สุริยุปราคา: มุมมองจากมุสลิมชายแดนใต้
by : อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ |
วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 ตรงกับ วันที่ 29 เดือนเราะญับ ฮิจเราะห์ศักราช 1429 ตามปฏิทินของชาวมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้เกิดปรากฎการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์อีกครั้งหนึ่งกล่าวคือปรากฏการณ์ สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส
สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เมื่อสังเกตจากพื้นโลก จะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์
หากจะแบ่งสุริยุปราคาจะพบว่าแบ่งได้ 4 ประเภท อันได้แก่
- สุริยุปราคาบางส่วน: มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง
- สุริยุปราคาเต็มดวง: ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง
- สุริยุปราคาวงแหวน: ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์
- สุริยุปราคาผสม: ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของโลกเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง บางส่วนเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า
สุริยุปราคาอาจจัดเป็นการบังกันประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถี
ไม่ว่าสุริยุปราคาจะเป็นแบบใดสำหรับชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือทั่วโลกก็ว่าได้จะมีหลักคิดและวิถีปฏิบัติที่อาจจะแตกต่างกับขนบธรรมเนียมประเพณีของคนส่วนใหญ่ของคนไทยทั่วประเทศกล่าวคือหนึ่งมุสลิมจะมีความศรัทธาว่าปรากฎการณ์ดังกล่าวเป็นปรากฎการณ์ที่แสดงถึงความสามารถของอัลลอฮ์เจ้าในการวางกฎการโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆที่โคจรอย่างเป็นระบบในระบบสุริยะจักรวาล สอง มุสลิมจะไปมัสยิดเพื่อละหมาดเพื่อสรรเสริญพระเจ้าและขออภัยโทษต่อพระองค์ดั่งที่ท่านศาสดาได้เคยปฏิบัติเป็นแบบอย่างในสมัยของท่านซึ่งเหตุการณ์สุริยุปราคาเคยเกิดแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 29 เดือนเชาวาล ปีฮิเราะห์ศักราชที่ 10
ความเป็นจริงตามทัศนะอิสลามสุริยุปราคาคือปรากฏการณ์หนึ่งในการวางกฎการโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ ที่โคจรอย่างเป็นระบบในระบบสุริยะจักรวาลของอัลลอฮ์ผู้ทรงพลานุภาพซึ่งพระองค์ได้กล่าวไว้ในโองการอัลกุรอานมากมายเกี่ยวระบบสุริยะจักวาลที่จำเป็นที่จะต้องคิดวิเคราะห์อย่างนักวิทยาศาสตร์เช่นอัลลอฮ์ได้โองการไว้ความว่า
