องค์ประกอบของคอนกรีต
คอนกรีตประกอบด้วยปูนซีเมนต์ หิน ทราย และน้ำ โดยเมื่อนำส่วนผสมต่างๆ เหล่านี้มาผสมกันจะมีชื่อเรียกเฉพาะดังนี้
ปูนซีเมนต์ผสมกับน้ำเรียกว่า ซีเมนต์เพสต์ (Cement paste)
ซีเมนต์เพสต์ผสมกับทรายเรียกว่า มอร์ต้า (Mortar)
มอร์ต้าผสมกับหินหรือกรวดเรียกว่า คอนกรีต (Concrete) ซึ่งสามารถนำมาเขียนเป็นแผนภูมิได้ ดังนี้
ซีเมนต์เพสต์ มีหน้าที่เสริมช่องว่างระหว่างมวลรวม เช่น หิน กรวด และทราย หล่อลื่นคอนกรีตสดขณะเทหล่อ และให้กำลังแก่คอนกรีตเมื่อคอนกรีตแข็งตัว รวมทั้งป้องกันการซึมผ่านของน้ำ
คุณสมบัติของซีเมนต์เพสต์จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของปูนซีเมนต์ อัตราส่วนของน้ำต่อปูนซีเมนต์ และความสมบูรณ์ของปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์ หรือที่เรียกว่า ปฏิกิริยาไฮเดรชั่น (Hydration Reaction)
มวลรวม มีหน้าที่เป็นตัวแทรกประสานที่กระจายอยู่ทั่วซีเมนต์เพสต์ ช่วยให้คอนกรีตมีความคงทน ปริมาตรไม่เปลี่ยนแปลงมาก
คุณสมบัติของมวลรวมที่สำคัญคือ มีความแข็งแรง การเปลี่ยนแปลงปริมาตรต่ำ คงทนต่อปฏิกิริยาเคมี และมีความต้านทานต่อแรงกระแทกและการเสียดสี
น้ำ มีหน้าที่หลักคือ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่น (Hydration Reaction) กับปูนซีเมนต์ทำหน้าที่หล่อลื่นเพื่อให้คอนกรีตอยู่ในสภาพเหลวสามารถเทได้ และเคลือบหินทรายให้เปียกเพื่อให้ซีเมนต์เพสต์สามารถเข้าเกาะได้โดยรอบ นอกเหนือจากหน้าที่หลักแล้ว น้ำยังใช้ล้างวัสดุมวลรวมต่างๆ และใช้บ่มคอนกรีตอีกด้วย
น้ำยาผสมคอนกรีต มีหน้าที่สำคัญ คือ ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทั้งคอนกรีตทีเหลวและคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วในด้านต่างๆ เช่น เวลาในการก่อตัว ความสามารถเทได้ กำลังอัด ความทนทาน เป็นต้น
คอนกรีตที่ใช้ในงานทั่วไปสามารถแบ่งเป็น ๓ ชนิด ตามสัดส่วนของส่วนผสม คือ
๑. คอนกรีตสำหรับงานทั่วๆ ไปทุกชนิด ประกอบด้วยซีเมนต์ ๑ ส่วน ทราย ๒ ส่วนและหินหรือกรวด ๔ ส่วน โดยปริมาตร
๒. คอนกรีตสำหรับงานที่ต้องการรับแรงสูงเป็นพิเศษ เช่น ตอม่อใต้น้ำ ประกอบด้วยซีเมนต์ ๑ ส่วน ทราย ๑.๕ ส่วน และหิน ๓ ส่วน
๓. คอนกรีตหยาบสำหรับงานที่เทเหนือเสาเข็มเพื่อรองรับฐานราก ประกอบด้วย ซีเมนต์ ๑ ส่วน ทราย ๓ ส่วน และหิน ๖ ส่วน
คอนกรีตที่ดีกับคอนกรีตที่ไม่ดี
คอนกรีตที่ไม่ดี โดยทั่วไปจะมีความข้นเหลวไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เมื่อแข็งตัวจะมีรูโพรง และไม่เป็นเนื้อเดียวกันทั้งโครงสร้าง
กระบวนการทำคอนกรีตทั่วไปอาจเรียงลำดับขั้นตอนได้ดังนี้
๑. การเลือกหาวัตถุดิบที่เหมาะสม
๒. การกำหนดอัตราส่วนผสม
๓. การชั่งหรือตวงวัตถุดิบ เพื่อให้ได้อัตราส่วนผสมที่ถูกต้อง
๔. การผสม
๕. การลำเลียงคอนกรีตสดไปเท
๖. การเท
๗. การทำให้คอนกรีตอัดแน่น
๘. การแต่งผิว
๙. การบ่ม
๑๐. การแกะแบบหล่อคอนกรีตตามระยะเวลาที่ถูกต้อง
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=2864