https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ธุรกิจ การลงทุน อีกทางเลือกหนึ่งของนักลงทุนไทยในคุนหมิง MUSLIMTHAIPOST

 

ธุรกิจ การลงทุน อีกทางเลือกหนึ่งของนักลงทุนไทยในคุนหมิง


853 ผู้ชม


 เมื่อครั้งเดินทางไปสำรวจภาคสนามโครงการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อประมาณปลายปี 2551 ทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้รับเกียรติจาก อดีต รปอดิเรก รัตนวิชช์ เป็นหัวหน้าคณะสำรวจภาคสนามฯ โดยมีผู้ร่วมคณะฯ ทั้งจาก สศอสกทกนอและทีมที่ปรึกษาจากบริษัท บาลานซ์ โนว์เล็จ ดีไซน์ จำกัด ซึ่งมี ร...ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ เป็นประธานที่ปรึกษาฯ ร่วมเดินทาง ไปด้วยกัน เพื่อไปเก็บข้อมูลเชิงลึกสำหรับโครงการฯ โดยลัดเลาะตามเส้นทาง R3E และ R3W ภายใต้กรอบ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เข้าเมืองเชียงตุงของพม่า ย้อนกลับมาฝั่งไทย พักที่ เชียงของหนึ่งคืนก่อนที่จะข้ามไปยังเมืองห้วยทราย สปป.ลาว ต่อไปยังเมืองเชียงรุ่ง และเมืองต่าง ๆ ของจีน อีกหลายเมือง คณะฯ เดินทางกันค่อนข้างสมบุกสมบันพอสมควร ทั้งแบบหรู (ขึ้นเครื่องบินแบบลุย (นั่งรถตุเลงทัวร์จนนึกว่านั่งเกวียนก็มี หรือจะเป็นแบบลงเรือปริ่ม ๆ ในแม่น้ำโขง ก็ยังได้ ทั้ง ๆ ที่ ทั้งคณะฯ ก็ค่อนข้าง ส..

           สูงวัยกันแล้ว แต่ในที่สุดคณะฯ ก็กลับมาถึงเมืองไทยอย่างปลอดภัย สุขภาพดีถ้วนหน้า

ระหว่างเดินทางผ่านหลายเมือง ในแต่ละประเทศ ต่างเมือง ต่างก็มีความสำคัญและน่าสนใจไม่แพ้กัน ในที่นี้ขอเล่าสู่กันฟัง

...ในเรื่องของพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรม และการลงทุน สำหรับจีนและไทยก็แล้วกัน พื้นที่ที่พูดถึงก็คือ           นิคมอุตสาหกรรม Kunming National High & New Tech. Industry Development Zone(KNHNZ) หรือเขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงแห่งชาติของเมืองคุนหมิง นั่นเอง เอาเป็นว่า ขอเล่าแบบยาว ๆ เริ่มเลยนะ...

           ช่วงเช้าวันพุธที่

10 กันยายน 2552 เมื่อคณะฯ เดินทางไปถึงนิคมฯ ได้พบกับ Mr. Gu Timing รองผู้อำนวยการนิคมฯ และหัวหน้าฝ่ายสำนักงานนิคมฯ รอให้การต้อนรับ หลังจากนั้นจึงได้มีการหารือ พูดคุย ในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งล้วนเป็นข้อมูลที่ทางคณะฯ สนใจและซักถามโดยใช้เวลาพอสมควร จากการหารือทำให้คณะฯ ได้ทราบว่า ภายในช่วงเวลา ปีที่ผ่านมา (2005-2008)มีคณะดูงานจากประเทศไทยไปเยี่ยมชมนิคมฯ แล้วประมาณ 10 คณะ และขณะเดียวกันคณะเจ้าหน้าที่ของนิคมฯ ได้เดินทางมาเยี่ยมชม/ดูงานที่หน่วยงาน ของไทยเช่นเดียวกัน ดังนั้น มาดูรายละเอียดเกี่ยวกับนิคมฯ นี้ กันเลย

