ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม ประวัติห้องสมุดในประเทศไทย นับแต่อดีตเป็นต้นมา


1,116 ผู้ชม


พัฒนาการของห้องสมุดในประเทศไทย

พัฒนาการของห้องสมุดในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยมีการเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกซึ่งจารึกลงในใบลานไว้ที่
 “หอไตรหรือหอพระไตรปิฎกในวัดวาอารามต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดเก็บหลักศิลาจารึกและวรรณกรรมทางศาสนาโดยเฉพาะอีกด้วย

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีการสร้างหอพระมณเฑียรธรรม”  ขึ้นกลางสระน้ำตรงมณฑป
 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อให้เป็นที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกจึงนับได้ว่าหอพระมณเทียรธรรมทำหน้าที่เป็นหอสมุดแห่งแรกของ
 กรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้โปรดให้มีการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ เพื่อให้เป็น แหล่งศึกษาหาความรู้ของประชาชนทั่วไปวัดพระเชตุพนจึ่งเป็นห้องสมุดสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศนอกจากนี้ยังถือว่าเป็น
 มหาวิทยาลัยประชาชน หรือ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ด้วย

ส่วนห้องสมุดสมัยใหม่เริ่มต้นที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 4 ทรงบริจาคทรัพย์ร่วมกันสร้าง หอสมุดวชิรญาณขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะ การดำเนินงาน คือ สมาชิกของห้องสมุดต้องเสียค่าบำรุง มีกรรมการเป็นผู้บริหารและดำเนินงาน รัชกาลที่ 5 ยังโปรดให้สร้างหอพระพุทธศาสนสังคหะ เพื่อใช้เก็บหนังสือและพระไตรปิฎก

ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดเกล้าให้รวมหนังสือต่างๆจาก หอสมุดวชิรญาณหอมณเฑียรธรรม และหอสมุดศาสนสังคหะ แล้ว เปิดเป็นหอสมุดใหม่ชื่อว่า หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครเพื่อโปรดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้เป็นสถานศึกษาหาความรู้ ซึ่ง หอพระสมุดแห่งนี้ถือว่าเป็นรากฐานแห่งหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน

หอสมุดในประเทศไทยได้รับการพัฒนาและขยายการให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างทั่วถึงโดยได้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงาน
ห้องสมุดเป็นครั้งแรกที่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
Asian Institution of Technology (AIT) เมื่อ พ.ศ. 2519