1."และแท้จริงในการสร้างฟากฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และการสลับระหว่างกลางคืนกับกลางวัน และนาวาที่เคลื่อนที่อยู่ในทะเลเพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์ และน้ำที่อัลลอฮ์ได้หลั่งลงมาจากฟ้า เพื่อชุบชีวิติแก่ผืนแผ่นดิน ภายหลังที่มันได้ตายไป และทรงสร้างสัตว์ทุกชนิดให้กระจายไปทั่วแผ่นดิน และการผันแปรของลม และเมฆที่ถูกควบคุมให้อยู่ระหว่างฟ้ากับแผ่นดิน สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นสัญญลักษณ์สำหรับมวลชนที่ใช้ปัญญาตริตรอง" (ซูเราะฮ์อัลบากอเราะฮ์ : 164)
2. "ดวงอาทิตย์และดวงเดือน ต่างโคจรไปตามการคำนวณ" (ซูเราะฮ์ อัรรอฮ์มาน : 5)
3. "พระองค์ผู้ทรงบันดาลกลางคืนและกลางวัน ดวงอาทิตย์และดวงเดือน ทุกสิ่งนั้นโคจรตามเส้นทาง" (ซูเราะฮ์ อัลอัมบิยาอ์ : 33)
4. "พระองค์เป็นผู้ทรงบันดาลให้ดวงอาทิตย์มีประกายสว่างไสวและดวงเดือนเป็นรัศมี และทรงกำหนดมันไว้หลายตำแหน่ง (ตามระบบการโคจร) เพื่อพวกเจ้าจะได้ทราบจำนวนปีและการคำนวณ อัลลอฮ์มิทรงบันดาล สิ่งนั้นนอกจากโดยความสัจจริงพระองค์ทรงจำแนกบรรดาสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อกลุ่มชนที่มีความรู้" (ซูเราะฮ์ ยูนุส : 5)
5. "และดวงเดือนเราได้กำหนดตำแหน่ง (คำนวณ) ต่างๆ ของมันไว้ (ให้เปลี่ยนแปลงที่ปรากฏในสายตา) จนกระทั่งมันมีสภาพประหนึ่งกาบอินทผลัมเก่าๆ
ปฏิทินเวลาละหมาด |
(เรียวเล็กในยามข้างแรม) " (ซูเราะฮฺ ยาซีน : 39)
6. "พระองค์ทรงเป็นผู้เบิกอรุณรุ่ง และทรงบันดาลเวลากลางคืนให้เป็นเวลาพักผ่อน และบันดาลดวงตะวัน และดวงเดือนเป็นหลักแห่งการคำนวณนั้นเป็นข้อกำหนดของ (อัลลอฮฺ) ผู้ทรงอำนาจ อีกทั้งรอบรู้ยิ่ง " (ซูเราะฮ์ อัลอันอาม : 69)
7. "พวกเขาเหล่านั้นจะถามเจ้าเกี่ยวกับดวงจันทร์เสี้ยวเริ่มเดือนใหม่ เจ้าจงตอบว่า มันเป็นเครื่องหมายบอกเวลาแก่มนุษย์และการประกอบพิธีฮัจญ์ และหาใช่ว่าคุณธรรมแท้จะอยู่ที่พวกเจ้าเข้าบ้านทางเบื้องหลังของมัน แต่ทว่าคุณธรรมที่แท้จริงนั้นคือ บุคคลที่มีความยำเกรงและเข้าบ้านตามประตูปกติของมัน และพวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิดเพื่อพวกเจ้าจะได้ประสบความสมหวัง" (ซูเราะฮ์ อัลบากอเราะฮ์ : 189 )
8."พระองค์ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดินโดยสัจจะ ทรงล้ำกลางคืนกลางวัน และทรงล้ำกลางวันกลางคืน และทรงอำนวยประโยชน์แก่ดวงตะวันและดวงดาว ทุกๆสิ่งมันโคจรไปตามวาระที่ถูกกำหนดไว้แล้ว" (ซูเราะฮฺ ยาซีน :39)
9. "เจ้าไม่สังเกตดอกหรือ แท้จริงอัลลอฮ์ทรงล้ำกลางคืนเข้าในกลางวัน และล้ำกลางวันข้าในกลางคืน และพระองค์ทรงอำนวยประโยชน์ดวงตะวันและดวงเดือน ทั้งหมดนั้นจะโคจรไปตามกำหนดการที่ถูกระบุไว้ และแท้จริงอัลลอฮ์ทรงตระหนักยิ่ง ในสิ่งที่พวกเจ้าประพฤติ" (ซูเราะฮ์อัซซุมัร : 5)
10. "เจ้าไม่สังเกตดอกหรือ แท้จริงอัลลอฮ์ทรงล้ำกลางคืนเข้าในกลางวัน และล้ำกลางวันข้าในกลางคืน และพระองค์ทรงอำนวยประโยชน์ดวงตะวันและดวงเดือน ทั้งหมดนั้นจะโคจรไปตามกำหนดการที่ถูกระบุไว้ และแท้จริงอัลลอฮ์ทรงตระหนักยิ่ง ในสิ่งที่พวกเจ้าประพฤติ" (ซูเราะฮ์ลุกมาน : 29)
