โรคที่เกิดจากระบบขับถ่าย
โรคที่เกิดจากระบบขับถ่ายมีหลายโรค แต่ละโรคมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น
1. โรคลำไส้อักเสบ
ต้นเหตุของโรคลำไส้อักเสบ
ส่วนใหญ่การอักเสบของลำไส้จากการติดเชื้ออะมีบาหรือที่เรียกว่าบิดมีตัว ในเรื่องของอาหารการกิน ก็มีส่วน คือ พบว่าการกินอาหารไขมันสูง กากน้อย จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น( High fat,low fiber)ส่วนการอักเสบชนิดเป็นแผลเรื้อรังของลำไส้ เรียกรวมกันว่า Inflammatory Bowel Disease (IBD) ซึ่งกลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า พบได้ในคนทุกวัย ส่วนมากจะเป็นๆหายๆ หรือเป็นอยู่ประจำนานอยู่เป็นแรมปี หรือตลอดชีวิต โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดีและทำงานได้เป็นปกติ เป็นโรคที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงแต่อย่างใด เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้ใหญ่ โดยหาความผิดปกติทางด้านร่างกายไม่พบ แต่พบว่าสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ เช่น เครียด คิดมาก วิตกกังวล
อาการ
อาการมากหรือน้อยขึ้นกับบริเวณและระยะของโรค บางรายอาจมีอาหารเพียงแน่นท้อง ท้องอืด หรือปวดท้องร่วมกับมีอาการท้องเดิน นอกจากอาการปวดท้อง ผู้ป่วยมักมีไข้ร่วมด้วย การวินิจฉัยโรคนี้ต้องอาศัยอาการแสดงของโรค การตรวจอุจจาระ
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายและการตรวจเพื่อแยกแยะว่าไม่ได้เป็นความผิดปกติของลำไส้อื่นๆ ในระยะแรกอาจวินิจฉัยแยกจากโรคแผลลำไส้อักเสบได้ยาก ต้องอาศัยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และตัดชิ้นเนื้อไปพิสูจน์
2. โรคริดสีดวงทวาร
เป็นโรคที่พบว่ามีคนไข้เป็นจำนวนมาก พบได้ในเพศหญิงและเพศชาย โดยปกติอาการในระยะแรกจะไม่รุนแรง มักเป็นๆ หายๆ กล่าวคือ เป็นโรคที่สามารถหายได้เองในระยะแรก แต่บางคนอาจมีการดำเนินของโรคมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว คนที่มีการดำเนินของโรคมากขึ้นจะมีจำนวนไม่มากนักและมักกินเวลานานหลายปี ก่อนจะถึงระดับที่รุนแรงจนกระทั่งต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร
ท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้มากกว่าสาเหตุอื่นๆ
ท้องเสียเรื้อรัง
ภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งสาเหตุนี้โรคริดสีดวงทวารสามารถหายเองได้หลังจากที่คลอดบุตรแล้ว
พันธุกรรม
ความชรา
การรักษาโรคริดสีดวงทวาร
มีหลายวิธีด้วยกัน ดังนั้นควรพิจารณาจากชนิดและความรุนแรงของโรคเป็นหลักในการรักษา
การใช้ยาระงับอาการ ยาเหล่านี้ควรใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น เช่น อาการปวด การอักเสบ และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ยาที่ใช้ได้แก่ ยาทา ยารับประทาน ยาเหน็บ ยาฉีด
การใช้ยางรัด (rubber band ligation)
การจี้ริดสีดวงทวารด้วยอินฟราเรด (infrared photocoagulation)
การจี้ริดสีดวงทวารด้วย bipolar coagulation
การผ่าตัดริดสีดวงทวาร
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร
ระวังอย่าให้ท้องผูก ดังนั้น ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ และยาเพิ่มเส้นใย (เช่น psyllium,เมธิลเซลลูโลส)และต้องถ่ายอุจจาระอย่างน้อยวันละ 1ครั้งเป็นประจำ เพราะท้องผูกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้มากกว่าสาเหตุอื่นๆ
รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์โดยการออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวันจะทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8แก้ว เพื่อทำให้อุจจาระมีลักษณะนิ่มขึ้น ทำให้ง่ายต่อการขับถ่ายและเป็นการลดการเสียดสีกับเส้นเลือดที่บริเวณทวารหนัก
3. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
อาการที่พึงระวัง
มีการเปลี่ยนแปลงนิสัยในการถ่ายอุจจาระ ทั้งจำนวนครั้งและลักษณะของอุจจาระที่ออกมา
มีเลือดเก่าๆ และมูกออกทางทวารหนัก
ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรื้อรัง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ซีด หรือโลหิตจาง โดยหาสาเหตุไม่ได้
คลำก้อนได้ที่บริเวณท้อง และมีการอุดตันของลำไส้ใหญ่
การวินิจฉัย
ตรวจลำไส้ใหญ่โดยการสวนแป้งแบเรียมเข้าทางทวารหนัก แล้วถ่ายเอกซเรย์
การตรวจด้วยกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ สามารถดูรอยโรคได้โดยตรง และสามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจวิเคราะห์ได้ด้วย
การติดตามผลการรักษา ทำได้โดยการเจาะเลือดตรวจหา CEA
การรักษา
การผ่าตัด
รังสีรักษา
เคมีบำบัด
การรักษาแบบผสมผสาน ด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและสภาวะผู้ป่วย
การป้องกัน
ควรรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่และควบคุมระบบการขับถ่ายให้เป็นเวลา
รับประทานผัก ผลไม้ เป็นประจำ
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ส่วนไหม้เกรียม จากการปิ้ง ย่าง ทอด รมควัน
ลดอาหารไขมันสูง
ผู้ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไปหรือที่มีโรคเกี่ยวกับทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ แผลอักเสบเรื้อรัง เนื้องอก ควรได้รับการตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักอย่างน้อยปีละครั้ง
ผู้ที่มีบิดามารดา ญาติพี่น้อง เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรได้รับการตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง
ปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ
อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์
มีการเปลี่ยนแปลงนิสัยในการถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูกสลับกับท้องเดิน มีเลือดเก่าๆและมูกปน
ท้องอืด แน่นเฟ้อ เรื้อรัง
น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ซีด โลหิตจาง โดยหาสาเหตุไม่ได้