ความเป็นมา และวัตถุประสงค์

           นิคมอุตสาหกรรม

Kunming National High & New Tech. Industry Development Zone (KNHNZ) หรือเขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงแห่งชาติของเมืองคุนหมิง นับเป็นหนึ่งใน 54 นิคมอุตสาหกรรม High & New Tech. ระดับประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นเพียงนิคมอุตสาหกรรม High & New Tech. แห่งเดียวในนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน นิคมฯ นี้ ได้รับการอนุมัติการจัดตั้งจากรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีนให้เป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้วิทยาการ/เทคโนโลยีขั้นสูงและสมัยใหม่ ซึ่งดำเนินการมา 17 ปีแล้ว โดยเริ่มก่อตั้งในปี ค.. 1992-ปัจจุบัน (2009) มีพื้นที่ 86.88 ตารางกิโลเมตร จัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น โซน ซึ่งมีการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว โซน นิคมฯ นี้ มีหน้าที่หลักในการเป็นพื้นที่รองรับโครงการอุตสาหกรรม และโครงการวิจัยต่าง ๆ ของประเทศ โดยมุ่งเน้นด้านวิศวกรรมชีวภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการผลิตวัสดุก่อสร้างแบบใหม่ เป็นต้น 2

อาคารสำนักงานภายในนิคมอุตสาหกรรม

Kunming National High & New Tech. Industry Development Zone (KNHNZ)

คณะฯ และเจ้าบ้าน ในช่วงเช้าของวันพุธที่

10 กันยายน 2551 ที่ห้องประชุมของนิคมฯ

           Mr. Gu Timing

รองผู้อำนวยการนิคมฯ (คนที่สองจากซ้าย) Vice-Director, Administration Committee of Kunming National High & New Tech. Industry Development Zone และ หัวหน้าฝ่ายสำนักงานนิคมฯ ให้การต้อนรับ คณะสำรวจภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึก โครงการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อวันพุธ ที่ 10 กันยายน 2551 3

คณะฯ ให้ความสนใจขณะชมแบบจำลองของพื้นที่นิคมฯ

แผนผังการแบ่งพื้นที่ภายในนิคมฯ

4

ทำเลที่ตั้ง

           นิคมฯ นี้ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านมาจินปู

(Majinpu village) เมืองเช็งกอง (Chenggong) นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน มีอาณาเขตติดกับเมืองเช็งกองใหม่ ห่างจากตัวเมืองนครคุนหมิง 28 กิโลเมตร และห่างจาก เมืองจินนิง (Jinning) 10 กิโลเมตร

ระยะการพัฒนาพื้นที่

           นิคมฯ นี้แบ่งระยะของการพัฒนาพื้นที่ออกเป็น

ระยะ โดยเริ่มที่ระยะแรกเป็นการเปิดตัวพื้นที่ของนิคมฯ ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของทางหลวงมาเช็ง (Macheng)เพื่อผลิตอุปกรณ์ก่อสร้างหลายโครงการ และเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยมีเป้าหมายในปี 2020 ให้มณฑลยูนนานเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังที่มีมูลค่าประมาณ ล้านล้านหยวน มีพื้นที่โครงการ ตารางกิโลเมตร ระยะที่สอง ขยายพื้นที่ โดยทำการก่อสร้างไปตลอดถนนหลักด้านตะวันออกและตะวันตก ของนิคมฯ เพื่อพัฒนาให้เป็นฐานอุตสาหกรรม รวมทั้งเชื่อมโยงพื้นที่การผลิตของอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และรัฐวิสาหกิจ ระยะที่สาม พัฒนาพื้นที่หลักทางเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือให้เป็นพื้นที่การส่งเสริมอุตสาหกรรมท้องถิ่นและวิสาหกิจต่างประเทศ และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัย และ การวิสาหกิจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ระยะที่สี่ พัฒนาเต็มที่โดยมีการขยายไปยังพื้นที่วงแหวนรอบนอกของทางรถไฟ Dian Link เชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟหลักของมณฑลยูนนาน และเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ระยะที่ห้า ในระยะยาวได้มีการจัดตั้งพื้นที่ด้านตะวันออกสุดของนิคมฯ นี้ ซึ่งเชื่อมโยงกับ ทางรถไฟภาคกลางให้เป็นพื้นที่หลักในการสำรองเป็นพี้นที่การพัฒนาในระยะยาว

