ชุบ เคลือบ โลหะ กระบวนการ ชุบเคลือบ ผิวโลหะ ด้วยไฟฟ้า MUSLIMTHAIPOST

 

ชุบ เคลือบ โลหะ กระบวนการ ชุบเคลือบ ผิวโลหะ ด้วยไฟฟ้า


1,090 ผู้ชม


กระบวนการชุบเคลือบผิวโลหะด้วยไฟฟ้า โดย นายสัมพันธ์ อรัญนารถ และ นายประยุทธ ชุมพล 

          องค์ประกอบในการชุบเคลือบผิวชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีดังต่อไปนี้
          ๑. สารเคมี  :  นิกเกิล โครเมียม ทั้งชนิดเงาและสีดำ หน้าที่ : ทำปฏิกิริยาทางเคมีโดยใช้กระแสไฟฟ้าที่แปลงจากกระแสสลับเป็นกระแสตรง เพื่อให้สารเคมีดังกล่าวไปเคลือบบนผิวของชิ้นงาน
          ๒. ถังบรรจุน้ำและสารเคมี : ถังบรรจุซัลฟิวริก (Sulfuric) ถังบรรจุคอสติกโซดา ถังบรรจุนิกเกิล ถังบรรจุโครเมียม วัสดุ : ถังส่วนใหญ่จะทำด้วยโลหะเหล็ก และเคลือบภายในด้วยไฟเบอร์กลาสส์ หรือเคลือบด้วยแผ่นพลาสติกชนิดพอทิเอทิ
ลีน เพื่อป้องกันการผุกร่อน
          ๓. แผ่นบาร์ : ทำหน้าที่ย้ายไม้แขวนชิ้นงานจากถังหนึ่งไปสู่อีกถังหนึ่ง เป็นสื่อผ่านกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปสู่ชิ้นงาน วัสดุ : ทำด้วยแผ่นทองแดง
          ๔. ไม้แขวนชิ้นงาน : ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์แขวนชิ้นงาน ซึ่งจะแขวนได้จำนวนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของชิ้นงาน นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นสื่อรับกระแสไฟฟ้าจากแผ่นบาร์ผ่านไปยังชิ้นงาน วัสดุ : ทำด้วยแผ่นทองแดงหุ้มยางซิลิโคน
          ๕. ชุดเคลื่อนย้ายแผ่นบาร์ : ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือเคลื่อนย้ายแผ่นบาร์จากถังหนึ่งไปสู่อีกถังหนึ่ง ซึ่งจะทำงานภายใต้คำสั่งจากชุดควบคุมด้วยโปรแกรมทางอิเล็กทรอนิกส์
          ๖. ชุดควบคุมด้วยโปรแกรมทางอิเล็กทรอนิกส์ : จะทำงานโดยการควบคุมสั่งการทำงานไปยังชุดเคลื่อนย้ายแผ่นบาร์ ซึ่งจะเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ
          ๗. ชิ้นงาน : เป็นชิ้นส่วนที่เสร็จสิ้นจากกระบวนการเชื่อมแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชิ้นส่วนชุดท่อไอเสีย

การผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ด้วยกระบวนการชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า 

          ชิ้นส่วนสำเร็จรูปของรถจักรยานยนต์บางชิ้น เช่น ท่อไอเสีย หลังจากผ่านขั้นตอนการเชื่อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำมาเข้ากระบวนการชุบเคลือบผิวด้วยนิกเกิลและโครเมียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันสนิมกัดกร่อน และเพื่อความสวยงามสะดุดตา ซึ่งในกระบวนการชุบก็จะมีขั้นตอนย่อยภายในอีกหลายขั้นตอน แต่ก็จะมีองค์ประกอบหลักๆ แต่ละขั้นตอนตามที่กล่าวมาแล้ว
ขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า 
          ๑. ล้างขจัดไขมันและสนิม  จุดประสงค์ : เพื่อล้างขจัดไขมันและสนิมให้หลุดออกจากผิวชิ้นงาน เคมีที่ใช้ : น้ำยาเคมีกรดซัลฟิวริกไฟคลีนเนอร์
          
          ๒. ขัดผิว จุดประสงค์ : เพื่อกำจัดสนิมและทำให้ผิวชิ้นงานเกิดความเรียบเงา อุปกรณ์ : มอเตอร์ขับลูกขัด ลูกล้อขัดผิวเบอร์หยาบจนถึงเบอร์ที่ละเอียด
          ๓. แขวนชิ้นงานเข้ากับไม้แขวน เงื่อนไข : จำนวนที่แขวนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของชิ้นงาน ตามที่ส่วนวิศวกรรมการผลิตเป็นผู้กำหนด
          ๔. ล้างขจัดสิ่งสกปรก จุดประสงค์ : เพื่อกำจัดสนิมและยาขัดออกจากชิ้นงาน เคมีที่ใช้ : ท็อปคลีนเนอร์ ซานกรดซัลฟิวริก คอสติกโซดา ท็อปซาน
          ๕. ชุบเคลือบผิวนิกเกิล จุดประสงค์ : เพื่อป้องกันชิ้นงานเป็นสนิม เคมีที่ใช้ : นิกเกิลซัลเฟต นิกเกิลคลอไรด์ กรดบอริก นิกเกิล เอส ราวด์
          ๖. ชุบเคลือบผิวด้วยโครเมียม จุดประสงค์ : เพื่อป้องกันชิ้นงานเกิดสนิม และเพื่อความสวยงาม เคมีที่ใช้ : แอนคอร์ ๑๑๒๐ แอนคอร์ เอฟ กรดซัลฟิวริก อีโคโนโครมบีเค
          ๗. ปลดชิ้นงานออกจากไม้แขวนและตรวจสอบคุณภาพ

ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=2844

อัพเดทล่าสุด