จารบี เป็นสารหล่อลื่นแบบผสมที่ได้มาจากการรวมกันของสารหล่อลื่นแบบน้ำมัน และสารแข็งตัว จำพวกสบู่แบบ Metal Hydroxide Alkali ซึ่งมีส่วนประกอบของสารโซเดียม, ลิเธียม และกรดไขมันเป็นหลัก ทำให้เมื่อสังเกตลักษณะทางกายภาพภายนอกจะพบว่า จารบีมีลักษณะคล้ายสารกึ่งเหลวกึ่งแข็ง ในขณะทำงานจารบีจะละลายเป็นน้ำมันมา หล่อลื่นผิวสัมผัส และรับความร้อนมาจากส่วนนั้น จนกระทั่งเมื่อเย็นตัวลง จารบีจะเปลี่ยนสภาพกลับมาสู่ สารกึ่งแข็งตามเดิมแนวโน้มและทิศทางการขยายตัวจารบีชนิดพิเศษหรือ Premium Grease และประเภท Food Grade ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร จะเติบโตมากขึ้น
น้ำมันไฮโดรลิค น้ำมันไฮโดรลิคจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดแรงไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับงานถ่ายทอดกำลัง ตลอดจนทำหน้าที่เป็นซีล ป้องกันการรั่วไหลของระบบ ซึ่งจะทำให้อัตราการไหล หรือความดันของระบบลดลง (Leakage Flow Rate) และช่วยระบายความร้อนโดยทั่วไประบบไฮโดรลิค มีส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น ปั๊มสำหรับอัดน้ำมัน ไฮดรอลิคให้มีแรงดันสูงขึ้น วาล์วหรืออุปกรณ์สำหรับควบคุมแรงดัน ทิศทางและปริมาณการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค รวมทั้งชุดลูกสูบ และกระบอกสูบ ปัจจุบันระบบไฮโดรลิค เป็นแบบ Hybrid คือ มีทั้งระบบใบพัดและลูกสูบ ( Vane Pump & Piston Pump) การพัฒนาคุณสมบัติของน้ำมันไฮโดรลิค จำเป็นต้องทำให้น้ำมันไฮโดรลิคสามารถทนต่อสภาวะงานที่มีแรงดันสูง และอุณหภูมิสูงได้ ในระบบรถยนต์ต้องตอบสนองต่อประสิทธิภาพการขับขี่ที่สูงขึ้น คุณสมบัติที่ดีของน้ำมันไฮดรอลิค คือต้องทนต่อแรงกดได้ดีคือมีค่าOil Stress Index สูง มีสารป้องกันการเกิดฟอง (Antifoam) ทนความร้อน ป้องกันปฎิกิริยา ออกซิเดชั่น (Thermal - Oxidation Stability) ป้องกันสนิมและการกัดกร่อน ( Wear Protection & Corrosion Inhibitor) ภายใต้สภาวะการทำงานที่รุนแรง จะต้องสามารถป้องกันการสึกหรอของชิ้นส่วนนอกจากนี้ยังต้องแยกตัวออกจากน้ำได้ดี หรือ เมื่อปนด้วยน้ำก็ยังคงสมรรถนะที่ดีไว้ (Hydrolytic Stability) การผลิตน้ำมันไฮโดรลิคจะใช้น้ำมันพื้นฐานประเภทน้ำมันแร่ที่มีค่าดัชนี ความหนืดสูง (High Viscosity Index ) หรือ High Iso Viscosity Fluid แต่ ต้องไม่มีปัญหาของการไหลที่อุณหภูมิต่ำ ต้องระวังในเรื่อง Leakage รักษาระดับความดัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของลูกสูบในระบบไฮโดรลิคด้วย (Piston Pump Efficiency) สำหรับการใช้สารเติมแต่ง เช่น Antiwear เดิมจะใช้ประเภทที่มีองค็ประกอบเป็นโลหะหนัก แต่เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิสูง จะรวมกับกำมะถันในน้ำมันพื้นฐาน อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทำให้น้ำมันไฮโดรลิคไม่ทนความร้อน และแตกตัวง่าย เสียสภาพ ปัจจุบันจึงมีการพัฒนา และใช้สารเติมแต่งประเภท ประเภท Ashless ซึ่งประกอบด้วยโลหะน้อยลง เพื่อลดปัญหาดังกล่าว
น้ำมันหล่อลื่นระบบเกียร์อัตโนมัติ (AUTOMATIC TRANSMISSION FLUID : ATF) เกียร์เป็นองค์ประกอบของเครื่องจักร เครื่องยนต์ ที่ใช้ในการถ่ายทอดกำลังโดยการเพิ่มหรือลดความเร็วของเพลา มีอยู่หลายชนิดแล้วแต่ประเภทของการใช้งานระบบเกียร์ในยานยนต์มีหลายประเภท เช่น CVT (Continously Variable) , Multistep AT และ ระบบ DCT การพัฒนาระบบเกียร์อัตโนมัติในปัจจุบัน เน้นให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา แต่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดน้ำมัน ลดมลพิษ ตอบสนองต่อการขับขี่ที่ดี เช่น ระบบ Multistep AT มีการพัฒนา Step ให้สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ละเอียดขึ้น เดิม 3 step เป็น 7-8 step ทำให้การขับนุ่มนวล ไม่สะดุด ปัจจุบันยานยนต์ใช้ระบบเกียร์อัตโนมัติมากขึ้น ในอเมริกาเหนือ เกือบ 95 % เป็นระบบเกียร์อัตโนมัติ เทคโนโลยียานยนต์ และการพัฒนามาตรฐานของ ATF จะแตกต่างไปแต่ละภูมิภาค แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามภูมิภาค ได้แก่
