ประเทศที่เข้าไปลงทุนทั้งไทย จีน เวียดนาม มุ่งหน้าสร้างเขื่อนในลำน้ำโขง ขณะเดียวกันรัฐบาลลาวสนับสนุนโครงการนี้ ด้วยการวางตัวเองให้เป็น แบตเตอรี่แห่งเอเซีย และหวังว่าจะนำรายได้จากการขายไฟฟ้าพลังน้ำจะนำพาประชากรให้ก้าวพ้นเส้นความยากจนให้ได้ภายในปี 2020 ซึ่งขณะนี้ไทยซื้อไฟจากเขื่อนอยู่ 4 แห่งด้วยกันคือ “น้ำงึม1, เทิน-หินบุน, ห้วยเฮาะ และเซเซต 
ปัจจุบันเม็ดเงินที่ไทยซื้อไฟจากลาวคิดเป็นมูลค่า 40,000 ล้านบาทต่อปี จากโครงการ 4 เขื่อน ข้างต้น ในกำลังการผลิต 62 เมกะวัตต์ และตามข้อตกลงเอ็มโอยูที่ทำไว้แก่กันระหว่าง 2 ประเทศ สามารถซื้อขายไฟได้ 5,000 เมกะวัตต์ ซึ่งมีคำถามตามมาเมื่อถึงเวลานั้นไทยจะขาดดุลเงินตราต่างประเทศจากลาวเพียงใด 
จากลาวมองไปที่ประเทศพม่าซึ่งจากรายงานของธนาคารโลก พม่ามีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำอยู่ถึงประมาณ 108,000 เมกะวัตต์ จากรายงานของธนาคารโลก ขณะที่กระทรวงไฟฟ้าของพม่าจะพัฒนาไฟฟ้าได้ถึง 23,300 เมกะวัตต์ ในบริเวณลุ่มน้ำสาละวิน โดยเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2549 บริษัท กฟผ. ได้ลงนามกับบริษัทจากจีน ร่วมพัฒนาเขื่อนฮัดจี โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้ กฟผ.จะเป็นผู้รับซื้อทั้งหมดจากสัญญาการซื้อขายไฟ คาดว่าเขื่อนฮัดจีจะสามารถขายไฟให้กับประเทศไทยได้ในปี 2557 
จากข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยทำให้ผู้วิจัยมี คำถามตามมาว่า การซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้านในจำนวนมาก จะสร้างความมั่นคงให้กับพลังงานในประเทศ ได้หรือไม่ จะเชื่อได้อย่างไรว่ากระแสไฟฟ้าที่ส่งมาจากประเทศเพื่อนบ้านจะถูกตัดหรือไม่ หากเกิดความขัดแย้งระหว่างกันเพราะการลงทุนทั้งหมดอยู่บนสัญญาเพียงฉบับเดียวคือ Power Purchase Agreement (PPA) ซึ่งแต่เดิมสัญญาของโครงการน้ำงึม 1 มีเพียง 3 หน้า ซึ่งเริ่มต้นราวปี พ.ศ. 2514 เทิน-หินบุญ มีประมาณ 300 หน้า และโครงการน้ำเทิน 2 สัญญามีถึงพันหน้าใช้เวลาเจรจาถึง 2 ปีครึ่ง 
การที่ประเทศลาวมีแผนส่งเสริมการสร้างเขื่อน 70 โครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย”นั้นจะส่งผลต่อลุ่มน้ำและระบบ นิเวศดั้งเดิมมากน้อยเพียงใด มีหน่วยงานใดเข้าไปร่วมศึกษาและระแวดระวังหรือไม่ เพราะยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนว่ามีประเทศที่สามารถสร้างเขื่อนได้ในจำนวนดังกล่าว หากเป็นเช่นนั้นจริงคงไม่ต้องถามถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสภาพแวดล้อมในภูมิภาค แต่สภาพเศรษฐกิจของอาเซียนคงจะต้องมีความโน้มเอียงและให้ความสำคัญมายังประเทศลาวอย่างไม่ต้องสงสัย 
การศึกษาและเยียวยาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่มีแต่องค์กรเอกชนระหว่างประเทศหรือ NGO เข้าไปจับตาดู ในขณะที่รัฐบาลผู้ลงทุนอาจจะละเลยต่อการแก้ไขปัญหา เพราะการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบต่างต้องใช้เงิน ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ก่อให้เกิดรายได้ ในขณะที่ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ มีสิทธิมีเสียงที่จะเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตนเองได้มากเพียงใด เช่น กรณีเขื่อนน้ำเทิน 2 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของประชากรลาวเทิง หรืออีกนัยหนึ่งคือชาวเขา ซึ่งมีสิทธิในการปกครองเพียงใด 
จากงานวิจัยนี้มีข้อสรุปและเสนอแนะจากคนทำวิจัยว่า การแสวงหาความมั่นคงทางพลัง งานไฟฟ้าของไทยมุ่งไปที่หาพลังงานไฟฟ้าใหม่ ๆ แต่ละเลยการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างประหยัดอย่างจริงจัง.
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=874

อัพเดทล่าสุด