ระบบย่อยอาหารและการย่อยสลายอาหาร


1,095 ผู้ชม


ระบบย่อยอาหารและการย่อยสลายอาหาร

ระบบย่อยอาหารประกอบด้วย ปาก ลิ้น ฟัน หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ อวัยวะต่างๆ มีหน้าที่ ดังนี้

1.1 ปาก เป็นอวัยวะส่วนแรงของระบบย่อยอาหาร ภายในประกอบด้วย ลิ้น ฟัน และต่อมน้ำลาย เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ริมฝีปากและลิ้นจะทำหน้าที่ส่งอาหารให้ฟันบดเคี้ยว และลิ้นยังทำหน้าที่รับรสชาติอาหาร และคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลายเพื่อให้อาหารอ่อนนุ่ม กลืนสะดวก นอกจากนี้ในน้ำลายยังมีน้ำย่อยช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาลด้วย

1.2 หลอดอาหาร เป็นท่อกลวงขนาดสั้น มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนปลายของหลอดอาหารเป็นกล้าเนื้อหูรูด ซึ่งสามารถบีบตัวให้หลอดอาหารปิด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อยกลับสู่หลอดอาหารอีก มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่ทำหน้าที่เป็นทางลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหารเท่านั้น

1.3 ตับและตับอ่อน เป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดีและส่งไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี เพื่อช่วยในการย่อยไขมัน

1.4 กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่อยู่ต่อจากหลอดอาหาร ตั้งบริเวณใต้ทรวงอกของคนเรา ส่วนบนของกระเพาะอาหารจะเชื่อมต่อกับหลอดอาหาร และส่วนปลายเชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในลำไส้เล็กย้อยกลับสู่กระเพาะอาหารได้อีกกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ กระเพาะอาหารทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยออกมา เพื่อย่อยอาหารพวกโปรตีนเท่านั้น โดยกระเพาะอาหารจะบีบรัดตัวให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อย

1.5 ลำไส้เล็ก เป็นทางเดินอาหารที่สำคัญที่สุดและมีความยาวที่สุด ลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ย่อยอาหารทุกประเภท และการย่อยแล้วจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือด

1.6 ลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่ต่อจากลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นท่อกลวงขนาดใหญ่ ส่วนปลายเป็นกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า ทวารหนัก ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่บางส่วนที่เหลืออยู่ในกากอาหาร ทำให้กากอาหารเป็นก้อนอุจจาระ นอกจากนี้ลำไส้ใหญ่ยังขับเมือกออกมาหล่อลื่น ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้ 

เมื่อเรากินอาหารเข้าไป ฟันของเราจะบดเคี้ยวอาหารให้เล็กลง และอาหารจะเคลื่อนผ่านหลอดอาหารไปยังกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะย่อยอาหารให้เล็กลง และส่งผ่านไปยังลำไส้เล็ก อาหารต่างๆ ถูกย่อยที่ลำไส้เล็กเป็นจุดสุดท้าย และถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือด เพื่อไปเลี้ยงร่างกายส่วนกากอาหารที่เหลือจะถูกขับอออกมาทางทวารหนัก

สารและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยในกระเพาะอาหาร

        1. HCl มี pH อยู่ระหว่าง 0.9-2.0
        2. Pepsinogen เป็น Proenzyme ต้องได้รับ HCl จึงเปลี่ยนเป็นเพปซิน (Pepsin) สำหรับย่อยโปรตีนเป็นเพปไทด์ ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน 4-12 โมเลกุล
        3. Prorennin เป็น Proenzyme ต้องได้รับ HCl จึงเปลี่ยนเป็นเรนนิน (Rennin) สำหรับย่อยโปรตีนในน้ำนม
        4. Lipase สร้างขึ้นในปริมาณน้อยมาก เพราะสภาพเป็นกรดของกระเพาะอาหาร
        5. Gastrin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ในกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่กระตุ้นให้ Parirtal Cell หลั่ง HCl ออกมา

อวัยวะช่วยย่อยอาหาร

1. ตับ เป็นอวัยวะซึ่งมีต่อมที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย อยู่ช่องท้องใต้กระบังลม ทำหน้าที่สร้างน้ำดี แล้วนำไปเก็บสะสมไว้ในถุงน้ำดี น้ำดีประกอบด้วยเกลือน้ำดี และรงควัตถุน้ำดี ท่อนำน้ำดีช่วงแรกเรียกว่า common bile duct ช่วงสุดท้ายก่อนที่จะเปิดเข้าลำไส้เล็ก โดยไปรวมกับท่อจากตับอ่อนเรียกว่า hepato pancreatic duct ตับมีหน้าที่โดยสรุปดังนี้

