การผลิต กระบวนการผลิต เชื่อม กระบวนการเชื่อม (Welding Process)


819 ผู้ชม


กระบวนการเชื่อม (Welding Process) โดย นายสัมพันธ์ อรัญนารถ และ นายประยุทธ ชุมพล 

          องค์ประกอบในการเชื่อมชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  
             ๑.  จิ๊ก (Jig) 
                 - เป็นอุปกรณ์จับยึดชิ้นงานไม่ให้เคลื่อนที่
                 - เป็นอุปกรณ์กำหนดคุณภาพของชิ้นส่วน
             ๒.  เครื่องเชื่อม
                 - เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเชื่อมประสานโลหะ
                 - มีทั้งแบบทิก (Tig) เชื่อมด้วยอาร์กอน และแบบมิก (Mig) เชื่อมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
             ๓.  ชิ้นงาน
                  - เป็นชิ้นงานที่เสร็จจากกระบวนการปั๊มขึ้นรูปแล้ว
             ๔.  รถใส่ชิ้นงาน
                  - สำหรับใส่ชิ้นงานก่อนและหลังการเชื่อม
             ๕.  พนักงาน
                  - ทำงานประจำจุดของตนเอง
                  - เปลี่ยนจิ๊ก
                  - เคลื่อนย้ายชิ้นงาน
                  - ตรวจสอบคุณภาพ
             ๖. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
                  - กำหนดวิธีการปฏิบัติงาน มาตรฐานการควบคุม และวิธีการตรวจสอบคุณภาพ 
การผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ด้วยกระบวนการเชื่อม (Welding Process) 

          ชิ้นส่วนที่เสร็จสิ้นจากกระบวนการปั๊มขึ้นรูปแล้ว จะถูกจ่ายเข้าไปที่หน่วยงานเชื่อมประกอบเพื่อนำเอาชิ้นส่วนเป็นย่อยๆ เหล่านั้นเข้ามารวมกันเป็นชุดๆ  ด้วยเครื่องมือจิ๊กเชื่อมซึ่งเป็นอุปกรณ์จับยึดชิ้นส่วนย่อยๆ ให้แน่น อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดมิติทางด้านคุณภาพชิ้นส่วนอีกด้วย จากนั้น ชิ้นส่วนเหล่านั้นจะถูกเชื่อมให้ติดกันเป็นรูปร่างตามที่ถูกออกแบบ ก่อนจะถูกถอดออกจากจิ๊กไปเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป
การแบ่งชนิดของกระบวนการเชื่อมชิ้นส่วน 
          ๑) การเชื่อมแบบมิก (Mig: Metal Inert Gas) หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
          ๒) การเชื่อมแบบทิก (Tig: Tungsten Inert Gas) หรือก๊าซเฉื่อยอาร์กอน
          ๓) การเชื่อมแบบสปอต (Spot) หรือแบบความต้านทาน
          ๔) การเชื่อมแบบก๊าซอะเซทิลีน 
 
          ในแต่ละกระบวนการเชื่อมก็จะมีองค์ประกอบหลักๆ  ๖ อย่าง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=2849

อัพเดทล่าสุด