ธุรกิจ การตลาด กลยุทธ์ โซเชียลเน็ตเวิร์ก ช่องทางใหม่ดูดลูกค้า


925 ผู้ชม


  สำหรับคนที่รู้จัก ใช้ช่องทางการตลาดอย่าง ชาญฉลาด ต้องยกให้บริษัทที่ทันกระแสโซเชียลเน็ตเวิร์ก ใช้ช่องทางทวิตเตอร์ เฟซบุ๊กให้เป็นประโยชน์ทั้งสองช่องทางถือเป็นช่องทางการตลาดที่มีต้นทุนถูก สุด เพราะนอกเหนือจากค่าไฟฟ้า ค่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต และค่าใช้จ่ายพนักงานที่คอยเฝ้าหน้าจอแล้ว ก็ยังมองไม่เห็นต้นทุนอื่น เพราะทุกคนและทุกธุรกิจสามารถสมัครใช้เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ได้ฟรี ไม่ต้องเสียเงินแม้แต่บาทเดียว

          ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม กูรูโซเชียลเน็ตเวิร์ก เปิดเผย 5 เทคนิคการนำโซเชียลเน็ตเวิร์กมาใช้กับการตลาดและธุรกิจ และทำอย่างไรให้สำเร็จ โดยระบุว่า กลุ่มหลักที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในปัจจุบันคือ วัยรุ่น วัยทำงาน อายุ 25-40 ปี

          ขณะ ที่การสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กไม่ควรใช้วิธีสื่อสารแบรนด์เกี่ยวกับ สินค้าหรือบริการตรงๆ เพราะคนจะไม่ค่อยติดตามและให้ความสนใจกับสิ่งที่เจ้าของสินค้าหรือแบรนด์พูด มากเท่าไร ขณะเดียวกันการกระตุ้นหรือมีกลยุทธ์ให้คนที่มีอิทธิพลพูดถึงสินค้าหรือแบ รนด์ของคุณแทน จะทำให้คนทั่วไปสนใจและพูดถึงสินค้าหรือแบรนด์ของคุณภาวุธ เน้นย้ำว่า 86% ของคนทั่วไปมักไม่เชื่อสิ่งที่สินค้าหรือแบรนด์พูดถึงตัวเอง แต่ 78% ของคนทั่วไปมักเชื่อในสิ่งที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์  และ หากลูกค้าหลักที่ใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กมีอายุระหว่าง 25-40 ปีจริง ก็คงไม่แปลกที่ช่วงปี ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ต่างสมัครเฟซบุ๊ก ใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กทำความรู้จักกลุ่มลูกค้าหน้าใสวัยเอ๊าะกันให้ พรึ่บ

     
           ธนาคาร กสิกรไทยใช้ชื่อ “KBank Live” ตะลุยเฟซบุ๊กเป็นอันดับแรกๆ และดูจะเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ร้อนแรงสุดในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพราะขณะนี้ มีสมาชิกติดตามถึง 13,919 ราย และ หากเข้าไปติดตามจะพบว่ากสิกรไทยใช้ ช่องทางขยายการรับรู้ผลิตภัณฑ์ของธนาคารผ่านเฟซบุ๊กได้อย่างคุ้มค่า มีการอัพเดตทักทายสมาชิก ทุกวัน รวมทั้งมีกิจกรรมให้หนุ่มสาวโลกไซเบอร์ได้ร่วมสนุกอยู่เสมอ

     
           สำหรับลูกเล่นที่กสิกรไทยใช้เชื่อมถึงผลิตภัณฑ์ของธนาคารถือว่าได้ผลอยู่หมัดคือ การประกวด รูปถ่ายกับบัตร K-My Debit ด้วยการบอกเล่า เรื่องราวของภาพที่เจ้าของบัตรเดบิตถ่ายคู่กับบัตร และต้องมีคำว่า “K-My Debit Card บัตรของ คุณ ตัวตนของคุณ” จากนั้นก็นำมาโพสต์ในหน้า KBank Live ใครได้รับการโหวตจากสมาชิกมาก ที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะ ได้รับตั๋วเครื่องบินเป็นรางวัล แค่นี้ก็ล่อตาล่อใจแฟนๆ KBank Live เข้าร่วมเล่นเกมอวดรูปจากบัตรเดบิตเพียบกว่า 100 ราย