แผนการดำเนินงาน

           นิคมฯ นี้ กำหนดแผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เช่น ระยะสั้นมีการขยายพื้นที่การลงทุนจากปัจจุบัน

(ปี 2009) เปิดใช้พื้นที่และให้บริการแก่นักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุน ในนิคมฯ แล้ว ตารางกิโลเมตร ภายในสิ้นปี2009 จะเพิ่มเป็น 10 ตารางกิโลเมตร สำหรับแผนฯ ระยะกลาง (5-10 ปีจะเปิดเป็นพื้นที่ให้บริการครบวงจร ซึ่งมณฑลยูนนานมีนโยบายการลงทุนกำหนดให้มีสาธารณูปโภคสมบูรณ์พร้อมภายใน ปี ได้แก่ ไฟฟ้า น้ำประปา และสนามบิน สำหรับระยะยาวจะเปิดให้บริการเต็มพื้นที่นิคมฯ

           ปัจจุบันมีการดำเนินธุรกิจใน

กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ สินค้าเกี่ยวกับชีวภาพ เภสัชกรรม สิ่งแวดล้อม สินค้าไฮเทค (วัตถุดิบใหม่ วัสดุก่อสร้างใหม่อิเล็กทรอนิกส์ (ซอฟแวร์และการเกษตร

ส่วนหนึ่งของอาคารและพื้นที่ที่ของบริษัท

LongRun Group (China) Co.,Ltd. ภายในนิคมฯ 5

Presenter

เอ้า

กิติมศักดิ์ (ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัท LongRun Group (China) Co.,Ltd. เชียวนะ ...หนึ่ง..สอง..สาม..แชะ

           Presenter

ของบริษัท LongRun Group (China) Co.,Ltd. ตัวจริง กำลังอธิบายผลิตภัณฑ์ยาหลายขนาน ของบริษัทฯ ที่เห็นในมือนั่นคือ ยาอมผลิตจากสมุนไพรจีน ชิม ชิมดูแล้ว รสชาดเหมือนมะขอมป้อมบ้านเราเลย ชุ่มคอดีเหมือนกัน 6

ผลิตภัณฑ์ยาหลากหลายมีให้เลือกชมภายในห้องแสดงตัวอย่างสินค้าของ บริษัทฯ มีทั้งยาบำรุง และยารักษาโรค

7

หลังจากเยี่ยมชม บริษัทฯ แล้วก็มาชักภาพกันอีกครั้ง ใครเป็นใคร ดูกันเองก็แล้วกันค่ะ

นโยบายด้านการลงทุน

 

           นักลงทุนทุกราย ทุกชาติต่างได้รับสิทธิประโยชน์ในการลงทุนเท่าเทียมกัน เกือบทุกอุตสาหกรรม ยกเว้นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลยูนนานให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยกำหนดเงื่อนไขว่าต้องเป็น New and High-Tech 8

และมีระยะเวลาดำเนินการไม่น้อยกว่า

10 ปี จะได้รับการยกเว้นภาษีในช่วง ปีแรกที่กิจการมีกำไร และได้รับการลดหย่อนในปีต่อไปจาก 33% เหลือ15% หากผลิตเพื่อส่งออกมากกว่า 70% จะลดลงเหลือ 10% เป็นต้น

           2.

เทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยีในนิคมฯ มี ทาง ได้แก่ มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาจากฮ่องกงและเซิ่นเจิ้น และนักลงทุนจากต่างประเทศนำเข้ามา

           3.

