ระบบสุริยะจักรวาล พบหลุมดำ ขนาดกลาง ใจกลางกาแลกซี


932 ผู้ชม


พบหลุมดำ ขนาดกลาง ใจกลางกาแลกซี

 

นักดาราศาสตร์พบหลุมดำขนาดกลาง ซึ่งคาดว่าจะอธิบายกำเนิดของหลุมดำใจกลางกาแลกซีได้ (ภาพประกอบข่าวเอเอฟพี/นาซา)

 

นักดาราศาสตร์พบหลุมดำขนาดไม่ใหญ่มาก ที่จะช่วยอธิบายได้ว่า หลุมดำซึ่งมีมวลขนาดใหญ่และดูดกลืนทุกอย่างแม้กระทั่งแสงนั้น พัฒนาขึ้นในใจกลางกาแลกซีได้อย่างไร
       
       ตามรายงานของเอเอฟพีเผยว่า นักดาราศาสตร์ได้พบหลุมดำที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 500 เท่า บริเวณขอบกาแลกซี ESO 243-249 ซึ่งตามรายงานของเสปซเดลีระบุว่าหลุมดำดังกล่าวอยู่ห่างจากโลก 290 ล้านปีแสง โดยให้ชื่อว่า หลุมดำ HLX-1 (Hyper-Luminous X-ray source 1) และได้รายงานการค้นพบนี้ในวารสารเนเจอร์ (Nature) วารสารวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ
       
       เมื่อดูตามขนาดหลุมดำที่เพิ่งค้นพบนี้ จัดว่ามีขนาดอยู่ระหว่างตรงกลางหลุมดำมวลยิ่งยวด (supermassive black hole) ซึ่งหลุมดำอย่างหลังนี้อาจมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึงพันล้านเท่า
       
       หลุมดำนับเป็นสิ่งที่ทรงพลังที่สุดในจักรวาล วัตถุในอวกาศนี้มีสนามโน้มถ่วงที่เข้มข้นสูง และมีพลังมากจนไม่สิ่งใด แม้กระทั่งแสงเล็ดรอดออกมาได้ และสำหรับหลุมดำมวลดาว (Stellar-mass black hole) คาดว่าเกิดจากการหดเกร็งอย่างรุนแรงของดาวที่มีมวลมาก แต่สำหรับหลุมดำมวลยิ่งยวดซึ่งอยู่ใจกลางกาแลกซีซึ่งรวมถึงกาแลกซีทางช้างเผือกด้วยนั้น ยังมีความเห็นที่ไม่สอดคล้องกันนักว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
       
       "ทฤษฎีหนึ่งบอกว่า หลุมดำมวลยิ่งยวด อาจเกิดจากการรวมกันของหลุมดำที่มีมวลกลางๆ เพื่อจะยืนยันทฤษฎีที่ว่านี้ คุณต้องพิสูจน์การมีอยู่ของหลุมดำระดับกลางๆ ให้ได้เสียก่อน" ฌอง ฟาร์เรลล์ (Sean Farrell) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ (University of Leicester) ในอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้นำในการศึกษาครั้งนี้ให้ความเห็นกับทางเอเอฟพี
       
       เนื่องจากหลุมดำไม่ปล่อยแสงออกมา แต่มีรังสีเอกซ์ (X-ray) ที่ถูกปล่อยออกมาอย่างชัดเจน ทีมวิจัยจึงตรวจพบหลุมดำขนาดกลางได้ จากการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตัน (XMM-Newton) ขององค์กรอวกาศยุโรปเป็นเครื่องมือในการสำรวจ
       
       สำหรับหลุมดำขนาดกลางนี้ ทางสเปซเดลีระบุว่าทีมวิจัยบันทึกภาพได้ตั้งแต่ 23 พ.ย.2547 ก่อนจะวิเคราะห์ได้ว่าเป็นหลุมดำประเภทใด และหลุมดำนี้มีชื่อว่า HLX-1 (Hyper-Luminous X-ray source 1) ซึ่งปล่อยรังสีเอกซ์จ้าออกมาด้วยความสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์ 260 ล้านเท่า

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์

อัพเดทล่าสุด