https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
รวม!! นักวิทยาศาสตร์ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย MUSLIMTHAIPOST

 

รวม!! นักวิทยาศาสตร์ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย


1,608 ผู้ชม


รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย

รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีผลงานดีเด่น โดยจะประกาศรางวัลในต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี และมอบรางวัลในวันที่ 18 สิงหาคม ซึ่งเป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" โดยถือเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการว่ารางวัลนี้เป็นรางวัลสูงสุดของประเทศสำหรับนักวิทยาศาสตร์พื้นฐานและนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยมีรางวัลเป็นโล่พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และเงินรางวัล 200,000-400,000 บาท พระราชทานโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" ที่งานมหกรรมวิทยาศาสตร์แห่งชาติพร้อมกันกับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ รางวัลนี้สนับสนุนโดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ สวทช. สกว. และเครือซีเมนต์ไทย

รางวัลนี้ริเริ่มโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีความห่วงใยต่อสภาวการณ์ที่วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ซึ่งเป็นเสมือนเสาหลักสำหรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ได้รับความสนใจและสนับสนุนเท่าที่ควรจากผู้บริหารและประชาชนทั่วไปในขณะนั้น เยาวชนไทยมีความสนใจมากกว่าในวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ ทั้งที่ประเทศไทยมีนักวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่มีศักยภาพสูงอยู่ไม่น้อย และหากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง จะสามารถส่งต่อผลงานเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ต่อไปได้ จึงได้เกิดความคิดที่จะรณรงค์ให้คนไทยตื่นตัวและภูมิใจในนักวิทยาศาสตร์ไทย เป็นที่มาของการจัดมอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี นอกจากรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแล้ว ทางมูลนิธิฯ ยังจัดมอบ รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และ รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ อีกด้วย

รายชื่อนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น เรียงตามปี

พ.ศ. 2525

ศ. ดร. วิรุฬห์ สายคณิต นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2525 สาขา ฟิสิกส์

พ.ศ. 2526

ศ. นพ. ประเวศ วะสี นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2526 สาขา ชีววิทยา (พันธุศาสตร์)

พ.ศ. 2527

ศ. ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2527 สาขา ชีวเคมี

ศ. ดร. ม.ร.ว. พุฒิพงศ์ วรวุฒิ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2527 สาขา สรีรวิทยาการสืบพันธุ์

พ.ศ. 2528

ศ. ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2528 สาขา ชีวเคมี (พันธุวิศวกรรม)

พ.ศ. 2529

ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2529 สาขา เคมี

พ.ศ. 2530

ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2530 สาขา ฟิสิกส์ทฤษฎี

พ.ศ. 2531

ศ. ดร. สถิตย์ สิริสิงห นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2531 สาขา จุลชีววิทยา

พ.ศ. 2532

ศ. ดร. ถาวร วัชราภัย นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2532 สาขา พฤกษศาสตร์

พ.ศ. 2533

ศ. ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2533 สาขา ชีววิทยา(พันธุศาสตร์)

รศ. สดศรี ไทยทอง นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2533 สาขา สัตววิทยา

  • ปริญญาตรี สาขาสัตววิทยา (เกียรตินิยมอันดับสอง) จาก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ระดับปริญญาโท ด้านปาราสิตวิทยา จาก มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2534

ศ. ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2534 สาขา วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

พ.ศ. 2535

ศ. ดร. อมเรศ ภูมิรัตน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2535 สาขา เทคโนโลยีชีวภาพ

พ.ศ. 2536

ศ.เกียรติคุณ ดร. ณัฐ ภมรประวัติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2536 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์

พ.ศ. 2537

ศ. นพ. อารี วัลยะเสวี นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2537 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์

  • ปริญญาต แพทยศาสตรบัณฑิต จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปริญญาเอก ด้านแพทยศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา
  • สถานที่ทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.กิตติคุณ นพ. วิศิษฏ์ สิตปรีชา นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2537 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์

พ.ศ. 2538

ศ. ดร. ประเสริฐ โศภน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2538 สาขา เซลล์ชีววิทยา

พ.ศ. 2539

ศ. ดร. วัลลภ สุระกำพลธร นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2539 สาขา ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์

พ.ศ. 2540

ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2540 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์ – วิทยาการระบาด

  • ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จาก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สถานที่ทำงาน ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสตับอักเสบ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ. ดร. ประพนธ์ วิไลรัตน์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2540 สาขา ชีวเคมี

พ.ศ. 2541

รศ. ดร. อภิชาต สุขสำราญ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2541 สาขา เคมีอินทรีย์

รศ. ดร. ศกรณ์ มงคลสุข นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2541 สาขา เทคโนโลยีชีวภาพ

พ.ศ. 2542

ศ. ดร. วันเพ็ญ ชัยคำภา นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2542 สาขา วิทยาภูมิคุ้มกัน

พ.ศ. 2543

ศ. ดร. สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2543 สาขา เทคโนโลยีพลังงาน

ศ. ดร. จงรักษ์ ผลประเสริฐ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2543 สาขา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

พ.ศ. 2544

ศาสตราจารย์. ดร. เกตุ กรุดพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2544 สาขา เคมีวิเคราะห์

พ.ศ. 2545

ศ. ดร. ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2545 สาขาชีวเคมี

ศาสตราจารย์ นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2545 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

พ.ศ. 2546

ศ. ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2546 สาขา เคมี

รศ. ดร. สุพจน์ หารหนองบัว นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2546 สาขา เคมี

พ.ศ. 2547

ศ. นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2547 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์

  • ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สถานที่ทำงาน สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ และศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2548

นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2548 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์

นพ. บุญส่ง องค์พิพัฒนกุล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2548 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์

พ.ศ. 2549

ศ.ดร.ปิยะสาร ประเสริฐธรรม

ศ.ดร.สมชาย วงษ์วิเศษ

 พ.ศ. 2550

ศ.ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี
ศ.ดร.สมพงษ์ ธรรมพงษา
  • ปริญญาตรี
  • ปริญญาเอก
  • สถานที่ทำงาน ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 พ.ศ. 2551

ศ.ดร.วัชระ กสิณฤกษ์
ศ.ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร

อัพเดทล่าสุด