สมัยสุโขทัย   (พ.ศ. 1800 - 1920)     พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในปี  พ.ศ.  1826  ได้จารึกเรื่องราวต่างๆ  ลงบนแผ่นหินหรือเสาหิน  คล้ายกับหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช   ที่จารึกเมื่อประมาณ  700  ปีมาแล้ว  ซึ่งหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชถือเป็นหนังสือเล่มแรกของไทย  เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชส่งสมณฑูตไปสืบศาสนาที่ลังกา  ก็รับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้าสู่กรุงสุโขทัย  พร้อมทั้งคัมภีร์พระไตรปิฎก  โดยสันนิษฐานว่าจารึกลงในใบลาน   ดังนั้นพระในเมืองไทยจึงมีการคัดลอกพระไตรปิฎกที่เรียกว่า  การสร้างหนังสือ  ทำให้มีหนังสือทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นจำนวนมากที่เรียกว่า  หนังสือผูกใบลาน  จึงสร้างเรือนเอกเทศสำหรับเก็บหนังสือทางพุทธศาสนา  เรียกว่า  หอไตร  และในปลายสมัยกรุงสุโขทัยได้มีวรรณกรรมทางศาสนาที่สำคัญคือ  ไตรภูมิพระร่วง    ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่  1  พญาลิไทย
                สมัยกรุงศรีอยุธยา  (พ.ศ. 1893 - 2310)    ได้มีการสร้างหอหลวงไว้ในพระบรมมหาราชวังเป็นที่สำหรับเก็บหนังสือของทางราชการ  ต่อมาในปี  พ.ศ. 2310  ทั้งหอไตรและหอหลวงได้ถูกพม่าทำลายได้รับความเสียหาย
                สมัยกรุงธนบุรี  (พ.ศ.  2310 - 2325)  พระเจ้าตากสินได้โปรดให้ขอยืมพระไตรปิฎกจากเมืองนครศรีธรรมราชมาคัดลอกและโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างหอพระไตรปิฎกหลวง  หรือเรียกว่า  หอหลวง
                สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  (พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน)
                1.  หอพระมณเฑียรธรรม   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ได้โปรดเกล้าฯ  ให้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นเมื่อ  พ.ศ  2326  ในพระบรมมหาราชวังบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  เพื่อเก็บพระไตรปิฎกหลวง   แต่ถูกไฟไหม้   จึงโปรดให้สร้างขึ้นใหม่และใช้นามเดิม
                2.  จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  (วัดโพธิ์)  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้โปรดเกล้าฯ  ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ  ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา  และให้รวบรวมเลือกสรรตำราต่างๆ  มาตรวจตราแก้ไขแล้วจารึกลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในบริเวณต่างๆ  ของวัด  มีรูปเขียนและรูปปั้นประกอบตำรานั้นๆ  แต่ที่รู้จักกันแพร่หลายคือ  รูปปั้นฤาษีดัดตนในท่าต่างๆ  ที่ถือเป็นต้นตำรับการนวดและตำรายาไทย  ซึ่งเป็นต้นตำรับการแพทย์แผนไทยมาจนกระทั่งทุกวันนี้   นอกจากนั้นยังมีความรู้อีกมากมายมที่จารึกไว้  จนทำให้จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย  และได้รับการยกย่องให้เป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของไทย
                3.  หอพระสมุดวชิรญาณ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้สร้างขึ้นในปี  พ.ศ.  2424  เพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                4.  หอพุทธศาสนสังคหะ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสร้างขึ้นที่วัดเบญจมบพิตร  เมื่อ  พ.ศ. 2443  เพื่อเก็บหนังสือต่างๆ  เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
                5.  หอสมุดสำหรับพระนคร    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  2448  โดยโปรดเกล้าฯ  ให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม  หอพระสมุดวชิรญาณ  และหอพุทธศาสนาสังคหะเข้าเป็นหอเดียวกัน  และพระราชทานนามว่า  หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร
                6.  หอสมุดแห่งชาติ     พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  2468  โดยให้แยกห้องสมุดออกเป็น  2  หอ  คือ  แยกหนังสือตัวเขียน  ได้แก่  สมุดไทย    หนังสือจารึกลงในใบลาน  สมุดข่อย  ศิลาจารึก  และตู้ลายรดน้ำไปเก็บไว้ที่พระที่นั่ง  ศิวโมกขพิมาน  ซึ่งอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   ใช้สำหรับเก็บหนังสือตัวเขียน  และเรียกว่า  หอพระวชิรญาณ  ส่วนหอสมุดที่ตั้งขึ้นที่ตึกถาวรวัตถุใช้เก็บหนังสือตัวพิมพ์  เรียกว่า  หอพระสมุดวชิราวุธ
                7.  หอจดหมายเหตุ    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าฯ  ให้สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  2459  มีงานดังนี้
                                -  งานจัดหาเอกสารและบันทึกเหตุการณ์
                                -  งานจัดเก็บเอกสาร
                                -  งานบริการเอกสาร
                                -  งานซ่อมแซมและบูรณะเอกสาร
                                -  งานไมโครฟิล์ม  และถ่ายสำเนาเอกสาร

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม

www.library.coj.go.th/
   > การเผยแพร่สารสนเทศของหน่วยงานในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล. ตามที่ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรมได้จัดทำเว็บไซต์ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม ...

บทความกฎหมาย

จัดทำโดยศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม ...

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม ...

Page 1. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม. (www.library.coj.go ...

ฎีกาเฉพาะเรื่อง

จัดทำโดย ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม ...

ระบบสารสนเทศกฎหมาย ...

กฎบัตรสหประชาชาติ · กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ...

ห้องสมุดอัตโนมัติศาลยุติธรรม

สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ. ห้องสมุดอัตโนมัติศาลยุติธรรม ...

คดีประวัติศาสตร์

2551. คดี. คำพิพากษาฎีกา. ไฟล์. 1. คดีละเมิดอำนาจศาล สินบน 2 ...

อัพเดทล่าสุด