การพัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศด้านพาณิชย์อเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ของภาครัฐ และการส่งเสริมให้นำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-Commerce) มาเป็นเครื่องมือ
มีส่วนสำคุญที่จะเสริมสร้างขีดความสามารถให้เข้าสู่การแข่งขันในเวทีโลกของประเทศได้ และ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(E-Commerce) ยังเป็นแหล่งงานธุรกิจสมัยใหม่ที่ต้นทุนถูก ที่จะสามารถรองรับบัณฑิตที่ว่างงานหรือผู้ถูกเลิกจ้างหรือว่างงานได้
ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-Commerce) ของไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 74 เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีคนทำงานไม่เกิน 5 คน และเป็นธุรกิจประเภทB2C (Business to Consumer) คือ การทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรนิกส์ระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค (ร้อยละ 72.5 ของอุตสาหกรรม) พิจารณาตามประเภทอุตสาหกรรม ของธุรกิจ B2C (Business to Consumer) คือ การทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่าภาคธุรกิจด้วยกันเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต พบว่า อุตสาหกรรมที่ทำมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ สิ่งทอ/เสื้อผ้า คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน/เครื่องเขียน เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และบริการวิชาชีพและการออกแบบเว็บไซต์
อุตสาหกรรมที่มีมากในธุรกิจ B2C คือ สิ่งทอ/เสื้อผ้า น้ำหอม/เครื่องสำอางการท่องเที่ยว/จองตั๋วเดินทาง/ที่พัก คอมพิวเตอร์และธุรกิจประกันภัย นายหน้าและตัวแทน ธุรกิจส่วนใหญ่ (ร้อยละ33.7)
ขายผ่านอินเตอเน็ตมาประมาณ 3-5 ปี หากพิจาณาตามลักษณะการขายเกือบครึ่งหนึ่งของธุรกิจ
E-Commerce ทั้งหมด(ร้อยละ47.8) ขายผ่านอินเตอร์เน็ต และมีหน้าร้านด้วย นอกจากนั้นธุรกิจ
E-Commerce มีการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)ด้วย ประมาณร้อยละ 13.5 ของธุรกิจทั้งหมด
ผลการประกอบการในปี 2550 ธุรกิจ E-Commerce มียอดขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้นประมาณ 427,460 ล้านบาท (ในจำนวนนี้ที่เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ (E-Auction) จำนวน 233,982 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 54.8 ของยอดขายทั้งหมด) ยอดขายผู้ประกอบการB2C มีประมาณ 127,325 ล้านบาท ร้อยละ 29.8 ส่วนที่เหลือ 63,425 ล้านบาท เป็นยอดขายผู้ประกอบการB2C |
ตลาดของธุรกิจ E-Commerce (ที่ไม่รวม E-Auction ของภาครัฐ) จะเป็นตลาดในประเทศประมาณ 3 ใน 4 ของมูลค่าขายทั้งหมด ส่วนที่ขายไปยังตลาดต่างประเทศมีประมาณร้อยละ 24.7 โดยมีลูกค้าที่สั้งซื้อสินค้า สินค้า/บริการจากหลายประเทศ เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมันนี เป็นต้น
วิธีการดำเนินธุรกิจมีการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ ร้อยละ 42.2 ของธุรกิจ
E-Commerce ทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็นธุรกิจทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ประมาณร้อยละ 29.0
การประชาสัมพันธ์แบบออนไลน์ที่ใช้กันมากที่สุดคือ การโฆษณาผ่านเว็บบอร์ดของเว็บไซต์ต่างๆ
(ร้อยละ 66.7) ผ่านทาง Search Engine (ร้อยละ 46.5) และทางอีเมล์ (ร้อยละ 42.2)
ธุรกิจ E-Commerce ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.5 มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง และร้อยละ 16.8 ไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเองแต่มีแผนที่จะจัดทำ ส่วนที่เหลือร้อยละ 9.7 ไม่มีเว็บไว๖เป็นของตนเองและไม่มีแผนที่จะจัดทำ ในกลุ่มที่มีเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรมสำเร็จรุปในการพัฒนาเว็บไซต์มากที่สุด
(ร้อยละ 70.8) ส่วนที่จ้างพัฒนาทีเพียงร้อยละ 14.9 ระบบชำระเงินค่าสินค้าและบริการ ร้อยละ 42.1 เปิดให้ชำระได้ทั้งแบบออนไลนืและออฟไลน์ ร้อยละ 9.8 ชำระได้แบบออนไลน์อย่างเดียว โดยส่วนใหญ่นิยมชำระผ่าน E-Banking/ATM (ร้อยละ 59.2) ชำระผ่านผู้ให้บริการกลาง เช่น Pays Buy , Thai e-bay มีร้อยละ 47.3 และชำระผ่านบัตรเครดิต ร้อยละ 39
การประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บหรือการซื้อ-ขายผ่านอินเตอร์เน็ตในภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะเป็นหนทางหนึ่ง ที่ช่วยผู้ถูกเลิกจ้าง ว่างงาน
ผู้ถูกเลิกจ้าง ว่างงาน สามารถศึกษาและใช้ธุรกิจออนไลน์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งและเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตใหม่เพราะInternet ไม่ได้เป็นเพียงแค่แหล่งหาข้อมูลข่าวสารความบันเทิงเท่านั้น แต่ Internet ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการหารายได้ ภาพรวมการซื้อ-ขายผ่าน
E-Commerce ในปี 2552 ยังเติบโตได้ดีเพราะวิกฤตเศรษฐกิจทำให้คนลดค่าใช้จ่ายในการออกจากบ้าน ซึ่งยอดซื้อ-ขายผ่าน E-Commerce ปี 2551 สูงสุดถึง 8.9 พันล้านบาท โดยมีการคาดการว่า ยอดซื้อ-ขายผ่านเว็บ ในปี2552 จะสูงถึงหมื่นล้านบาท
ช่องทางหารายได้ที่ใช้ต้นทุนต่ำสำหรับผู้ถูกเลิกจ้าง ว่างงาน ในภาวะเสรษฐกิจถดถอยช่องทางหนึ่งก็คือ
E-Commerce ขณะนี้มีการคาดการว่าคว่างงานในปี 2552 กว่า 10-20% จะหันมาทำ E-Commerce
มากขึ้น และ E-Commerce จะเป็นตลาดที่สามารถเติบโตเพิ่มขึ้นต่อไปได้ ภายใต้วิกฤติเศษฐกิจด้วยซ้ำไป
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=3561