แรงงาน ในมณฑลยูนนานมีค่าจ้างแรงงานถูกประมาณ 2,600 บาทต่อเดือน รวมทั้งมีการเตรียมบุคลากรจากหลายทาง อาทิ ภาครัฐจัดให้นครคุนหมิงเป็นศูนย์กลางในการฝึกอบรม/เตรียมแรงงาน บุคลากรให้ได้มาตรฐานก่อนเข้ามาทำงาน การขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยให้พัฒนา/ผลิตบุคลากรในสายงานที่ต้องการ ประกาศรับสมัครจากนักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยในสายวิชาชีพที่ต้องการ บริษัทที่ลงทุนแต่ละ สายงานจะนิยมหาพนักงานหรือวิศวกรมาเอง รวมทั้งพนักงาน ผู้บริหารส่วนใหญ่ได้รับการอบรมจากหน่วยงานของนครคุนหมิง จึงทำให้นิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ประกอบไปด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งการเตรียมบุคลากรเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนด้วยโดยวิธีการอื่นก็คือ การจัดให้มีการไปศึกษาดูงานเป็นหมู่คณะ โดยแต่ละฝ่าย แต่ละคณะจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน แต่เดินทางร่วมกันเพื่อให้แต่ละกลุ่มบรรลุเป้าหมายของตนเอง

           4.

การคมนาคมและการขนส่ง มีทั้งทางถนน และทางรถไฟ ซึ่งเชื่อมโยงจากนิคมฯ นี้ ไปยังตัวเมืองนครคุนหมิง ฝั่งตะวันออกของเมืองเช็งกอง และทางใต้ของเมืองจินเช็ง (Jincheng) ซึ่งจะทำให้การจราจรและการขนส่งมีความสะดวกมากขึ้น ปัจจุบันนี้ การขนส่งจากไทยไปมณฑลยูนนาน มีดังนี้ ทางอากาศ เป็นช่องทางที่สะดวกที่สุด โดยผ่านเที่ยวบินสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-แคว้นสิบสองปันนา ซึ่งยูนนานมีสนามบินพาณิชย์ทั่วมณฑลรวม 19 แห่ง สนามบินนานาชาติที่สำคัญ คือ Wujiaba ในนครคุนหมิง ทางน้ำ โดยผ่าน แม่น้ำโขงจากท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ไปยังพม่า ลาว สู่จีน (ท่าเรือจิ่งหงและทางบก โดยใช้เส้นทางถนน R3W (R3B) (แม่สาย ท่าขี้เหล็ก เชียงตุง คุนหมิงผ่านเมียนม่า และเส้นทางถนน R3E (R3A) (เชียงของ – ห้วยทราย หลวงน้ำทา บ่อเต็น-คุนหมิงผ่าน สปป.ลาว

           5.

การบริการ นิคมฯ นี้ได้รับรางวัลสำนักงานบริการ One stop service ซึ่งได้ให้บริการแก่ นักลงทุน ในด้านการอนุมัติการลงทุน การบริการโครงการเต็มรูปแบบ อาทิ การขนส่งสินค้าจะมี เจ้าหน้าที่ศุลกากร เข้ามาประจำเพื่ออำนวยความสะดวกในนิคมฯ และลดขั้นตอนการผ่านด่านให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น เป็นต้น ดังคำขวัญที่ว่าสถาบันเล็ก บริการที่ดี” (small institutions, good services) มีความมุ่งมั่นในความ ท้าทายและการฝ่าฟันเพื่อที่จะสร้างการลงทุนระดับนานาชาติ ดึงดูดการทำธุรกิจ ให้ความมั่นใจแก่ นักลงทุน ปกป้องคุ้มครองธุรกิจ และทำให้เกิดประโยชน์ในธุรกิจ” โดยผลิตผลที่ได้จะขายในประเทศหรือส่งออกขึ้นอยู่กับ ผู้มาลงทุน

           6.

วัตถุดิบ ในมณฑลยูนนานซึ่งเป็นที่ตั้งนิคมฯ นี้ มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มาก เป็นอันดับ ของจีน(แร่ต่าง ๆ กว่า 150 ชนิด แหล่งน้ำ ป่าไม้ ฯลฯ9