- สร้างน้ำดีในการช่วยให้ไขมันแตกตัว ทำให้น้ำย่อยไขมันสามารถย่อยไขมันได้ดีในลำไส้เล็ก
- ทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ
- สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงในระยะเอ็มบริโอ
- ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
- สลายกรดอะมิโนให้เป็นยูเรีย
- ศูนย์กลางเมแทบอลิซึมอาหารที่ให้พลังงานได้
- สะสมไกลโคเจนซึ่งเป็นน้ำตาลจากเลือดสะสมไว้ในตับ
- ทำลายจุลินทรีย์โดยมี kupffer’ s cell ทำหน้าที่ทำลายจุลินทรีย์
- คุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้เกิน 0.1 %

2. ตับอ่อน อยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กตอนบน ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยหลายชนิด ท่อน้ำย่อยจากตับอ่อนช่วงแรก pancreatic duct ช่วงหลังเรียกว่า hepato pancreatic duct หน้าที่ของตับอ่อนสรุปได้ดังนี้

- มีต่อมสร้างน้ำย่อยหลายชนิดส่งให้ลำไส้เล็กทำหน้าที่ย่อย แป้ง โปรตีนและไขมัน
- มีต่อมไรท่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
- สร้างสารที่เป็นเบสกระตุ้นให้น้ำย่อยในลำไส้เล็กทำงานได้ดี

ภายในร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยอวัยวะหลายอย่างซึ่งช่วยกันปฏิบัติหน้าที่  ทำให้ร่างกายคนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ ถ้ามีอวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่งบกพร่องไปก็จะทำให้ร่างกายเราผิดปกติ  อาจเจ็บไข้ได้ป่วยหรือตายได้  การที่อวัยวะต่าง ๆ มารวมกันปฏิบัติหน้าที่นั้นเราเรียกว่า ระบบอวัยวะ

ระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทุกระบบมีความสำคัญแตกต่างกัน  แต่ละระบบต้องทำงานประสานสอดคล้องกัน ร่างกายจึงจะแข็งแรงสมบูรณ์

ระบบย่อยอาหารประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ  ได้แก่ ปาก ลิ้น คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ทวารหนัก โดยอวัยวะเหล่านี้จะทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบคือ  ฟันจะทำหน้าที่บดอาหารในปากมีลิ้นช่วยในการคลุกเคล้า และช่วยกลืน อาหารลงไปตามหลอดอาหารเข้าสู่กระเพะอาหารแล้วส่งต่อไปย่อยที่ลำไส้เล็กและถูกดูดซึมไปเลี้ยงร่างกาย ส่วนกากอาหารถูกส่งต่อไปยังลำไส้เล็ก และทวารหนัก เพื่อขับถ่ายต่อไป

ความสำคัญของการย่อยอาหาร

อาหารที่สิ่งมีชีวิตบริโภคเข้าไป  ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม จะนำเข้าสู่เซลล์ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในรูปของสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก คือ กรดอะมิโน  น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กลีเซอรอล และกรดไขมัน  นั่นก็คือ  อาหาร โมเลกุลใหญ่ที่สิ่งมีชีวิตรับประทานเข้าไป  จำเป็นต้องแปรสภาพให้มีขนาดเล็กลง  การแปรสภาพของอาหารดังกล่าวเกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่อาศัยการทำงานของเอนไซม์ย่อยอาหาร โดยทั่วไปเรียกว่า  น้ำย่อย จากนั้นโมเลกุลของสารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ กระบวนการแปรสภาพอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลง เรียกว่า  การย่อยอาหาร (Digestion)

การย่อยในปาก

เริ่มต้นจากการเคี้ยวอาหารโดยการทำงานร่วมกันของ ฟัน ลิ้น และแก้ม ซึ่งถือเป็นการย่อยเชิงกล ทำให้อาหารกลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ  มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับเอนไซม์ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันต่อมน้ำลายก็จะหลั่งน้ำลายออกมาช่วยคลุกเคล้าให้อาหารเป็นก้อนลื่นสะดวกต่อการกลืน  เอนไซม์ในน้ำลาย คือ ไทยาลิน หรืออะไมเลสจะย่อยแป้งในระยะเวลาสั้น ๆ ในขณะที่อยู่ในช่องปากให้กลายเป็นเดกซ์ทริน (Dextrin) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กกว่าแป้ง แต่ใหญ่กว่าน้ำตาล  และถูกย่อยต่อไปจนเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่   คือ มอลโตส