     
          ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อกระแสเกมในโซเชียลเน็ตเวิร์กได้รับความนิยมสูง ธนาคารก็ปิ๊งไอเดียพัฒนาเกมเป็นลูกเล่นเพิ่ม โดยใช้ชื่อเกม KBank Live Millionaire Game ลิงก์จากหน้าเฟซบุ๊ก ร่วมตอบคำถามชิงรางวัล ที่สำคัญหากชวนเพื่อนมาเล่นเกมเพิ่ม จำนวนแต้มก็จะเพิ่มขึ้นด้วย นี่จึงเป็นลูกเล่นการตลาดทำให้แฟนโซเชียลเน็ตเวิร์กได้ทำความรู้จักกสิกรไทย ผ่าน Kbank Live ในเฟซบุ๊กได้อย่างเนียนๆ

 
           กิจกรรมทุกอย่างล้วนแฝงการตลาดบนหน้าจอเฟซบุ๊ก ยกเว้นเพียงเรื่องเดียวที่ลูกค้าได้รับประโยชน์จากการติดต่อทางตรงผ่าน เฟซบุ๊ก คือ การสอบถามปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตัวเองและผลิตภัณฑ์ โดยจะมีพนักงานธนาคารที่เฝ้าหน้าจอไขข้อสงสัยและหา คำตอบให้ในทันที โดยไม่ต้องยกหูโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือผ่านคอลเซ็นเตอร์ สร้างความประทับใจให้กับแฟนๆ เฟซบุ๊กได้มากทีเดียว
 

            ที่ไม่น่าเชื่อที่สุดคือ ธนาคารของรัฐ “ธนาคารกรุงไทย” กับการสมัครใช้เฟซบุ๊กในชื่อ “KTB Care” ปัจจุบันมีสมาชิก 577 ราย ยังไม่เป็นที่รับรู้มากนัก กรุงไทยจึงใช้กลยุทธ์เพิ่มแฟนด้วยการสร้างเครือข่ายสมาชิกที่ชื่นชอบการเล่น เกม Restaurant City ซึ่งเป็นเกมที่มีอยู่ในเฟซบุ๊กอยู่แล้ว ใครก็ตามที่เล่นเกมนี้แล้วรับ KTB Care เป็นเพื่อนบ้าน จะสามารถแลกของให้กันได้ฟรี เท่ากับวิธีนี้จะเป็นการเพิ่มจำนวนคนเป็นสมาชิก KTB Care ให้มากขึ้นในทางตรงเป็นการสร้างการรับรู้แบรนด์ธนาคารในทางอ้อม ขณะที่หน้าเว็บไซต์ของธนาคารก็มีการติด เครื่องมือคลิกลิงก์สมัครเป็นแฟน KTB Care ผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และไฮไฟว์ได้ทันที

     
            อนุชิต อนุชิตานุกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด ธนาคารกรุงไทย ยอมรับว่าการ มุ่งสู่โซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อให้อายุลูกค้าของธนาคาร อ่อนลงอยู่ในระดับต่ำกว่า 25 ปี ซึ่งคนกลุ่มนี้ต่อไปอาจมาเป็นลูกค้าหลักของธนาคาร ทำให้ธนาคาร เล็งเห็นความสำคัญ และได้มีการจัดตั้งกลุ่มงานดิจิตอลมาร์เก็ตติงขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยพนักงานที่อยู่ในกลุ่มงานนี้ก็ต้องมีไลฟ์สไตล์ชื่นชอบโซเชียลเน็ตเวิร์ กด้วย

     
           “คน ชอบคิดว่าเราเป็นธนาคารข้าราชการ แต่จริงๆ แล้วเราตองการทำอะไรก็ได้ที่มีความ ก้าวหน้า ทันสมัย เป็นการพัฒนาของธนาคาร อีกทั้งพฤติกรรมของลูกค้าส่วนใหญ่เริ่มหันมาช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กมาก ขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเดิมที่เราเข้าไปไม่ถึง แต่เมื่อปัจจุบันช่องทางนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเขา ธนาคารก็ต้องพัฒนาช่องทางให้ลูกค้าติดต่อสื่อสารกับเราได้ง่าย เราต้องปรับตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งจะมีส่วนช่วยทำให้ ภาพลักษณ์ของธนาคารเปลี่ยนไป” อนุชิต กล่าว

