เนื้อหาเคมี ม.4 เทอม 2 เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต อะตอมต่างๆหน่วยย่อยพื้นฐานที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมี


1,632 ผู้ชม


มุสลิมไทยดอทอคม เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต อะตอมต่างๆหน่วยย่อยพื้นฐานที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมี
info.muslimthaipost.com

เคมี คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร ความสามารถของสสาร การแปรรูปของสสาร และการปฏิสัมพันธ์กับพลังงานและสสารด้วยกันเอง เนื่องจากความหลากหลายของสสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอะตอม นักเคมีจึงมักศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ และการจัดเรียงอะตอมเพื่อรวมตัวกันเป็นโมเลกุล เช่น แก๊ส โลหะ หรือผลึกคริสตัล เคมีปัจจุบันได้ระบุว่าโครงสร้างของสสารในระดับอะตอมนั้นถือเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสสารทุกชนิด

สิ่งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตในโลกมีรูปร่างและโครงสร้างแตกต่างกันมากมาย เช่น พืช สัตว์ ทำให้เราสามารถแยกสิ่งมีชีวิตเป็นชนิดต่างๆ ได้ แต่ว่าถึงแม้จะแตกต่างกัน สิ่วมีชีวิตเหล่านั้นก็ล้วนประกอบขึ้นด้วยหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดเรียกว่า เซลล์ ภายในเซลล์ทุกชนิดมีโครงสร้าง ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของสารเคมีหลายชนิด โมเลกุลของสารเหล่านี้เกิดจากโครงสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุด คืออะตอมธาตุที่พบมากได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจนไนโตรเจน ซึ่งมีการรวมกันเป็นโมเลกุล โมเลกุลบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก เช่น โปรตีนลิพิด คาร์โบไฮเดรตและกรดนิวคลีอิก เป็นต้น ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ต่างกัน

สารต่างๆ ในร่างกายของเรามีโครงสร้างที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โครงสร้างของสารเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของเซลล์หรือไม่ อย่างไร และสารเหล่านี้มีการสลายตัวและมีการรวมตัวกันเป็นสารชนิดใหม่ได้อย่างไร

นักวิทยาศาสตร์มีความสนใจที่จะศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยสารใดบ้าง มากน้อยแค่ไหน จากการศึกษาพบว่าเซลล์ในร่างกายของคนประกอบด้วยสารหลายชนิด และสารเหล่านี้มีปริมาณที่แตกต่างกัน

ในสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน จะมีปริมาณของสารแตกต่างกัน เช่น พืชและสัตว์ก็จะมีปริมาณของสารต่างๆ ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ยังพบว่าสารเหล่านี้ บางประเภทมีธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบและบางประเภทไม่มี นักวิทยาศาสตร์จึงได้จำแนกสารออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารอนินทรีย์ (inorganic substance) เช่น แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส น้ำตาล วิตามิน ลิพิด โปรตีน และกรดนิวคลีอิก เป็นต้น ซึ่งเป็นสารที่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ

แหล่งข้อมูล : school.obec.go.th , th.wikipedia.org


อัพเดทล่าสุด