ไม้ดอก ไม้ประดับ


1,122 ผู้ชม


เทคนิคการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับอย่างถูกวิธี แบบคุณสิทธิพล กลัดทิม

เมื่อเอ่ยถึงไม้ดอกไม้ประดับ ทางผู้เขียนเชื่อว่าทุกบ้านจะต้องปลูกไม้ประดับเหล่านี้ไว้ในบ้านหรือบริเวณบ้านเพื่อประตกแต่งบ้านให้ดูสวยงาม สดชื่น มีชีวิตชีวา   ซึ่งการนำพรรณไม้บางชนิดมาปลูกลงในกระถาง หรือภาชนะสวยงาม จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นไม้ประดับ ตกแต่งอาคารสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัด และสามารถเคลื่อนย้ายไปประดับในสถานที่ต่างๆ ได้ง่าย สะดวกในการดูแลรักษา และโยกย้ายสับเปลี่ยนพรรณไม้ได้ตามความพอใจ ในปัจจุบันไม้ประดับเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

ดินและเครื่องปลูก  ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกพืชทุกชนิด เราจะต้องทำดิน ให้สมบูรณ์ หรือเรียกง่าย ๆว่า “การทำดินให้มีชีวิต”  ดินเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารของคนเรา  ดินจัดได้ว่าเป็นอาหารหมู่ที่ 1ก็คือโปรตีน คนเราถ้าขาดโปรตีน ก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถดึงสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ไปเลื้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร  แคระแกร่ง  ไม่เจริญเติบโต  ก็เช่นเดียวกันกับต้นไม้ ในธรรมชาตินั้น ต้นไม้เจริญเติบโตหรือขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมของพรรณพืชแต่ละชนิด แต่การปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับเป็นการกำหนดให้ต้นไม้ต้องอยู่ในที่ที่จำกัดในภาชนะปลูก ดินหรือเครื่องปลูกจึงมีความจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในการยึดลำต้น การอุ้มน้ำ การถ่ายเทอากาศ และง่ายในการที่รากจะไชชอนได้สะดวก การปลูกพืชในกระถาง รากพืชจะถูกจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะภายในกระถางเท่านั้น   ดังนั้นเพื่อให้พืชเจริญเติบโตตามความประสงค์ของผู้ปลูกเลี้ยง ดินหรือวัสดุปลูกควรมีความอุดมสมบูรณ์ มีคุณภาพดี ซึ่งมีคุณสมบัติโดยทั่วไปดังนี้

1.             ดินร่วนโปร่ง น้ำหนักเบา ระบายน้ำได้ดี ถ่ายเทอากาศได้ทั่วถึง ดูดซับน้ำได้ดี

2.             มีธาตุอาหาร หรือปุ๋ยที่พืชต้องการอย่างสมบูรณ์

3.             ไม่มีความเป็นกรด เป็นด่างมากเกินไป

4.             มีความแน่นพอที่จะยึดให้ลำต้นทรงตัวอยู่ได้

5.             ไม่มีสารเคมีที่เป็นพิษต่อรากพืช

เนื่องจากดินปลูกไม้ดอกไม้ประดับอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด ดินปลูกจึงควรมีลักษณะร่วนโปร่ง อุ้มน้ำ หรือเก็บความชื้นได้ดี สามารถระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศได้ดี ดินทั่วไปมีคุณสมบัติทางเคมี และทางกายภาพที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เหมาะสมเป็นเครื่องปลูกไม้ดอกไม้ประดับจึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพโดยมีวัสดุอื่นๆ เป็นส่วนผสมดังนี้

1.             อินทรีวัตถุ ประกอบด้วย เศษซากใบไม้ผุ เปลือกไม้แห้ง แกลบ ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ ฟางข้าว และเปลือกถั่ว เป็นต้น

2.             ปุ๋ยคอก ประกอบด้วย ขี้วัว ขี้ควาย ขี้หมู ขี้ไก่ และขี้ค้างคาว เป็นต้น

3.             ทราย อิฐป่น และถ่านป่น

วัสดุดังกล่าวเมื่อนำมาผสมกับดินธรรมชาติแล้ว จะมีคุณสมบัติร่วน โปร่ง มีน้ำหนักเบา อินทรีวัตถุ นอกจากจะช่วยปรับสภาพเนื้อดินให้ดีขึ้นแล้ว ยังพบว่ามีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอกไม้ประดับ คือเป็นปุ๋ยโดยตรง  ส่วนเรื่องความเป็นกรด เป็นด่าง (pH) ที่เหมาะสมกับไม้ดอกประดับต่างๆ ดังนี้ ไม้ใบกระถางควรมีค่า pH ระหว่าง 5.5–7.5 ไม้ดอกกระถางควรมีค่า pH ระหว่าง  5.5–6.0   ช่วงความเป็นกรด เป็นด่าง หรือ pH ของดินปลูกระหว่าง 5.5–6.0 ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับไม้กระถาง และไม้ดอกกระถางอายุยืน

คุณสิทธพล  กลัดทิม  บ้านเลขที่ 92/3-5 ซอย สวนผัก 7   แขวงตลิ่งชัน  เขตตลิ่งชัน  กรุงเทพ มหานคร  10170         สมาชิกชมรมเลขที่ 10006473  เป็นหนุ่มเกษตรกร ที่มีอาชีพ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับขายส่งตามร้านค้าที่ขายต้นไม้ริมถนนกาญจนภิเษก (ตลิ่งชัน – สุพรรณบุรี)  พี่สิทธิพลได้ศึกษาวิธีการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ อย่างปลอดสารพิษมานานแล้ว  และก็รู้ด้วยว่าภูไมท์ หรือ ภูไมท์ซัลเฟต  มีประโยชน์กับต้นพืชมาก  ทั้งช่วยในเรื่องของการลดเพลี้ย หนอน ไร รา  เพราะภูไมท์จะปลดปล่อย ซิลิก้าที่ละลายน้ำได้  นำไปสร้างผนังเซลล์พืชทุกชนิด  ให้แข็งแรงยากต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืช และยังทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่จะซื้อ สารกำจัดศัตรูพืชอีกด้วย  แต่ไม่รู้จะซื้อที่ไหน  จนมาได้พบชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  พี่สิทธิพล จึงได้ซื้อ ได้ซื้อภูไมท์  ไปคลุกผสมกับดินก่อนปลูก  โดยมีอัตราส่วนดังนี้

1. ดินร่วน (ดินสีดา)            1  ส่วน

2. ดินใบก้ามปู                       1  ส่วน

3. กาบมะพร้าวสับ               1  ส่วน

4. แกลบ                                1  ส่วน

5. ภูไมท์                                1  ส่วน

คลุกให้เข้ากันแล้วนำไปปลูกกับไม้ดอก ไม้ประดับ  พี่สิทธิพล บอกว่าหลังจากที่ใช้ภูไมท์แล้วรู้สึกว่า ใบพืชเขียวดี  รากออกเยอะ หนอน เพลี้ย ไร รา  พวกแมลงปากดูดน้ำเลี้ยง ก็ไม่ค่อยมารบกวน  ผลตอบรับที่ได้น่าพอใจมาก พี่สิทธิพลได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของทางชมรมหลายตัว คราวหน้าผู้เขียนจะมาแนะนำวิธีการกำจัดเชื้อรา ในไม้ดอก ไม้ประดับ

เขียนและรายงานโดย นางสาวเพชรรัตน์  มีมา 

อัพเดทล่าสุด