การทดสอบ การตั้งครรภ์
คำถาม
เป็นไปได้หรือไม่ที่การตรวจของแพทย์และผลของการทดสอบให้ผลว่าไม่ตั้งครรภ์ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์จริง
เป็นไปได้ เช่น การตรวจค้นหาอาการแสดงของแพทย์ เพราะอาการหลายอาการมีสาเหตุจากโรคและความผันแปรอื่น ๆ ของร่างกาย ความแม่นยำในการทดสอบก็เช่นกัน มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ เช่น ระยะเวลาที่ทดสอบ ชนิดของการทดสอบที่เลือกใช้และเทคนิคการปฏิบัติในการทดสอบ
ปัจจุบันการทดสอบการตั้งครรภ์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นชุดทดสอบสำเร็จรูปหลากหลายชนิด เช่น เป็นแถบสี เม็ดยา หรือน้ำยาสำเร็จรูป แต่ละวิธีจะมีข้อบ่งใช้และข้อจำกัดในการทดสอบที่ผู้ใช้ควรทำความเข้าใจก่อนเลือกใช้ แต่โดยหลักการพื้นฐานทั่วไปเราจัดแบ่งการทดสอบการตั้งครรภ์เป็น 2 รูปแบบ คือ
การทดสอบด้วยตนเอง
เป็นการทดสอบปัสสาวะของผู้ที่สงสัยว่าจะตั้งครรภ์ด้วยชุดทดสอบสำเร็จรูปที่วางจำหน่ายทั่วไป วิธีนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายในประเทศทางตะวันตก และเริ่มมีการนำเข้าประเทศไทยบ้าง หลักการทดสอบเป็นหลักการเดียวกับการทดสอบในโรงพยาบาลและในคลินิกแพทย์ โดยการตรวจสอบหาฮอร์โมนเอสซีจี (HCG) ในปัสสาวะ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะมีการสร้างโดยเซลล์ตัวอ่อนของมนุษย์
ดังนั้นจึงสามารถตรวจสอบได้ทันทีที่มีการปฏิสนธิ และเติบโตของเซลล์ตัวอ่อนในมดลูก แต่ปริมาณของฮอร์โมนนี้จะถูกขับออกมาในปัสสาวะแม่ เมื่อมีปริมาณมากพอในระดับหนึ่ง โดยทั่วไปจะประมาณวันที่ 14 ของการปฏิสนธิ คือทันทีที่รอบเดือนไม่มาตามกำหนด ทั้งนี้การตรวจสอบฮอร์โมนเอชซีจีในปัสสาวะ ยังมีความคลาดเคลื่อนได้สูง
ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ แต่ระดับฮอร์โมนในบางคนไม่มากพอที่จะตรวจพบได้พบจากการทดสอบ คือ ให้ผลการทดสอบเป็นลบอยู่ในระยะเวลาหนึ่ง ความแม่นยำของชุดทดสอบด้วยตนเองนี้ยังขึ้นอยู่กับราคาและบริษัทผู้ผลิต และโดยทั่วไปจะมีความน่าเชื่อถือได้เฉพาะการทดสอบที่ให้ผลบวก คือ ผลที่สอดคล้องกับการตั้งครรภ์ ข้อดีของชุดทดสอบนี้คือ สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง
ในกรณีที่ท่านทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตนเองให้ผลลบ ท่านควรจะต้องทำการตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และถ้าท่านยังไม่มีประจำเดือนมาตามกำหนด ท่านต้องรับรับการตรวจจากแพทย์ โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ การทดสอบของท่านให้แพทย์ทราบด้วย เช่น ชุดทดสอบที่ใช้ วันเวลาที่ท่านทดสอบ
ข้อแนะนำประการหนึ่งในการทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง คือ ไม่ว่าผลการทดสอบจะเป็นบวกหรือลบ ท่านควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์เช่นกัน ในกรณีที่ผลการทดสอบเป็นบอก การตรวจจะช่วยเพิ่มความมั่นใจต่อการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ และเป็นการตรวจร่างกายเพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ สามารถขจัดปัญหาที่ไม่พึงประสงค์บางประการได้แต่เนิ่นๆ ในกรณีที่ผลการทดสอบเป็นลบ แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุต่อไป
