อุตสาหรกรรม สร้างสรรค์ การพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative industries)


1,403 ผู้ชม


อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative industries) หัวใจของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

จากนิยามของ UNCTAD ระบุไว้ว่า “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative industries) คือหัวใจของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy)” เนื่องจาก ขอบเขตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ถูกกำหนดได้โดยขอบเขต จำนวน และขนาดของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แต่นิยามของอุตสาหกรรมประเภทนี้ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียง และหาข้อสรุปเดียวกันไม่ได้ จึงมีความพยายามที่จะกำหนดนิยามของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไว้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแนวคิดหรือรูปแบบที่UNCTAD แบ่งแยกไว้ 4 รูปแบบคือ  

v          UK DCMS Model เป็นรูปแบบที่ใช้ในยุค ค.ศ.1990 ในสหราชอาณาจักร เพื่อปรับสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษให้ขับเคลื่อนโดยใช้การสร้างสรรค์ (Creativity) และนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งได้ให้ความหมายของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไว้คือ อุตสาหกรรมที่ต้องการความคิดที่สร้างสรรค์ ทักษะ พรสวรรค์ และความสามารถพิเศษ ที่มีความเป็นไปได้ในการสร้างงาน และความมั่งคั่ง จากการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่

v          Symbolic Texts Model เป็นรูปแบบที่มีขึ้นในยุโรป โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรช่วงปี ค.ศ. 2002  แนว คิดนี้มองศิลปะชั้นสูง และได้รับความนิยมว่า เปรียบเสมือนความล้าหลังของกลุ่มผู้ดำเนินธุรกิจทางการเมืองและทางสังคม ดังนั้น จึงเปลี่ยนเข็มมาให้ความสนใจกับเรื่องของวัฒนธรรมที่ทันสมัยแทน ซึ่งกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแสดงออกมาผ่านทาง ผลผลิตอุตสาหกรรม การกระจายและการบริโภคข้อความที่เป็นสัญญลักษณ์ ที่มีการส่งต่อไปโดยเครื่องมือสื่อที่หลากหลาย เช่น ฟิล์มภาพยนตร์ การกระจายเสียง และข่าวสารต่างๆ เป็นต้น

v          Concentric Circles Model รูป แบบนี้มาจากคำกล่าวที่ว่า มูลค่าทางวัฒนธรรมที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมทำให้เกิดคุณลักษณะที่มี ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดของอุตสาหกรรมนั้นๆ แนวคิดเชิงสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นในศิลปะการสร้างสรรค์หลัก ซึ่งอยู่ในรูปของเสียง ข้อความ และภาพ ที่มีการถ่ายทอดออกไปในลักษณะที่เป็นชั้นวงกลมซ้อนกัน ยิ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางของชั้นวงกลมนี้มากเท่าไร นั่นหมายถึงสัดส่วนของความเป็นวัฒนธรรมต่อองค์ประกอบทางการค้าลดลงมากเท่า นั้น ในยุโรปนำแนวคิดนี้มาใช้ในการแจกแจงความเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของการ ศึกษาสำหรับ EU

v          WIPO Copyright Model รูป แบบนี้กำหนดขึ้นบนพื้นฐานของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรง และทางอ้อมในการสร้างสรรค์ การผลิต การกระจายข่าว และการกระจายงานที่ได้รับลิขสิทธิ์ จุดเน้นจะอยู่ตรงทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นตัวทำให้เกิดการสร้างสรรค์ที่นำไป สู่การผลิตสินค้าและบริการขึ้นมา ความแตกต่างได้ถูกทำขึ้นระหว่างอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญา ได้จริง และอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต่อการส่งสินค้าและบริการไปยังผู้บริโภค 

โดย UNCTAD ยังได้ให้คำนิยามของ อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Industries) ว่า ประกอบด้วย

?        เป็นวัฎจักรของการสร้างสรรค์ การผลิต การกระจายสินค้าและบริการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์  และทุนทางปัญญา (Intellectual capital) เป็นวัตถุดิบขั้นต้น

?        รวม กันเป็นกลุ่มกิจกรรมบนพื้นฐานความรู้ ที่เน้น (แต่ไม่จำกัด) ไปที่การใช้ศิลปะในการสร้างรายได้จากการค้าและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

?        ประกอบ ไปด้วย ผลิตภัณฑ์ที่แตะต้องได้ และบริการทางศิลปะ หรือทางปัญญาที่แตะต้องไม่ได้ โดยมีเนื้อหาในเชิงสร้างสรรค์ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และจุดมุ่งหมายทางการตลาดร่วมด้วย

