การผลิต กระบวนการผลิต คุณภาพ ตรวจสอบ การตรวจสอบ คุณภาพรถ สำเร็จรูป


891 ผู้ชม


หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพขั้นสุดท้าย (Final Inspection Standard) 

          ๑. ความเรียบร้อยภายนอก
                - ความเรียบร้อยในการประกอบ
                - รอยตำหนิการพ่นสี
                - การรั่วซึม
          ๒. การติดเครื่องยนต์
               - ติดเครื่องได้
               - การวิ่ง
               - การฟังเสียงเครื่องยนต์เพื่อค้นหาสิ่ง
               - ผิดปกติ
          ๓. ระบบไฟฟ้า
               - ไฟหน้า/ไฟเลี้ยว/ไฟเบรก/ไฟสัญญาทั้งหมด
               - แตร
               - เรือนไมล์
          ๔. ระบบเบรก
               - เบรกหน้า/หลัง
          ๕. ระบบบังคับเลี้ยว
               - ความคล่องตัว
          ๖. การควบคุมมลพิษจากไอเสีย
               - คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
               - ไฮโดรคาร์บอน (HC)
          นอกเหนือจากการตรวจสอบคุณภาพในขั้นสุดท้ายแล้ว ผู้ผลิตได้กำหนดให้มีการตรวจสอบและยืนยันมาตรฐานของงานที่มีคุณภาพในทุกขั้นตอน โดยจัดเป็นกิจกรรมเพื่อควบคุมคุณภาพไว้ในการทำงานขั้นตอนต่างๆ  ตัวอย่างเช่น ๕ ส คิว.ซี.ซี. (QCC ; Quality Control Circle) ที.พี.เอ็ม. (TPM; Total Productive Maintenance) ไอ.อี. (IE; Industrial Engineering) เป็นต้น 

การจัดส่งมอบ 

          รถจักรยานยนต์ทุกคันเมื่อผ่านการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานควบคุมคุณภาพแล้ว จะถูกบันทึกควบคุมหมายเลขเครื่องยนต์ และเก็บประวัติไว้ทั้งหมด เพื่อใช้ประโยชน์ในการสอบทวนกลับเมื่อถึงเวลาจำเป็น จากนั้นจะลำเลียงรถไปยังสถานที่จัดเตรียม เพื่อส่งให้กับผู้จำหน่ายต่อไป
ภาคการจำหน่าย 
          สำหรับการจำหน่ายสินค้าสู่ผู้ใช้รถจักรยานยนต์นั้น ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่จะจำหน่ายโดยผ่านผู้แทนจำหน่ายสินค้า ซึ่งเป็นลักษณะร้านค้าที่ตั้งอยู่ตามจุดสำคัญต่างๆ ทั่วประเทศ
การแบ่งเขตจำหน่าย 
          แบ่งออกเป็น ๕ เขต ดังนี้

          ๑. ภาคเหนือ

            - มียอดการจำหน่ายเป็นสัดส่วนประมาณ ๒๐% ของประเทศ
            - จะนิยมรถประเภทครอบครัวมากที่สุด รองลงมาเป็นรถประเภทสปอร์ตครอบครัว และรถสปอร์ตตามลำดับ
          ๒. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
            - มียอดการจำหน่ายเป็นสัดส่วนประมาณ ๒๗% ของประเทศ
            - จะนิยมรถประเภทครอบครัว และสปอร์ตครอบครัว ซึ่งมียอดการจำหน่ายใกล้เคียงกัน

          ๓. ภาคกลาง

            - มียอดการจำหน่ายเป็นสัดส่วนประมาณ ๒๑% ของประเทศ
            - จะนิยมประเภทสปอร์ตครอบครัว และครอบครัว

          ๔. กรุงเทพฯ

            - มียอดการจำหน่ายเป็นสัดส่วนประมาณ ๑๕% ของประเทศ
            - ส่วนใหญ่จะนิยมประเภทสปอร์ต และสปอร์ตครอบครัว ส่วนรถประเภทครอบครัว มียอดการจำหน่ายค่อนข้างน้อย

          ๕. ภาคใต้

            - มียอดการจำหน่ายเป็นสัดส่วนประมาณ ๑๗% ของประเทศ
            - ส่วนใหญ่นิยมรถประเภทครอบครัว
ประโยชน์ของอุตสาหกรรมจักรยานยนต์ต่อประเทศชาติ 
          นอกเหนือจากคนไทยจะได้ใช้รถจักรยานยนต์เพื่อการประกอบอาชีพ และเพื่อการดำรงชีวิตประจำวันแล้วอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ยังได้สร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติอย่างมากมายมหาศาล เช่น
          - สร้างความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการผลิตอย่างต่อเนื่อง
          - ก่อให้เกิดการพัฒนาฝีมือแรงงาน และเกิดการจ้างแรงงานจำนวนมากทั่วประเทศทั้งด้านการผลิตของผู้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งชิ้นส่วนย่อย และชิ้นส่วนหลัก อุตสาหกรรมบริการ เช่น คลังสินค้า การขนส่ง การเช่าซื้อสินค้า การโฆษณา การจำหน่ายในประเทศ และการจำหน่ายเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ
          - เป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีพของประชากรไทย
          จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมหลักอย่างหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ และจะเป็นส่วนที่ช่วยผลักดันให้ประเทศเกิดการพัฒนา จนสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันทั่วโลกได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้ต้องการการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐบาล ที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้สามารถมีความได้เปรียบด้านต้นทุน และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตรถจักรยานยนต์ในระยะยาวให้เติบโตเป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีความสำคัญกับประเทศไทยตลอดไป
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=2858

อัพเดทล่าสุด