เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม โรงงาน อุตสาหกรรมไทยปี 53 ไปต่อหรือเสมอตัว


1,037 ผู้ชม


นับจากย่างเข้าศักราชใหม่ 2553 ปีเสือดุภาพรวมของเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวได้แล้วอย่างชัดเจน หลายตัวชี้วัดมีสัญญาณสดใส รวมทั้ง IMFออกมาประเมินว่าปีนี้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.9% ขณะที่ประเทศไทยจะขยายตัวได้ 4.7% สำหรับภาคอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ประเมินอัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมปีนี้ว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) จะขยายตัวระหว่าง 6-8% นับเป็นสัญญาณที่ดีเป็นอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม เมื่อเหรียญมีสองด้านการประเมินสถานการณ์ต้องมองแบบเผื่อเหลือเผื่อขาดบ้างเป็นธรรมดา สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สศอ.จึงได้ออกบทวิเคราะห์เรื่อง “ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 2553 : ผลกระทบต่อมูลค่าการผลิต การจ้างงาน กำไรธุรกิจและรายได้ของปัจจัยการผลิต” เพื่อเจาะลึกถึงทิศทางการขยายตัวครั้งนี้จะส่งผลอย่างไรต่อภาคอุตสาหกรรมและเพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมว่าส่งผลกระทบอย่างไร มูลค่าผลผลิตในแต่ละสินค้า รวมถึงความสามารถในการจ้างงาน ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ มูลค่าของปัจจัยการผลิต และรายได้ของภาครัฐ

โดยในการศึกษาได้แบ่งสมมติฐานออกเป็น กรณี ดังนี้


 

กรณีที่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในปี 2553 ขยายตัว 6% จากปี 2552

กรณีที่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในปี 2553 ขยายตัว 7% จากปี 2552

กรณีที่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในปี 2553 ขยายตัว 8% จากปี 2552


 

ซึ่งจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ข้างต้น ผลการศึกษาที่ได้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้


 

1. การเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อมูลค่าผลผลิต

ผลการศึกษาในส่วนนี้เป็นการแสดงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อมูลค่าผลผลิต โดยจากการศึกษาพบว่าถ้าMPI ในปี 2553 ขยายตัวระหว่าง 6-8% จากปี 2552 จะส่งผลให้มูลค่าผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 322,866 - 430,488 ล้านบาท หรือมีอัตราการขยายตัวอยู่ในช่วง 3.9% - 5.2% ดังแสดงในตารางที่ 1


 

ตารางที่ 1 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อมูลค่าผลผลิต

กิจกรรม

มูลค่าผลผลิตที่เปลี่ยนแปลง

(ล้านบาท)

อัตราการขยายตัว (%)

กรณีที่ 1

กรณีที่ 2

กรณีที่ 3

กรณีที่1

กรณีที่2

กรณีที่3

มูลค่าผลผลิตอุตสาหกรรม

322,866

376,677

430,488

3.9

4.5

5.2

ที่มา สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เมื่อพิจารณาผลจากการเปลี่ยนแปลงของ MPI เป็นรายสาขา พบว่า สาขาที่มีมูลค่าผลผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม รองลงมาคือการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ ตามลำดับ โดยมีมูลค่าผลผลิต 21,335 - 28,447 ล้านบาท, 19,785 - 26,379 ล้านบาท และ 17,082 - 22,776 ล้านบาท ตามลำดับ และมีอัตราการขยายตัวอยู่ในช่วง 3.4-4.5%, 5.1-6.9% และ 3.9-5.2% ตามลำดับ ดังตารางที่ 2


 

ตารางที่ 2 ผลกระทบต่อมูลค่าผลผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด และน้อยที่สุด อันดับแรก

กิจกรรม

มูลค่าผลผลิตที่เปลี่ยนแปลง(ล้านบาท)

อัตราการขยายตัว(%)

