เงินกู้ เงินทุน การลงทุน บทบาท ของตลาดทุน ต่อธุรกิจ SME


867 ผู้ชม


ความสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (Small and Medium-size Enterprises : SME)

            ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก(Small and Medium-size Enterprises : SME)เป็นธุรกิจสนับสนุนและเป็นแหล่งวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง นอกจากนี้ยังมีการป้อนให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อเป็นแหล่งผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า และสินค้าเพื่อการบริโภค อีกทั้งยังเป็นแหล่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน

แหล่งเงินทุนของ SME ประกอบไปด้วย

  • แหล่งเงินทุนภายในกิจการ
    ทุนเจ้าของกิจการ(ค่อนข้างจำกัด)
    - กำไรสะสม(ขึ้นอยู่กับผลปประกอบการ)
  • แหล่งเงินทุนภายนอก 
    - ตลาดเงิน 
    - ตลาดทุน
  • แหล่งเงินทุนนอกระบบ

            ปัจจุบันสถานการณ์ระดมทุนในตลาดทุนที่ผ่านมาไม่ได้รับความสนใจ เพราะมีขั้นตอนยุ่งยากSME ไม่มีความรู้ อีกทั้งระบบบัญชียังไม่ได้มาตราฐานจึงทำให้ตลาดรองของ SME ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้มีทางเลือกอื่น คือตลาดเงิน

ผลกระทบของการขาดแคลนเงินทุนของSME

            ระยะสั้น   SMEยังขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานและชำระหนี้ระยะสั้นและไม่มีเงินทุนรองรับปัญหาฉุกเฉิน

            ระยะยาว SMEไม่สามารถขยายกิจการได้ อีกทั้งยังไม่สามารถปรับปรุงการผลิต/คุณภาพสินค้าให้แข่งขันได้ และเมื่อ SME ไม่สามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพก็สามารถก่อให้เกิดโครงสร้างทางการเงินที่ไม่เหมาะสมได้

การสนับสนุนให้เกิด Long term equity capital formation

          มีหลายปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนอาทิเช่น การจัดทำreal return=capital gain-inflation-tax และโอกาส exit ก่อนสิ้นสุด investment horizon

            ดังนั้นจึงสามารถยกตัวอย่างสนับสนุนของต่างประเทศได้หลายประเทศ เช่น Singapore สนับสนุนการ ลงทุนใน VC เพื่อลงทุนใน SME ที่มีศักยภาพแต่ไม่มี acess ในการระดมทุนจากประชาชนมีการเว้นภาษีให้ ตัว VC เป็นเวลา 10 ปี สำหรับ capital gain และปันผล ผู้ลงทุนนำ loss ในการลงทุนใน VC มาหักจาก taxable income ได้ และรัฐมีการช่วยลงทุนโดยตรง Taiwan ปัจจุบันไม่มี capital gain tax และรัฐลงทุนผ่าน Malaysain techonology Developmet Corporationด้วยเหตุนี้จึงสามารถสรุปแนวทางให้ประโยชน์ ทางภาษีของประเทศต่างๆ เช่น Income tax credit หรือ income tax releif against tax liability เป็น % การนำ loss ในการลงทุนมาหักจาก Taxable income ได้ ยังมีการลดหรือยกเว้นภาษี capital gain สำหรับ การลงทุนในกิจการหรือ Venture Capital

            นอกจากนี้อาจมีเงื่อนไข ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่อาจมีการนำมาใช้ในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อันได้แก่ เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาถือครองหุ้น เช่น > 5 ปี หรือ เงื่อนไขเกี่ยวกับกิจการ ซึ่งอาจจะมองในแง่ของประเภท กิจการ,ความเป็นSME หรือ unlisted securities และการใช้เงินที่ระดมได้ เช่นให้ใช้ ในประเทศ

เปรียบเทียบมาตราการภาษีไทยกับต่างประเทศ

            ภาษีต่างประเทศ มีการจูงใจให้เกิดการสะสมเงินทุนระยะยาวและให้ความสำคัญกิจการขนาดเล็ก และ venture capitalยังมีการเน้นกิจการประเภทที่ต้องการสนับสนุน เช่น HI-TECHและไม่จำกัดประเภทผู้ลงทุน

            ภาษีไทย มีการสนับสนุนพฤติกรรมเก็งกำไรระยะสั้นของบุคคลธรรมดาและไม่ให้ reward ผู้ลงทุนระยะยาวนอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกิจการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ประเด็นพิจารณาด้านภาษี

     จะทบทวนปรัชญาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือไม่ใน 2 ด้านถ้าไม่ประสงค์จะสนับสนุนกิจกาารขนาดเล็กนอกตลาดหลักทรัพย์เป็นพิเศษ อย่างน้อยก็ไม่ควรให้เสียเปรียบกิจการขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ยังมีการ ให้ความสำคัญกับระยะเวลาการถือครองมากกว่านี้ เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนระยะยาวโดยไม่ต้องคำนึงถึงประเภทผู้ลงทุน การให้ Tax credit จะเป็นการกระตุ้นการลงทุนที่มี Impact เร็วกว่าการยกเว้น Capital gain tax

ความสำคัญของการมีช่องทาง Exit

            ผู้ลงทุนระยะยาวอย่าง venture capital firm ก็ยังมีการกำหนดเป้าหมายระยะเวลาการลงทุนไว้ล่วงหน้า ซึ่งเงินลงทุนมักมาจากการรวบรวมเงินลงทุนจากผู้อื่นในรูปกองทุนที่มีอายุแน่นอน การขายหุ้นออกไปทำให้มีเม็ดเงินมาลงทุนต่อในกิจการอื่นได้อีก

หลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาอนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์

  • วัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุน
  • ลักษณะธุรกิจ 
  • ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
  • โครงสร้างทางการเงินและการถือหุ้น
  • ผู้บริหาร

 ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=3914

อัพเดทล่าสุด