ภาพเกียรติบัตรที่แสดงการได้รับรางวัลด้านสำนักงานบริการ

One stop service ซึ่งได้ให้บริการแก่นักลงทุนในนิคมฯ

ปัญหาและอุปสรรคด้านการลงทุน

           สำหรับข้อจำกัดหรืออุปสรรคสำหรับการลงทุนในนิคมฯ นี้ พอมีอยู่บ้าง ได้แก่ การใช้ภาษาจีนกลางเป็นภาษาราชการ ไม่นิยมใช้ภาษาอังกฤษ ระบบกฎหมายค่อนข้างซับซ้อน การขาดแคลนข้อมูลเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ การละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะ การลอกเลียนแบบและปลอมแปลงสินค้า ความล่าช้าเกี่ยวกับประเด็นการเวนคืนที่ดินจากประชาชน เพราะบางแห่งเป็นที่พักอาศัยของชาวบ้านและเป็นแหล่งชุมชน รวมทั้งนักลงทุนไทยควรให้ความระมัดระวังและตรวจสอบ ความน่าเชื่อถือของผู้ร่วมทุนชาวจีนก่อน

แนวโน้มการลงทุนในอนาคต

           แนวโน้มการลงทุนในอนาคต ภาครัฐมีนโยบายให้การส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ โดยให้เป็นไปตามนโยบายของวิทยาการสมัยใหม่ เช่น วิทยาการในการใช้ยาจีน และแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคเอดส์ หรือโรคต่าง ๆ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์

(Software) การแปรรูปสินค้าเกษตร (ผัก ผลไม้ อาหารแช่แข็งธุรกิจเครื่องบำบัดน้ำเสีย (ระบบช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม)

ข้อคิดเห็น

           จะเห็นได้ว่าจีนพยายามผลักดันให้ทุกพื้นที่ของประเทศมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ แม้จะเป็นพื้นที่ที่ไม่ทางออกทะเลอย่างนครคุนหมิงก็ตาม ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคอยู่บ้างในการติดต่อทางการค้า การขนส่งสินค้า แต่ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากรัฐบาลจีนมีนโยบายที่เข้มแข็ง ชัดเจน ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และมีแผนพัฒนายูนนานให้เป็นเมืองหน้าด่านของจีนตามนโยบาย

มุ่งตะวันตก” ซึ่งมุ่งพัฒนาเขตพื้นที่ในภาคตะวันตกของประเทศ (รวมยูนนานให้เจริญเท่าเทียมกับเขตพื้นที่ตะวันออก ของประเทศ ตลอดจนภาครัฐจะเป็นผู้ริเริ่ม ผู้นำ และสนับสนุนให้กับภาคเอกชน ตลอดจนแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการลงทุนให้กับภาคเอกชนที่มีการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ตรงข้ามกับประเทศไทยที่ภาคเอกชนต้องเป็นผู้ริเริ่ม และออกไปเผชิญความเสี่ยงเมื่อไปลงทุนในต่างประเทศด้วยตนเอง นอกจากนี้ จีนยังให้ความสำคัญในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคนี้ ภายใต้กรอบต่าง ๆ อาทิ กรอบอนุภูมิภาค10

           ลุ่มน้ำโขง

           ดังนั้น ไทยในฐานะที่เป็นประเทศคู่ค้ากับจีน และมีนักธุรกิจไทยได้ไปลงทุนในยูนนานเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ได้แก่ โรงงานอาหารสัตว์ โรงงานเครื่องประดับ ทำรองเท้า ทำซีเมนต์ การธนาคาร และอื่น ๆ คงจะดีไม่น้อยหากภาครัฐเล็งเห็นความสำคัญของการลงทุนของไทยในต่างประเทศและสนับสนุน ช่วยเหลือแก่ภาคเอกชน นักลงทุนของไทยเพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ นับเป็นการสร้างขวัญกำลังอย่างดีแก่นักลงทุนไทยจะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวอย่างที่บางรายเคยประสบปัญหาเมื่อไปลงทุนทำธุรกิจในต่างประเทศ รวมทั้งไทยยังเป็นประเทศสมาชิกภายใต้กรอบดังกล่าวข้างต้นเช่นเดียวกับจีน จึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ รวมทั้งผลักดันและพัฒนาปัจจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมระหว่างประเทศสมาชิกอย่างจริงจัง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของไทยในภูมิภาคนี้ต่อไปในอนาคต

(Greater Mekong Subregion: GMS) ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Agreement: ACFTA) และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้จีนมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=4416

อัพเดทล่าสุด