https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ MUSLIMTHAIPOST

 

ระบบย่อยอาหารของมนุษย์


1,292 ผู้ชม


ระบบย่อยอาหารของมนุษย์

ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ (Digestion)หมายถึงกระบวนการสลายอนุภาคอาหารให้มีขนาดเล็กสุดจนสามารถดูดซึมเข้าไปในเซลล์ได้

ขั้นตอนระบบย่อยอาหารของมนุษย์

1.การย่อยทางไกล(Mechamical digestion)

เป็นกระบวนการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนที่และการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่อไป โดยการบดเคี้ยว รวมทั้งการบีบตัวของทางเดินอาหาร ยังไม่สามารถทำให้อาหารมีขนาด เล็กสุด จึงไม่สามารถดูดซึมเข้าเซลล์ได้

2.การย่อยทางเคมี(Chemical digestion)

เป็นการย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กที่สุด โดยการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่าง อาหาร กับ น้ำ โดยตรง และจะใช้เอนไซม์หรือน้ำย่อยเข้าเร่งปฏิกิริยาผลจากการย่อยทางเคมีเมือถึงจุดสุดท้ายจะได้สารโมเลกุลเล็กที่สุดที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้ ซึ่งอาหารที่ดีรับการย่อย ได้แก่คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ส่วนเกลือแร่และวิตามินจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง

ส่วนต่างๆของระบบทางเดินอาหาร

1.  ช่องปาก ภายในประกอบด้วย ฟัน ที่มีหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ลิ้น มีหน้าที่ในการคลุกเคล้าอาหารและต่อมน้ำลายที่สำคัญ 3 คู่ คือ
     - ต่อมน้ำลายใต้หู (Parotid)
     - ต่อมน้ำลายใต้โคนลิ้น (Sub lingual)
     - ต่อมน้ำลายใต้ฟันกรามล่าง (Sub maxillary)

โดยต่อมน้ำลายมีหน้าที่ในการสร้างน้ำลายออกมา โดยในน้ำลายนั้นประกอบไปด้วย น้ำ กับ น้ำย่อยอะไมเลส (amylase) ซึ่งมีผลต่อการย่อยอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต ให้ได้ dextrin หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่ไม่สามารถดูดซึมได้

2.  หลอดอาหาร ประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่สามารถบีบตัวเป็นจังหวะในขณะที่อาหารผ่านลงมา ในทางเดินอาหารส่วนนี้ไม่มีการสร้างน้ำย่อยออกมา แต่มีการหลั่งสารเมือกช่วยหล่อลื่น
 
3.  กระเพาะอาหาร ประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่อัดกันหนามาก ด้านในมีลักษณะเป็นสันช่วยในการบดอาหารให้มีขนาดเล็กลงอีก ผนังด้านในสามารถสร้างเอนไซม์เปปซิโนเจน (Pepsinogen)และกรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ(HCl) เปปซิโนเจนจะถูกกรดเกลือเปลี่ยนสภาพให้กลายไปเป็นเอนไซม์เปปซิน(Pepsin) ซึ่งมีความสามารถในการย่อยโปรตีนให้มีโมเลกุลเล็กลง เรียกว่า เปปไทด์(Peptide) แต่ยังไม่สามารถดูดซึมได้

4.  ลำไส้เล็ก เป็นทางเดินอาหารส่วนที่ยาวมาก แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ดูโอดีนัม เจจูนัมและไอเลียม ที่ผนังลำไส้เล็กสามารถสร้างน้ำย่อยขึ้นมาได้ ซึ่งมีหลายชนิด นอกจากน้ำที่ลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม ยังได้รับน้ำย่อยจากตับอ่อน และน้ำดีมาจากตับ น้ำย่อยจากตับอ่อนมีหลายชนิดที่สามารถย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมันได้

5.  ลำไส้ใหญ่ เป็นทางเดินอาหารส่วนสุดท้าย ซึ่งไม่มีการย่อยเกิดขึ้น จึงทำหน้าที่ในด้านการดูดซึมน้ำเกลือแร่และวิตามินบางชนิด

การดูดซึมอาหาร

การดูดซึมอาหาร คือ การนำอาหารโมเลกุลเล็กๆที่ผ่านการย่อยแล้ว ผ่านผนังทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย

         - กระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการดูดซึมสารจำพวกยาและแอลกอฮอล์เป็นส่วนใหญ่
         - ลำไส้เล็ก มีการดูดซึมอาหารทุกประเภทมากที่สุด โดยผนังของลำไส้เล็กจะมีส่วนยื่นออกมาเรียกว่า วิลลัส(Villus) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึม โดยภายในวิลลัสประกอบด้วยเส้นเลือดมากมายเป็นตาข่ายเพื่อรับอาหารที่ย่อยแล้ว และส่วนแกนกลางเป็นเส้นน้ำเหลือง ซึ่งจะดูดซึมอาหารพวกกรดไขมันและกลีเซอรอล นอกจากจะย่อยสารอาหารทั้ง 3 ชนิดแล้วยังดูดซึมอาหารที่ย่อยได้โมเลกุลพื้นฐานของสารอาหารชนิดนั้นๆ การย่อยอาหารในลำไส้เล็กจะเกิดได้ดีในสภาวะที่เป็นเบส (NaHCO3) จากตับอ่อน

เอนไซม์กับการย่อยอาหาร

เอนไซม์มีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยกรดอะมิโน แต่มีคุณสมบัติต่างจากโปรตีนตรงที่เอนไซม์สามารถเร่งปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ได้ โดยที่สารที่จะเป็นเอนไซม์ได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

          1.สามารถเร่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ได้
          2.เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วเอนไซม์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและจำนวน ในขณะที่สารเริ่มต้นถูกเปลี่ยนไปเป็นสารผลิตภัณฑ์
          3.อุณหภูมิมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ซึ่งจะทำงานได้ดีในช่วง 25 -40 0c
          4.สภาพความเป็นกรด-ด่างมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของเอนไซม์นั้นๆ

อัพเดทล่าสุด