การตรวจทางห้องทดลอง
โดยหลักการเดียวกับการทดสอบด้วยตนเองคือ เป็นการตรวจวัดหาฮอร์โมนเอชจีซี ในปัสสาวะหรือในเลือด ซึ่งการทดสอบนี้มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 ของการปฏิสนธิ การตรวจทางห้องทดลองจะให้ผลแม่นยำกว่าการทดสอบเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะจนเกิดความชำนาญในการปฏิบัติ
การตรวจทางห้องทดลองนี้ในบางสถานที่ต้องใช้ปัสสาวะตื่นนอนเช้าเป็นครั้งแรกเป็นสิ่งทดสอบ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด มิฉะนั้นท่านจะต้องเสียเวลาในการตรวจซ้ำหรือได้ผลการตรวจที่ผิดพลาด ในปัจจุบันโรงพยาบาลทั่วไป มักจะไม่จำกัด กล่าวคือ ใช้ปัสสาวะในช่วงไหนของวันก็สามารถนำมาตรวจสอบได้
การตรวจเลือด เป็นการตรวจหาระดับ ฮฮร์โมนเอชซีจีเช่นกัน และสามารถตรวจสอบได้เร็ววันขึ้น และสามารถสอบได้เร็ววันขึ้น คือ ภายใน 7 วัน ของการมีการปฏิสนธิ(ยังไม่ถึงกำหนดการมีประจำเดือนครั้งใหม่) และยังสามารถบอกกำหนดวันคลอดได้โดยการเทียบกับค่ามาตรฐานในเลือด แต่การทดสอบด้วยเลือดไม่เป็นที่นิยมใช้ในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ เพราะการตรวจปัสสาวะสามารถใช้ได้ผลที่เท่ากันและสะดวกกว่า การตรวจเลือดจะใช้ในกรณีที่ต้องการเลือดจะใช้ในกรณีที่ต้องการวัดระดับฮอร์โมนที่ละเอียดเพิ่มขึ้นในการวินิจฉัยภาวะผิดปกติของการตั้งครรภ์
การทดสอบการตั้งครรภ์ทุกวิธีจะมีความแม่นยำและเชื่อถือได้ในการทดสอบที่ให้ผลบวก แต่ก็มีโอกาสผิดพลาดในเนื่องจากภาวะร่างกายบางกรณีจะให้ผลการทดสอบเป็นบวกได้เช่นกัน ดังนั้นการตรวจร่างกายและการค้นหาอาการแสดงของการตั้งครรภ์จากการตรวจ จะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการช่วงให้การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ถูกต้องสมบูรณ์ขึ้น เช่น การตรวจดูสีและความนุ่มของปากมดลูกประกอบกับขนาดของมดลูกที่โตขึ้น ซึ่งจะปรากฏอาการในสัปดาห์ที่ 6 ดังนี้เป็นต้น
ในกรณีที่การทดสอบให้ผลลบ การทดสอบซ้ำๆ และการตรวจสอบการมีประจำเดือนเป็นสิ่งที่พึงกระทำ ถ้าประจำเดือนยังขาดหายไปในขณะที่ผลการทดสอบยังให้ผลลบเช่นเดิม การตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นข้อสงสัยที่คุณควรได้รับการตรวจจากแพทย์โดยละเอียด
มีบ้างบางรายที่ผลการตรวจร่างกายและการทดสอบการตั้งครรภ์ ไม่สามารถให้ข้อวินิจฉัยการตั้งครรภ์ได้ จนตั้งครรภ์ 6-7 เดือน และบางรายมีอาการแสดงของการตั้งครรภ์ครบถ้วน แต่ไม่สามารถตรวจสอบการตั้งครรภ์ได้จากการตรวจสอบของแพทย์และการตรวจทางห้องทดสอบ
ในกรณีหลังนี้พบว่าสาเหตุของการเกิดอาการเหล่านี้เกิดจากความแปรปรวนทางด้านจิตใจ เช่น มีความต้องการที่จะมีบุตรอย่างมาก ในขณะที่ร่างกายไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หรือความกลัวที่จะตั้งครรภ์ได้ หรือความกลัวที่จะตั้งครรภ์อย่างรุนแรง ซึ่งพบได้บ่อยครั้งที่สตรีสองกลุ่มนี้จะเสาะหาวิธีการตรวจที่ยืนยันความวิตกกังวลของตนอย่างผิด ๆ การช่วยเหลือทางจิตใจที่เหมาะสมเป็นวิธีที่จะแก้ปัญหาได้อย่างถาวร