กรณีที่ 1

กรณีที่ 2

กรณีที่ 3

กรณีที่1

กรณีที่2

กรณีที่3

มูลค่าผลผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด อันดับ

การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม

21,335

24,891

28,447

3.4

3.9

4.5

การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์

19,785

23,082

26,379

5.1

6.0

6.9

การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ

17,082

19,929

22,776

3.9

4.5

5.2

มูลค่าผลผลิตเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด อันดับ

การผลิตหัวรถจักรของรถไฟและรถราง และรถที่เดินบนราง

22

25

29

1.6

1.9

2.1

การผลิตผลิตภัณฑ์จากดินชนิดไม่ทนไฟ ซึ่งใช้กับงานก่อสร้าง

25

30

34

0.1

0.1

0.2

การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต

63

74

84

0.2

0.2

0.3

ที่มา สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม


 

2. การเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อความสามารถในการจ้างงาน

ส่วนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อความสามารถในการจ้างงานนั้น จากการศึกษาพบว่าถ้า MPI ในปี 2553ขยายตัวระหว่าง 6-8% จากปี 2552 จะส่งผลให้ความสามารถในการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป 142,000 190,000 คน หรือมีอัตราการขยายตัวอยู่ในช่วง 2.6% – 3.4% ดังแสดงในตารางที่ 3


 

ตารางที่ 3 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อความสามารถในการจ้างงาน

กิจกรรม

ความสามารถในการจ้างงาน (คน)

อัตราการขยายตัว (%)

กรณีที่ 1

กรณีที่ 2

กรณีที่ 3

กรณีที่1

กรณีที่2

กรณีที่3

ความสามารถในการจ้างงานภาคอุตสาหกรรม

142,000

166,000

190,000

2.6

3.0

3.4

ที่มา สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม


 

เมื่อพิจารณาผลจากการเปลี่ยนแปลงของ MPI เป็นรายสาขา พบว่า สาขาที่มีผลทำให้ความสามารถในการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ รองลงมาคือ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะประดิษฐ์ ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์ ตามลำดับ โดยมีความสามารถในการจ้างงานเพิ่มขึ้นประมาณ12,570 - 16,760 คน 10,570 - 14,100 คน และ 8,900 – 11,860 คน ตามลำดับ และมีอัตราการขยายตัวอยู่ในช่วง 3.8-5.0 %, 2.0-2.7%และ 2.6-3.5% ตามลำดับดังตารางที่ 4


 

ตารางที่ 4 ผลกระทบต่อความสามารถในการจ้างงานของอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด และน้อยที่สุด อันดับแรก

กิจกรรม

ความสามารถในการจ้างงาน(คน)

อัตราการขยายตัว(%)

กรณีที่ 1

กรณีที่ 2

กรณีที่ 3

กรณีที่1

กรณีที่2

กรณีที่3

ความสามารถในการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด อันดับ

การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์

12,570

14,670

16,760

3.8

4.38

5.0

การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์

10,570

12,340

14,100

2.0

2.39

2.7

การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะประดิษฐ์ ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์

8,900

10,380

11,860

2.6

3.02

3.4

ความสามารถในการจ้างงานเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด อันดับ

กิจกรรม

ความสามารถในการจ้างงาน(คน)

อัตราการขยายตัว(%)

กรณีที่ 1

กรณีที่ 2

กรณีที่ 3

กรณีที่1

กรณีที่2

กรณีที่3

การผลิตผลิตภัณฑ์จากดินชนิดไม่ทนไฟ ซึ่งใช้กับงานก่อสร้าง

0.02

0.03

0.03

0.1

0.09

0.1

การผลิตอากาศยานและยานอวกาศ

0.03

0.03

0.04

2.7

3.05

3.4

การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์

0.07

0.08

0.09

1.9

2.25

2.5

ที่มา สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม


 

3. การเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจพบว่า ถ้า MPI ในปี 2553 ขยายตัวระหว่าง6-8% จากปี 2552 จะส่งผลให้มูลค่ากำไรธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป 47,542 63,390 ล้านบาท หรือมีอัตราการขยายตัวระหว่าง 6.8 – 9.0% ดังแสดงในตารางที่ 5


 

ตารางที่ ผลกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อมูลค่ากำไรธุรกิจ

กิจกรรม

มูลค่ากำไรธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง (ล้านบาท)

อัตราการขยายตัว (%)

กรณีที่ 1

กรณีที่ 2

กรณีที่ 3

กรณีที่1

กรณีที่2

กรณีที่3

มูลค่ากำไรธุรกิจภาคอุตสาหกรรม

47,542

55,466

63,390

6.8

7.9

9.0

ที่มา สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม


 

4. การเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อรายได้ของปัจจัยการผลิต

ผลการศึกษาในส่วนนี้เป็นการแสดงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อรายได้ของปัจจัยการผลิต จากการศึกษาพบว่า ถ้า MPI ในปี 2553 ขยายตัวระหว่าง 6-8% จากปี 2552 จะส่งผลให้รายได้ของแรงงานเปลี่ยนแปลงไป 35,462 - 47,283 ล้านบาท หรือมีอัตราการขยายตัวอยู่ในช่วง 1.7 – 2.3% และรายได้


 


 


 

ของทุน จะอยู่ที่ช่วง 88,123 - 117,497 ล้านบาท หรือส่งผลให้การอัตราการขยายตัวอยู่ที่ประมาณ 2.1 – 2.7 % ดังแสดงในตารางที่6


 

ตารางที่ 6 ผลกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อรายได้ของปัจจัยการผลิต

กิจกรรม

มูลค่าผลผลิตที่เปลี่ยนแปลง

(ล้านบาท)

อัตราการขยายตัว (%)

กรณีที่ 1

กรณีที่ 2

กรณีที่ 3

กรณีที่ 1

กรณีที่ 2

กรณีที่ 3

รายได้ของแรงงาน

35,462

41,373

47,283

1.7

2.0

2.3

รายได้ของทุน

88,123

102,810

117,497

2.1

2.4

2.7

ที่มา สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

5. การเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อรายได้ของรัฐ

ส่วนนี้เป็นการแสดงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อรายได้ของรัฐบาลจากการศึกษาพบว่า ถ้า MPI ในปี 2553ขยายตัวระหว่าง 6-8% จากปี 2552 จะส่งผลให้รายได้ของรัฐเพิ่มขึ้น 24,054 ถึง 32,072 ล้านบาท หรือมีอัตราการขยายตัวอยู่ในช่วงระหว่าง1.5 – 2.1% ดังแสดงในตารางที่ 7


 

ตารางที่ 7 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ MPI ที่ส่งผลต่อรายได้ของรัฐ

กิจกรรม

มูลค่าผลผลิตที่เปลี่ยนแปลง

(ล้านบาท)

อัตราการขยายตัว (%)

กรณีที่ 1

กรณีที่ 2

กรณีที่ 3

กรณีที่ 1

กรณีที่ 2

กรณีที่ 3

รายได้ของภาครัฐ

24,054

28,063

32,072

1.5

1.8

2.1

ที่มา สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม


 

จากบทวิเคราะห์เรื่อง “ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 2553: ผลกระทบต่อมูลค่าการผลิต การจ้างงาน กำไรธุรกิจ และรายได้ของรัฐ” คงทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ว่าในปีเสือดุ ภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมจะก้าวไปในทิศทางใด แนวโน้มการขยายตัวจะไปต่อหรือว่าอยู่แบบเสมอตัว ย่อมขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกฝ่ายที่ต้องช่วยกันยับยั้งปัจจัยลบที่จะมากระทบบรรยากาศของการขยายตัวครั้งนี้ ภาคเอกชนเองเมื่อเห็นทิศทางก้าวไปก็ต้องหันมามองการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีคุณภาพอย่าได้เกิดภาพซ้ำอดีต
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=5014

อัพเดทล่าสุด