https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ธุรกิจ กิจการ บริหารธุรกิจ 'ปลาดุกเส้น' แปรรูปเด่น-ราคาดี !! MUSLIMTHAIPOST

 

ธุรกิจ กิจการ บริหารธุรกิจ 'ปลาดุกเส้น' แปรรูปเด่น-ราคาดี !!


725 ผู้ชม


ปลาแปรรูปก็ถือว่าเป็นอาหารนิยมของคนไทยรูปแบบหนึ่ง ลักษณะและรสชาติก็แตกต่างกันไปตามรสนิยมแต่ละท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะเป็นเก็บรักษาอาหารให้อยู่ได้นานแล้ว ยังทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เป็น “ช่องทางทำกิน” ที่ดีได้ด้วย อย่างการแปรรูป ทำ “ปลาดุกเส้น” ของกลุ่มแม่บ้านชุมชนบ้านคอนสาย... 
สุดใจ กองหิน ประธานกลุ่มแม่บ้าน บ้านคอนสาย ต.สามัคคี อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร เล่าว่า เดิมทีชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพเลี้ยงปลาดุกขาย ในหมู่บ้านมีการเลี้ยงปลาดุกเพื่อส่งขายให้แก่ตลาดในพื้นที่และนอกพื้นที่ใกล้เคียงกันอยู่เป็นจำนวนหลายสิบบ่อ แต่มีปัญหาคือบางครั้งปลาดุกมีปริมาณมากเกินความต้องการตลาด ทำให้ขายไม่หมด ซึ่งถ้าหากเลี้ยงดูในบ่อต่อไปก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อีกทั้งปลาดุกอาจจะตัวใหญ่เกินไป ทำให้ขายได้ยากขึ้น จึงคิดว่าน่าจะนำปลาดุกมาแปรรูป โดยมาสรุปที่การทำเป็น “ปลาดุกเส้น” 
“การแปรรูปปลาดุกเส้นนี้ เป็นการแก้ปัญหาของชุมชนในช่วงมีผลผลิตมากเกินความต้องการ ซึ่งถ้าเลี้ยงต่อไปจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และเลี้ยงต่อไปจะขายไม่ค่อยได้ราคานัก เนื่องจากปลาดุกจะมีขนาดใหญ่เกินขนาดที่ตลาดต้องการ ก็เลยนำเรื่องการแปรรูปเข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้” 

ประธานกลุ่มฯเล่าว่า เริ่มทำการแปรรูปปลาดุกที่เลี้ยงขายกันมาเมื่อต้นปี 2552 โดยปลาดุกเส้นเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อกึ่งแห้ง ลักษณะภายนอกจะคล้ายกับหมูแดดเดียวหรือเนื้อแดดเดียว แต่มีความเหนียวน้อยกว่า สามารถใช้รับประทานเล่น ๆ เป็นกับแกล้ม หรือรับประทานกับข้าวได้ดี โดยตลาดส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้าในชุมชน ตลาดในพื้นที่ รวมไปถึงการขายส่งให้พ่อค้ารับไปจำหน่ายต่อในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งกำลังการผลิตจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้องการเพิ่มของตลาด แต่หลัก ๆ จะผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่คนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง โดยคงกำลังการผลิตไว้อยู่ที่ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อวัน 
ทุนเบื้องต้นในการทำการแปรรูป เป็นทุนของทางกลุ่มเอง โดยใช้เงินลงทุนไปประมาณ 27,600 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าอุปกรณ์และบรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ที่จำเป็นก็จะมีหม้อสแตนเลส เบอร์ 38, กะละมังสแตนเลส และเตาอบ ส่วนทุนวัตถุดิบอยู่ที่ 60% ของราคาขาย โดยราคาขายอยู่ที่แพ็คละ 50 บาท แต่ถ้าหากขายเป็นกิโลกรัม จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 300 บาท ถือเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากราคาจำหน่ายปลาดุกเป็น ๆ ซึ่งราคาปลาดุกเป็นจะขายกันอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาทเท่านั้น 
ส่วนผสมในการทำปลาดุกเส้น ต่อ 12 กิโลกรัม ประกอบด้วย เนื้อปลาดุกล้วน 12 กิโลกรัม, เกลือ 5 ช้อนแกง, น้ำตาล 5 ช้อนแกง, ซีอิ้วขาว 20 ช้อนแกง, รากผักชีปั่นละเอียด 3 ช้อนแกง, พริกไทย 3 ช้อนแกง, น้ำขมิ้น 1 ถ้วยตวง, กระเทียมสดปอกเปลือกปั่นละเอียด 4 ขีด และงาขาวตามต้องการ 
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากนำปลาดุกขนาดที่เตรียมไว้ คือขนาด 7-8 ตัวต่อกิโลกรัม มาทำการตัดหัวควักไส้ ล้างให้สะอาด จากนั้นทำการแล่เนื้อปลาออกจากกระดูกหรือก้าง การหั่นเนื้อปลาดุกมีเคล็ดลับคือ ให้หั่นเป็นเส้นเฉียง ๆ ข้างลำตัว ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เพราะจะทำให้เนื้อปลาไม่แยกออกจากกัน เวลาเนื้อปลาแห้ง ซึ่งปลาดุกสด 20 กิโลกรัม เมื่อแล่แล้วจะเหลือเนื้อปลาดุกล้วน ๆ ประมาณ 12 กิโลกรัม 
เมื่อได้เนื้อปลาแล้วให้ล้างด้วยน้ำซาวข้าว ล้างประมาณ 3 น้ำเพื่อให้กลิ่นคาวปลาหมดไป จากนั้นทำการหมักด้วยเครื่องปรุงรสที่เตรียมไว้ คือ เกลือ, น้ำตาล, ซีอิ้วขาว, รากผักชี, พริกไทย, น้ำขมิ้น, กระเทียมสด และงาขาว ทำการคลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อให้เครื่องปรุงซึมเข้าเนื้อ แล้วนำไปผึ่งแดดทิ้งไว้ประมาณ ? วัน เสร็จแล้วนำมาอบด้วยเตาอบถ่านอีกประมาณ 10-20 นาที จากนั้นก็บรรจุหีบห่อพร้อมขาย เมื่อจะทานก็นำไปทอดในน้ำมันร้อน ๆ 2-3 นาที จะได้ปลาดุกเส้นที่สีสวยและเนื้อปลาไม่แข็งเกินไป 
กลุ่มแม่บ้าน บ้านคอนสาย อยู่ที่หมู่ 5 ต.สามัคคี อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร โทร.08-3736-2404 โดยทีม “ช่องทางทำกิน” ได้ข้อมูล “ปลาดุกเส้น” มาตอนที่ร่วมคณะกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ไปดูงานพัฒนาท้องถิ่น สร้างความสมานฉันท์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพแปรรูปอาหารที่น่าสนใจ
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=1125

อัพเดทล่าสุด