ขั้นตอนการย่อยอาหาร การย่อยอาหารมี 2 ขั้นตอน

       1. การย่อยเชิงกล (Mechanical  digestion) เป็นกระบวนการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนที่และการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่อไป โดยการบดเคี้ยว รวมทั้งการบีบตัวของทางเดินอาหาร ยังไม่สามารถทำให้อาหารมีขนาดเล็กสุด  จึงไม่สามารถดูดซึมเข้าเซลล์ได้
       2. การย่อยทางเคมี (Chemical  digestion)  เป็นการย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กที่สุด  โดยการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่าง อาหาร กับ น้ำ โดยตรง และจะใช้เอนไซม์หรือน้ำย่อยเข้าเร่งปฏิกิริยา
ผลจากการย่อยทางเคมีเมื่อถึงจุดสุดท้าย จะได้สารโมเลกุลเล็กที่สุดที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้  ซึ่งอาหารที่ต้องมีการย่อย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ส่วนเกลือแร่ และวิตามินจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง
 
อวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร

       1. ต่อมน้ำลาย (Salivary  Gland)  ผลิตน้ำย่อยอะไมเลส (Amylase) หรือไทยาลิน (Ptyalin) ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส
       2. กระเพาะอาหาร (Stomach) ผลิต น้ำย่อยเพปซิน ย่อยโปรตีนให้เป็นโปรตีนสายสั้น (เพปไทด์) และ น้ำย่อยเรนนิน  ย่อยโปรตีนในนมให้เป็นโปรตีนเป็นลิ่ม ๆ
       3. ลำไส้เล็ก (Small  Intestine)  ผลิต  น้ำย่อยมอลเทส ย่อยน้ำตาลมอลโทสให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคส น้ำย่อยซูเครส ย่อยน้ำตาลซูโครสให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลฟรักโทส น้ำย่อยแลกเทส ย่อยน้ำตาลแลกโทสให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลกาแลกโตส น้ำย่อยอะมิโนเพปทิเดส  ย่อยโปรตีนสายสั้นให้เป็นกรดอะมิโน
       4. ตับ  (Liver) ผลิตน้ำดี ย่อยไขมันให้เป็นไขมันแตกตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ
       5. ตับอ่อน (Pancreas) ผลิตน้ำย่อยลิเพส  ย่อยไขมันแตกตัวให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล น้ำย่อยทริปซิน ย่อยโปรตีนให้เป็นพอลิเพปไทด์และไดเพปไทด์ น้ำย่อยคาร์บอกซิเพปพิเดส ย่อยเพปไทด์ให้เป็ฯกรดอะมิโน น้ำย่อยอะไมเลส ย่อยเช่นเดียวกับน้ำย่อยอะไมเลสในปาก

ต่อมน้ำลาย

ต่อมน้ำลาย (Silvary Gland) เป็นต่อมมีท่อ  ทำหน้าที่ผลิตน้ำลาย (Saliva) ต่อมน้ำลายของคนมีอยู่ 3 คู่ คือ

       1. ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (Sublingual  Gland) 1 คู่
       2. ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง (Submandibulary Gland) 1 คู่
       3. ต่อมน้ำลายข้างกกหู (Parotid Gland)  1 คู่
       ต่อมน้ำลายทั้ง 3 คู่นี้ ทำหน้าที่สร้างน้ำลายที่มีเอนไซม์อะไมเลส  ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ย่อยสารอาหารจำพวกแป้งเท่านั้น
 
ความสำคัญของน้ำลาย

- เป็นตัวหล่อลื่น และทำให้อาหารรวมกันเป็นก้อน เรียกว่า โบลัส (Bolus)
- ช่วยทำความสะอาดปากและฟัน
- มีเอนไซม์ช่วยย่อยแป้ง
- ช่วยทำให้ปุ่มรับรสตอบสนองต่อรสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยว และรสขมได้ดี

การปฏิบัติตนในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบย่อยอาหาร

       1. รับประทานอาหารให้ครบทุกประเภทในแต่ละมื้อ และรับประทานอาหารแต่พอควร ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป โดยเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
       2. รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ ๆ
       3. ไม่รับประทานอาหารพร่ำเพรื่อ จุกจิก และทานให้ตรงเวลา
       4. อย่ารีบรับประทานอาหารขณะกำลังเหนื่อย
       5. ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดจนเกินไป
       6. ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาและสม่ำเสมอ

อัพเดทล่าสุด