ต้นข่อย ข่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ ประโยชน์ของต้นข่อย
กลุ่มยาแก้ปวดฟัน ข่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus asper Lour. ชื่อสามัญ : Siamese rough bush, Tooth brush tree วงศ์ : Moraceae ชื่ออื่น : ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี) กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ) ส้มพอ (เลย) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ กิ่งก้านคดงอ เปลือกต้นบาง ขรุขระเล็กน้อย สีเทาอมเขียว มียางสีขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน รูปรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียว สากมือ เนื้อใบหนาค่อนข้างกรอบ ดอก ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ดอกย่อยเล็กมาก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้รวมกันเป็นช่อกลม ก้านดอกสั้น ดอกเพศเมียช่อหนึ่งมีดอกย่อย 2 ดอก ก้านดอกยาว ผล รูปทรงกลม ผลมีเนื้อ ผนังผลชั้นในแข็ง เมื่ออ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองใส เมล็ดเดี่ยว แข็ง กลม สรรพคุณ : กิ่งสด - ทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน ฟันแข็งแรง ไม่ผุ เปลือก - แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เปลือกต้น - แก้ริดสีดวงจมูก เมล็ด รากเปลือก - เป็นยาบำรุงหัวใจ วิธีและปริมาณที่ใช้ใช้ : ทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้ แก้ริดสีดวงจมูก ฆ่าเชื้อโรคในช่องปาก และทางเดินอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ บรรเทาอาการปวดของมดลูกระหว่างมีประจำเดือน สารเคมี : ผล จะมีน้ำมันระเหย 1-1.4% ไขมัน 26% และในน้ำมันนี้จะประกอบด้วยสารพวก เทอปีน (terpenes) อยู่หลายชนิด และพวกเจอรานิออล (geranilo) พวกแอลกอฮอล์การบูน (camphor) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีน้ำตาลอ้อย (sucrose) น้ำตาลผลไม้ (fructose) น้ำกลูโคส ทั้งต้น มีสารพวก ลินาโลออล (linalool โนนานาล (nonanal) ดีคาลนาล (decanal) และวิตามินซี 92-98 มก.% เมล็ด จะมีสารประกอบพวกไนโตรเจน 13-15% และสารอนินทรีย์ 7% มีน้ำมันระเหย 1% ซึ่งมีสารส่วนใหญ่ในน้ำมันระเหยนั้นเป็น d-linalool ประมาณ 70%
ส่วนที่ใช้ : กิ่งสด เปลือก เปลือกต้น เมล็ด ราก ใบ
- ฆ่าเชื้อในช่องปาก และทางเดินอาหาร
- เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้
ใช้กิ่งสด 5-6 นิ้วฟุต หั่นต้มใส่เกลือเคี่ยวให้งวด เหลือน้ำครึ่งเดียว อมเช้า-เย็น
ใช้เปลือกต้มกับน้ำรับประทาน
ใช้เปลือกต้นมวนสูบ
โดยใช้เมล็ด รับประทาน และต้มน้ำอมบ้วนปาก
นำใบมาคั่วให้แห้ง ชงน้ำรับประทาน