จากโองการอัลกุรอานที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการแสดงให้เห็นว่ามีความจำเป็นสำหรับมุสลิมจะต้องทำการศึกษาระบบสุริยะจักวาลหรือวิชาดาราศาสตร์อย่างเป็นระบบแบบวิทยาศาสตร์ซึ่งต่างจากวิชาโหราศาสตร์ที่อิสลามห้ามอย่างเด็ดขาดดั่งที่ท่านศาสดาได้วัจนะไว้ความว่าว่า
"ใครก็ตามที่แสวงหาการทำนายล่วงหน้าจากหมอดูหรือนักโหราศาสตร์ เท่ากับเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่มุฮัมมัดนำมาเผยแผ่"
การที่ท่านศาสดาวัจนะไว้ดังกล่าวเพื่อที่จะเตือนให้ประชาชาติท่านให้ระวังความเชื่องมงายโดยขาดเหตุผลทางวิชาการรองรับ เพราะในสมัยท่านและก่อนจากท่านมีหมอดูมากมายและชาวอาหรับก็ตกเป็นเหยื่อมารยาของหมอดูความเป็นจริงตามหลักวิชาการอิสลามมีทัศนะว่าวิชาดาราศาสตร์ต่างกับโหราศาสตร์อันเนื่องมาจาก โหราศาสตร์เกี่ยวข้องกับการคาดคะเนอนาคตของมนุษย์ โดยอาศัยสังเกตการณ์จากตำแหน่งของดาวต่างๆในระบบสุริยะจักวาลไม่ว่าจะเป็น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือไม่ก็พวกดาวเคราะห์ต่างๆ ในการอนุมานสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับมนุษย์ในขณะที่วิชาดาราศาสตร์นั้นเกี่ยวข้องเกี่ยวกับระบบสุริยะจักวาล ที่มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างเป็นเหตุเป็นผล
การศึกษาเสี้ยวจันทร์เพื่อการถือศีลอด |
ดังนั้นการศึกษาวิชาดาราศาสตร์หรือตามหลักวิชาการอิสลามเรียกว่าวา al-Falak จะมีความผูกพันธ์กับวิถีชีวิตมุสลิมเป็นอย่างยิ่งเพราะ การกำหนดเวลาปฏิบัติศาสนกิจเกี่ยวกับการละหมาดในแต่ละเวลาของแต่ละวัน กำหนดเดือนจันทรคติ หรือเดือนกอมารียะฮ์ ของปีฮิจเราะฮ์ศักราช กำหนดวันเริ่มต้นเดือนทางจันทรคติ กำหนดวันสำคัญของศาสนาอิสลาม เช่น วันตรุษอีดิลอัฏฮา อีดิลฟิตรี รอมฎอน มุฮัรรอม เป็นต้นหรือแม้กระทั่ง
ใช้กำหนดทิศการหันเวลาละหมาด (กิบลัตที่มุสลิมทุกคนต้องผินหน้าเข้าหาเวลาละหมาด)
ความเป็นจริงปราชญ์หรืออุลามาอ์ในปอเนาะต่างๆของปัตตานีในอดีตมีความสามารถด้านนี้หลายท่านเช่นชัยค์ดาวุดอัลฟาฏอนีย์ ชัยค์อะหมัดหรือแม้กระทั่งหะยีสุหลง และปัจจุบันหลายปอเนาะสอนวิชานี้ด้วยตำราภาษามลายูหรืออาหรับสมัยโบราณอยู่ด้วย ดังนั้นหากเป็นไปได้ศูนย์อำนวยบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรจัดตั้งศูนย์ดาราศาสตร์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาวิชาการด้านนี้อย่างเป็นระบบในการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจและการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนามุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่าน และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
(หมายเหตุเกี่ยวกับดาราศาสตร์อิสลามได้ที่ เว็บไซต์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานีhttps://www.fathoni.com/lesson/falakweb/dara1.html)