กลุ่มแรก เป็นรถในอเมริกาเหนือ เช่น Chrysler , Ford , General Motor ใข้เทคโนโลยีระบบเกียร์ของ Dexron คุณสมบัติที่สำคัญของ ATF เน้นในเรื่องของ Friction และ Oxidation Control การผลิต ATF เป็นไปตามที่ผู้ผลิตรถยนต์แนะนำ เช่น Dexron Specification หรือ Ford - Mercon Specification เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 เป็นรถในทวีปยุโรป เช่น BMW , Volkswagen , Mercedes เป็นต้น คุณสมบัติของ ATF จะเน้นในเรื่อง Shear Stablility และ Friction Control
กลุ่มที่ 3 เป็นรถในเอเชียแปซิฟิค ส่วนใหญ่เป็นรถค่ายญี่ปุ่น เช่น Honda , Toyota , Nissan , Mitsubishi การผลิต ATF เป็นไปตาม Specification ที่ผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น Japan Automobile Manufacturers Association : JAMA กำหนด โดยให้ความสนใจในเรื่องของ Antishudder Durability คือสามารถป้องกันการสั่นสะเทือน หรือป้องกันการสะดุดในระหว่างการขับเคลื่อนได้ดี นอกจากนี้ยังต้องมีคุณสมบัติ Friction Control และ Oxidation Control เพื่อการใช้งานที่นานขึ้น (Long Drain Interval) ในตลาดญี่ปุ่น จะเน้นน้ำมันที่ใสมากขึ้น ( Low Viscosity Fluid Multigrade ) เพื่อง่ายต่อการขับขี่ในการผลิต ATF น้ำมันพื้นฐาน กลุ่ม 2 และ กลุ่ม 3 ถูกนำมาใช้มากขึ้น เนื่องจาก มีค่า Antioxidation ดี Low Pour Point ใช้งานในอุณหภูมิต่ำได้ดี โดยเฉพาะตลาดเอเชีย ซึ่งปัจจุบัน SK Corporation ในประเทศเกาหลีสามารถผลิตน้ำมันพื้นฐาน กลุ่ม 3 ได้ จึงเป็นจุดดีในตลาดเอเชีย ที่สามารถตอบสนองต่อการใช้น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานกลุ่ม 3 ได้มากขึ้น มีการนำมาใช้แทนน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ PAO ( Poly Alpha Olefin) หรือการนำไปผสมกับกลุ่ม 1 ซึ่งทิศทางการเปลี่ยนแปลงนี้ก็เหมือนกับการใช้น้ำมันพื้นฐานในการผลิตน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ในหลายปีที่
ผ่านมา
Power Plant Lubricant พลังงานลมเป็นพลังงานทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจ เช่นเดียวกับพลังงานน้ำ และพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ได้จากธรรมชาติโดยตรง แต่การใช้พลังงานจากธรรมชาติ นั้น จำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของแต่ละประเทศ เพราะไม่สามารถจะนำเข้าได้เหมือนกับพลังงานจากปิโตรเลียม พลังงานลมมีใช้มากกว่า 50 ประเทศ แต่การพัฒนาเทคโนโลยีในด้านนี้ ยังมีต้นทุนสูง และการใช้ยังอยู่ในพื้นที่จำกัด อุปกรณ์และองค์ประกอบหลักของการแปลงพลังงานลม ที่สำคัญคือ tower tower ขนาดใหญ่มีความสูงมากกว่า 100 เมตร และใบพัด ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 80 เมตร โดยมี rotor bearing ซึ่งช่วยรองรับหรือช่วยยึดชิ้นส่วนของใบพัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จะมีขนาดประมาณ 2 เมตร เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่และสภาพการทำงานหนัก แต่มีชิ้นส่วนที่ซับซ้อนเช่น Main Bearing , Shaft bearing , Gear Boxes , Systems , Yaw Mechanisms เป็นต้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้วัสดุหล่อลื่นเพื่อลดแรงเสียดทาน มีคุณสมบัติเฉพาะที่จะปกป้องรักษาชิ้นส่วนของใบพัดในระยะยาว เพื่อให้การทำงานไม่สะดุดสามารถรับแรงลมได้อย่างสม่ำเสมอวัสดุหล่อลื่นที่ต้องใช้ ได้แก่ Lubricant Oils , Lubricant Greases , Hydraulic oil , Gear Oil , High Performance multi – purpose Greases เป็นต้น ซึ่งนอกจากต้องมีคุณสมบัติในเบื้องต้น เช่น High Viscosity Index , Oxidation Stability , Excellent Corrosion Protection , Excellent Wear Protection , Good Antifoam แล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติพิเศษ ได้แก่ ทนรับแรงกด โดยใช้สารเติมแต่งประเภท Extreame – Pressure , รับแรงหมุนสูง High Loading เช่นในชิ้นส่วนของแบริ่ง , ต้องมีคุณสมบัติ Water and Air Release แยกตัวจากน้ำได้ดี ทนต่อการถูกชะล้างโดยน้ำ (Water Resistant) ทนต่อความร้อนสูง ในขณะที่แบริ่งหมุนรอบจัด (High Thermal Stability) เป็นต้น
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=4282