กุ๋ยช่าย ผักกุ๋ยช่าย สรรพคุณ กุ๋ยช่าย กลุ่มยาขับน้ำนม


924 ผู้ชม


กุ๋ยช่าย ผักกุ๋ยช่าย สรรพคุณ กุ๋ยช่าย กลุ่มยาขับน้ำนม

กลุ่มยาขับน้ำนม

กุ๋ยช่าย

กุ๋ยช่าย ผักกุ๋ยช่าย สรรพคุณ กุ๋ยช่าย  กลุ่มยาขับน้ำนม

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Allium tuberosum  Rottl. ex Spreng

ชื่อสามัญ   Chinese Chives, Leek

วงศ์   Liliaceae (Alliaceae)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน ยาว 30-40 ซม. โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน ยาว 40-45 ซม. โดยปรกติจะยาวกว่าใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเท่ากัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ยาวประมาณ 5 มม. โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย ดอกบานกว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลกลม กว้างยาวประมาณ 4 มม. ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล แบน ขรุขระ
ส่วนที่ใช้ :  
เมล็ด ต้น และใบสด

สรรพคุณ :

  • เมล็ด 
    - เป็นยาฆ่าสัตว์ต่างๆ ให้ตายได้
    - รับประทานขับพยาธิเส้นด้ายหรือแซ่ม้า
    - รับประทานกับสุราเป็นยาขับโลหิตประจำเดือนที่เป็นลิ่มเป็นก้อนได้ดี
      

  • ต้นและใบสด
    - เป็นยาเพิ่ม และขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด
    - ใช้รับปะทานเป็นอาหาร
    -
     ใช้ฆ่าเชื้อ (Antiseptic)
    - แก้โรคนิ่ว และหนองในได้ดี

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  • เมล็ด 
    - เผาไฟเอาควันรมเข้าในรูหู เป็นยาฆ่าสัตว์ต่างๆ ให้ตายได้
    - บางจังหวัดใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันยางชุบสำลีอุดฟันที่เป็นรูทิ้งไว้ 1-2 วัน เป็นยาฆ่าแมลงที่กินอยู่ในรูฟันให้ตายได้

  • ต้นและใบสด
    - ใช้จำนวนไม่จำกัดแกงเลียงรับประทานบ่อย ขับน้ำนมหลังคลอด
    - ใช้ต้นและใบสด ตำให้ละเอียดผสมกับสุราใส่สารส้มเล็กน้อย กรองเอาน้ำรับประทาน 1 ถ้วยขา แก้โรคนิ่ว และหนองใน

 
กุ๋ยช่าย ผักกุ๋ยช่าย สรรพคุณ กุ๋ยช่าย กลุ่มยาขับน้ำนม

อัพเดทล่าสุด