ดาวเคราะห์ พบดาวเคราะห์ประหลาดนอกระบบสุริยะอีกแล้ว


777 ผู้ชม


พบดาวเคราะห์ประหลาดนอกระบบสุริยะอีกแล้ว

Artist's impression shows a gas-giant exoplanet transiting across the face of its star. (Credit: ESA/C. Carreau)

 

นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ประหลาดนอกระบบสุริยะอีกดวงหนึ่งแล้ว เป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลเป็น 10เท่าของดาวพฤหัส แต่โคจรรอบดาวแม่ของมันนั้นใช้เวลาน้อยกว่า 1 วันของโลกเสียอีก

 

การค้นพบครั้งนี้มีการเผยแพร่ในนิตยสาร Nature สัปดาห์นี้ โดย โคเอล เฮลลิเออร์ แห่งมหาวิทยาลัยคีล ประเทศสหราชอาณาจักรและเพื่อนร่วมงาน

 

นอกจากนั้น การค้นพบดาวเคราะห์ประหลาดครั้งนี้ยังสร้างโจทย์ข้อต่อไปให้นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาคำตอบเพื่อเข้าใจระบบแรงดึงดูดของระบบดาวเคราะห์ให้แจ่มชัดต่อไปด้วย

 

ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่า WASP-18b ที่เป็นชื่อที่ตั้งโดยหลักการตั้งชื่อดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ โดยชื่อที่รู้จักกันแต่ก่อนนั้นคือ 'จูปิเตอร์ร้อน' อันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่เชื่อกันว่าก่อตัวขึ้นห่างจากดาวแม่ออกไปไกล แต่ในเวลาต่อมาวงโคจรสั้นลงจนเข้ามาอยู่ใกล้ดาวแม่ดังที่เห็นในปัจจุบัน

 

WASP-18b เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่มาก และก็ใกล้กับดาวแม่อย่างมาก อย่ห่างจากดาวแม่ออกมาเพียง3 เท่าของรัศมีดาวแม่เท่านั้น ทำให้เกิดแรงดึงดูดแบบ 'Tidal' (การรับแรงดึงดูดไม่เท่ากันของแต่ละด้านของดาวเคราะห์ เกิดในกรณีที่ดาวดวงหนึ่งอยู่ใกล้กับอีกดวงหนึ่งมาก) ระหว่างดาวฤกษ์กับดาวเคราะห์ดังกล่าว ซึ่งก็เป็นไปได้ที่ในปัจจุบัน ดาวเคราะห์ดวงนี้กำลังถูกดูดเข้าไปสู่ใจกลางดาวฤกษ์แบบก้นหอย แล้วจะถูกกลืนทำลายไปในที่สุด และใช้ระยะเวลานับจากนี้อีกไม่เกิน 1 ล้านปีด้วยซ้ำ

 

เฮลลิเออร์ยังได้ข้อมูลมาด้วยว่าดาวฤกษ์ WASP-18 ที่เป็นดาวแม่นั้นมีอายุได้ 1 พันล้านปีแล้ว โอกาสที่จะพบสังเกตพบดาวฤกษ์ลักษณะอย่างนี้บนโลกมีเพียงแค่ 1 ในพันเท่านั้น

 

แปลจาก : https://www.sciencedaily.com/releases/2009/08/090827132901.htm

อัพเดทล่าสุด