เพชรสังฆาต


957 ผู้ชม


เพชรสังฆาต

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cissus quadrangularis  L.

วงศ์   Vitaceae

ชื่ออื่น :  ขั่นข้อ (ราชบุรี) สันชะควด (กรุงเทพฯ) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยม เป็นข้อต่อกัน มีมือสำหรับเกาะยึดออกตางข้อต่อตรงข้ามใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อต้น รูปสามเหลี่ยม ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่างๆ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน  ก้านใบยาว 2-3 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ ดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านด้านนอกมีสีแดง ด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปด้านล่าง เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดงเข้มเกือบดำ เมล็ดกลม สีน้ำตาล มี 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  
น้ำจากต้น เถา ใบยอดอ่อน  ราก

สรรพคุณ :

  • น้ำจากต้น - ใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรีประจำเดือนไม่ปรกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร

  • ใบยอดอ่อน - รักษาโรคลำไส้เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย

  • ใบ ราก - เป็นยาพอก

  • เถา - ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  • ยาแก้ริดสีดวงทวาร 
    1. ใช้เถาสด 2-3 องคุลีต่อหนึ่งมื้อ รับประทานสดๆ ถ้าเคี้ยวจะคันปากคันคอ เพราะในสมุนไพรนี้จะมีสารเป็นผลึกรูปเข็มอยู่มาก เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่พบในต้นบอน ต้นเผือก การรับประทานจึงใช้สอดไส้ในกล้วยสุก หรือมะขาม แล้วกลืนลงไป รับประทาน 10-15 วัน จะเห็นผล
    2. ใช้เถาตากแห้ง บดเป็นผง ใส่แคบซูล ขนาดเบอร์ 2 (ผงยา 250 มิลลิกรัม) รับประทานครั้งละ 2 แคบซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน รับประทาน 5-7 วัน อาการจะดีขึ้น รับประทานต่อจะหาย

สารเคมี : 
          เถา มีผลึก calcium oxalate รูปเข็มเป็นจำนวนมากต้นสด 100 กรัม ประกอบด้วย carotene 267 มก., ascorbic acid (Vitamin C.) 398 มก.

อัพเดทล่าสุด