เศรษฐกิจ สร้างสรรค์ การพัฒนาเศรษฐกิจ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) คืออะไร


1,041 ผู้ชม


เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) คืออะไร

            นิยามของคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)” ยังไม่มีการกำหนดไว้เป็นหนึ่งเดียว เพราะเป็นแนวคิดในเชิงจิตวิสัย (Subjective) ที่อยู่ระหว่างการวางรูปร่างให้ชัดเจน แต่ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างนิยามที่ให้ไว้โดย UNCTAD ในหนังสือชื่อ “Creative Economy Report 2008” ว่า

 v          เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy) เป็นแนวคิดใหม่ที่มีพื้นฐานมาจากทรัพย์สินที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดการเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจได้อย่างมีศักยภาพ

v          ช่วย เร่งรัดให้เกิดการสร้างรายได้ การจ้างงาน และการส่งออก ในขณะเดียวกัน ได้รวมเอามิติทางด้านสังคม ความแตกต่างทางวัฒนธรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เข้าไว้ด้วยกัน

v          รวมเอามิติทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคมที่มีผลกระทบกับเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา และจุดมุ่งหมายทางด้านการท่องเที่ยว

v          เป็น กลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้องค์ความรู้เป็นพื้นฐาน ประกอบกับมิติทางการพัฒนา และความเชื่อมโยงตามขวางทั้งในระดับมหภาค และระดับจุลภาคที่มีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

v          เป็นทางเลือกของการพัฒนาที่จะมีความเป็นไปได้และเหมาะสม ก็ต่อเมื่อมีนโยบายแบบสหวิทยา (Multidisciplinary) ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ รองรับ พร้อมกับการมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นองค์รวม

v          หัวใจของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy) คือ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative industries)

            นอกจากนั้น นาย John Howkins ได้ให้ความหมายของคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy)” ไว้ในการให้สัมภาษณ์ลงในบทความชื่อ “Understanding the Engine of Creativity in a creative Economy : An Interview with John Howkins” โดย Donna Ghelfi เมื่อปี ค.ศ. 2005 ว่า เป็นเศรษฐกิจที่ปัจจัยการผลิต (Input) และผลผลิต (Output) อยู่ในรูปของความคิด (Ideas) เป็น เศรษฐกิจหรือสังคมที่ผู้คนให้ความห่วงใย คิดเกี่ยวกับความสามารถของตนเองในการที่จะมีความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นเศรษฐกิจที่ผู้คนต่างมีกิจกรรม อาทิ การพูดคุยสนทนากันระหว่างกลุ่มเพื่อนฝูง พร้อมทั้งนั่งจิบไวน์ ตื่นตอนตี 4 ทุกเช้า แล้วคิดว่าตัวเองจะมีความคิดอะไรที่สามารถนำมาปฎิบัติได้จริงบ้าง ไม่ใช่เป็นความคิดแบบเพ้อฝัน แต่เป็นแรงผลักดันในอาชีพ การงาน สถานะ และบุคลิกลักษณะของตน

            “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy)” จะประกอบด้วย การจัดการผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพวงจากแนวคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในการจัดการแต่ละครั้งอาจมีมูลค่าที่เป็นส่วนประกอบกัน 2 อย่างคือ มูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญา หรือทรัพย์สินที่แตะต้องไม่ได้ (Intangible & intellectual property)และมูลค่าทางกายภาพที่เป็นตัวลำเลียงทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ออกไปสู่มือผู้บริโภค หรือผู้ใช้ประโยชน์ (The physical carrier or platform) ใน แต่ละอุตสาหกรรม สัดส่วนของมูลค่าทั้งสองมีความแตกต่างกันไป เช่น ดิจิตอลซอฟแวร์ มูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาจะมีค่าสูงกว่ามูลค่าทางกายภาพ เป็นต้น
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=5657

อัพเดทล่าสุด