https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
การทำงานของระบบขับถ่าย MUSLIMTHAIPOST

 

การทำงานของระบบขับถ่าย


5,204 ผู้ชม


การทำงานของระบบขับถ่าย

ในร่างกายของเราจะมีการทำงานของกระบวนการของเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งจะทำให้มีของเสียเกิดขึ้น เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เกลือแร่ ยูเรีย เป็นต้น และจำเป็นต้องขับถ่ายออกไปจากร่างกายซึ่งเป็นการทำงานของระบบขับถ่าย โดยกระบวนการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายประกอบไปด้วย การกำจัดของเสียทางไต การกำจัดของเสียทางผิวหนัง การกำจัดของเสียทางปอด และการกำจัดของเสียทางลำไส้ใหญ่

การกำจัดของเสียทางไต  

ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดแล้วนำออกนอกร่างกายเปป็นการทำงานของระบบขับถ่ายในรูปของปัสสาวะ 

1) . ไต  ( kidneys )  รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว  ตั้งอยู่ทางด้านหลังของช่องท้องด้านซ้ายและขวา  ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด ขับออกมาเป็นน้ำปัสสาวะไหลไปตามท่อเล็กๆในไต  โดยไปรวมกันที่กรวยไต  จากนั้นก็ไหลผ่านท่อไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ  พร้อมที่จะขับออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะ 

2)  ท่อไต (ureters )เป็นท่อที่ออกมาจากไตในแต่ละข้างไปสู่กระเพาะปัสสาวะ มีความยาวประมาณ 10-12 นิ้ว ท่อไตจะรองรับปัสสาวะจากไต แล้วบีบรัดตัวเป็นระยะๆ ให้น้ำปัสสาวะลงไปสู่กระเพาะปัสสาวะเป็นหยดๆ 

3)   กระเพาะปัสสาวะ( bladder)  มีลักษณะคล้ายถุงวางตัวอยู่ในช่องกระดูกเชิงกราน มีผนังที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้นสามารถบรรจุน้ำปัสสาวะได้ประมาณ 1.5 ล.

4)  ท่อปัสสาวะ (urethra) เป็นท่อเล็กๆ ที่ออกมาจากกระเพาปัสสาวะเพื่อจะนำน้ำปัสสาวะออกไปนกร่างกาย เพศหญิงท่อปัสสาวะยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้ว เพศชายท่อปัสสาวะยาวประมาณ 8นิ้ว

การจัดของเสียทางลำไส้ใหญ่ 

หรือที่เราเรียกว่า อุจจาระทำหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยอาหารออกจากร่างกายเป็นการทำงานของระบบขับถ่ายในรูปของอุจจาระ

1) ลำไส้ใหญ่  ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่ออกจากกากอาหาร  และขับเมือกออกมาหล่อลื่นให้กากอาหารส่วนที่แข็งเคลื่อนที่ผ่านไปได้

2) ทวารหนัก    ทำหน้าที่เป็นทางระบายอุจจาระ

การกำจัดของเสียทางปอด

ของเสียที่กำจัดทางปอดจะเป็นการหายใจเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย ซึ่งจะเป็นการทำงานของระบบหายใจ โดยจะกล่าวในเรื่องต่อไป 

การกำจัดของเสียทางผิวหนัง

ของเสียที่กำจัดออกทางผิวหนังจะอยู่ในรูปของเหลวที่เรียกว่า เหงื่อ โดยผ่านออก ทางต่อมเหงื่อ ( sweet gland) ที่มีอยู่ใต้ผิวหนังทั่วร่างกาย เหงื่อจะประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่  และเกลือบางชนิด ทำให้เหงื่อมีรสเค็ม

การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่าย

1.  ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ

2.  ไม่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ

3.  ควรอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน

4.  ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

 5.ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบปรึกษาแพทย์

อัพเดทล่าสุด