     
            ขณะ ที่บริษัท บัตรกรุงไทย (เคทีซี) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกรุงไทย ก็ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารกับลูกค้าด้วยเช่นกัน ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 5,513 รายในชื่อ “KTC Real Privileges” โดยเน้น ประชาสัมพันธ์ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว และกิจกรรมที่ลูกค้าจะได้รับส่วนลดหากใช้บัตรเครดิตของเคทีซี พร้อมทั้งลงรูปสวยๆ เชื้อเชิญให้บรรดาผู้เล่นเฟซบุ๊กสมัครเข้ามาเป็นแฟนเพื่อติดตามข่าวสาร เฟซบุ๊กของเคทีซีจึงดูชิล ชิล สบายตา เน้น ลงรูปมากกว่าไขข้อข้องใจปัญหาจากบัตรเครดิต

     
          ไทยพาณิชย์เน้นโปรโมตอินเทอร์เน็ตแบงกิงให้ขยายวงกว้าง จึงใช้ชื่อ SCB Easy Net ในเฟซบุ๊ก ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะเน้นเข้ามาสอบถามปัญหาที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ตแบงกิง

     
           อย่างกรณีของคุณ Wilber M. Tennyson ที่มีข้อท้วงติงผ่านเฟซบุ๊กว่า “บริการไม่ค่อยดีเลยครับสำหรับ SCB EASY NET ตอนนี้ผมเลิกใช้แล้ว เพราะบริการช้าและไม่เกิดความประทับใจ หากมีแนวทางแก้ไขก้ออยากให้ติดต่อกลับมาครับ 086422XXXX” ทันใดนั้นธนาคารก็โพสต์กลับทันทีว่า “เดี๋ยวให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับค่ะ” และ “เจ้าหน้าที่ติดต่อเรียบร้อยแล้วนะคะ ทุกอย่าง ok หรือยังคะ หากมีอะไรแนะนำ แจ้ง ได้เลยนะคะ” เป็นวิธีเรียกคะแนนจากลูกค้าโดย ไม่ต้องซื้อโฆษณาทำประชาสัมพันธ์ เพราะเฟซบุ๊กถือเป็นการติดต่อ 2 ทาง ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกับลูกค้าโดยทันที


            แม้แต่บริษัทประกันชีวิตอย่างเมืองไทยประกันชีวิต ก็ร่วมวงโซเชียลเน็ตเวิร์กด้วยคน แม้ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตอาจไม่มีใครซื้อใช้ทุกวัน แต่อย่างน้อยนี่ก็เป็นช่องทางหนึ่งในวิธีสร้างการจดจำแบรนด์ให้เป็นที่คุ้น เคย สร้างความใกล้ชิดกับลูกค้าและ สมาชิกที่เข้ามาร่วมเป็นแฟน เพราะไม่แน่ว่าต่อไปแบรนด์ประกันชีวิตที่ลูกค้านึกถึงอันดับต้นๆ อาจเป็นแบรนด์เมืองไทยประกันชีวิตก็ได้


            เนื่องจากปัจจุบันคนไทยยังซื้อประกันชีวิตน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศ อื่นๆ นี่จึงเป็นการปูทาง ให้กับบริษัทในแง่การตลาดได้เป็นอย่างดี เมื่อพฤติกรรมของคนเริ่มเปลี่ยน หันมาจิ้มแป้นพิมพ์ หาข้อมูล พูดคุยผ่านจอคอมพิวเตอร์มากกว่าสื่อสารทางตรงกับคน ขี้เกียจกระทั่งยกหูโทรศัพท์สอบถามคอลเซ็นเตอร์เพื่อฟังมนุษย์หุ่นยนต์สั่ง กด 1 กด 2 เพราะเริ่มชักช้าไม่ทันใจ โซเชียลเน็ตเวิร์กจึงเป็นกระแสใหม่ที่ธุรกิจต่างๆ ไม่เว้นธุรกิจการเงินต้องวิ่งไล่เอาใจลูกค้าให้ทัน
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=3196

อัพเดทล่าสุด