วิทยาศาสตร์ ไฮดรอลิก แรงอัดไฮดรอลิก


729 ผู้ชม


   แรงอัดไฮดรอลิก โดย ไพโรจน์ ธีระวงศ์ 

           เครื่องผ่อนแรงที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อส่งแรงเรียกว่าเครื่องไฮดรอลิก พฤติการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งของของเหลวที่อยู่ในภาชนะที่ต่อถึงกัน คือ ขณะที่อยู่นิ่งๆ พื้นผิวอิสระจะอยู่เสมอระดับเดียวกันหมด เช่น ระดับน้ำในกาน้ำสูงเท่ากับระดับน้ำในพวยกา ทั้งนี้ ไม่ว่าพื้นผิวว่างของน้ำในพวยกาจะเล็กกว่าพื้นที่ของน้ำในกาเท่าไรก็ตาม
           จากพฤติการณ์นี้ แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal, ค.ศ.๑๖๒๓-๑๖๖๒) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ได้สรุปเป็นกฎไว้ว่า"ของเหลวภายในภาชนะซึ่งมีช่องทะลุถึงกันได้ ความดันในของเหลวที่ระดับเดียวกันจะต้องมีค่าเท่ากัน ในขณะเมื่อไม่มีการไหล" ความดันคือแรงต่อหน่วยเนื้อที่
           ถ้ามีกระบอกสูบสองกระบอก มีขนาดใหญ่อันหนึ่งและเล็กอันหนึ่ง มีท่อต่อให้น้ำมันภายในกระบอกทั้งสองไหลถึงกันได้ เมื่อกดลูกสูบเล็กลงน้ำมันจะถูกอัดไปดันให้ลูกสูบใหญ่ลอยขึ้น ถ้าออกแรงกด P บนลูกสูบเล็กซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด a จะเกิดแรงยก W ใต้ลูกสูบใหญ่ซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด A ตามกฎของปาส-กาล ความดันของน้ำมันที่ระดับเดียวกันในกระบอกทั้งสองต้อง
    เท่ากัน นั่นคือ  = W
                   a    
A 

          ดังนั้น ถ้าลูกสูบใหญ่มีพื้นที่หน้าตัดเป็น ๑๐ เท่าของอันเล็ก แรงที่ใช้กดบนลูกสูบเล็กจะเป็นเพียงหนึ่งในสิบของน้ำหนักที่ต้องการยกทางลูกสูบใหญ่เท่านั้น นี่คือหลักเกณฑ์ที่ใช้ในแม่แรงไฮดรอลิกทั้งหลาย ดังเช่นที่เราเห็นในอู่บริการรถยนต์ และตามข้อดันใบมีดของรถดันเกลี่ยดิน เป็นต้น
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=2208

อัพเดทล่าสุด