?         เปรียบเสมือนทางตัดกันระหว่าง ความเป็นศิลปะ สาขาบริการ และสาขาอุตสาหกรรม ซึ่งรวมกันเป็นสาขาใหม่ที่มีพลวัตรในการค้าโลก

จากแนวคิดและรูปแบบที่แตกต่างกันดังกล่าว ทำให้การจำแนกประเภทของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มีความแตกต่างกันไป ดังนี้

ระบบการจำแนกประเภทของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่มาจากรูปแบบที่แตกต่างกัน 4 รูปแบบ 

UK DCMS Model

Symbolic Texts Model

Concentric Circles Model

WIPO Copyright Model

UNDP

Advertising

Architecture

Art and antiques market

Crafts

Design

Fashion

Film and video

Music

Performing arts

Publishing

Software

Television and radio

Video and computer games

Advertising

Film

Internet

Music

Publishing

Television and radio

Video and computer games

Peripheral cultural industries

Creative arts

Borderline cultural industries

Consumer electronics

Fashion

Software

Sport

 

Literature

Music

Performing arts

Visual arts

Other core cultural industries

Film

Museums and libraries

Wider cultural industries

Heritage services

Publishing

Sound recording

Television and radio

Video and computer games

Related industries

Advertising

Architecture

Design

Fashion

 

Advertising

Collecting societies

Film and video

Music

Performing arts

Publishing

Software

Television and radio

Visual and graphic art

Interdependent copyright industries

Blank recording material

Consumer electronics

Musical instruments

Paper

Photocopiers, photographic equipment

Partial copyright industries

Architecture

Clothing, footwear

Design

Fashion

Household goods

Heritage :

Traditional cultural expressions

Arts & crafts

Festival & celebrations

Cultural sites

Archaeological sites

Museums

Libraries

Exhibitions, etc.

Arts :

Visual arts

Painting

Sculpture

Photography & antiques

Performing arts

Live music

Theatre

Dance

Opera

Circus

Puppetry, etc.

Media :

Publishing & printed medias

Books

Press & publication

Audiovisuals

Film

Television

Radio & other broadcasting

Functional creations :

Design

Interior

Graphic

Fashion

Jewelry

Toys

New media

Software

Video games

Digitalized creative content

Creative services

Architectural

Advertising

Cultural & recreational

Creative research & development

Digital & other related creative services

ที่มา รวบรวมจาก “Creative Economy Report 2008” UNCTAD

                ทั้งนี้ ในส่วนของ UNCTAD ได้แบ่งประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.       ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม (Heritage or cultural heritage) เป็น กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และสภาพสังคม เป็นต้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Traditional cultural expression)เช่น ศิลปะและงานฝีมือ เทศกาลงานและงานฉลอง เป็นต้น และกลุ่มที่ตั้งทางวัฒนธรรม (Cultural site) เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด และการแสดงนิทรรศการ เป็นต้น

2.        ประเภทศิลปะ (Arts) เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บนพื้นฐานของศิลปะ และวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ งานศิลปะ (Visual arts)เช่น ภาพวาด รูปปั้น ภาพถ่าย และวัตถุโบราณ เป็นต้น ศิลปะการแสดง (Performing arts) เช่น การแสดงดนตรี การแสดงละคร การเต้นรำ โอเปร่า ละครสัตว์ และการเชิดหุ่นกระบอก เป็นต้น

3.         ประเภทสื่อ (Media) เป็นกลุ่มสื่อผลิตงานสร้างสรรค์ที่สื่อสารกับคนกลุ่มใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ งานสื่อสิ่งพิมพ์ (Publishing and printed media) เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ และสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ เป็นต้น และงานโสตทัศน์ (Audiovisual) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ และการออกอากาศอื่นๆ เป็นต้น

4.          ประเภท Function creation เป็นกลุ่มของสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มการออกแบบ (Design) เช่น การออกแบบภายใน กราฟฟิค แฟชั่น อัญมณี และของเด็กเล่น เป็นต้น กลุ่มสื่อประยุกต์  (New media) ได้แก่ ซอฟต์แวร์วิดีโอเกมส์ และผลิตภัณฑ์ดิจิทัล เป็นต้น และกลุ่มบริการทางความคิดสร้างสรรค์ (Creative services) ได้แก่ สถาปนิก โฆษณา วัฒนธรรม และนันทนาการ งานวิจัยและพัฒนา และบริการอื่นๆที่เกี่ยวกับข้องกับดิจิทัล และความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=5775

อัพเดทล่าสุด