ตัวอย่างโครงงาน ตัวอย่างโครงงานคณิตศาสตร์เรื่อง


2,386 ผู้ชม


ตัวอย่างโครงงานคณิตศาสตร์เรื่อง"ทรงเรขาคณิต"

ระดับชั้น  : ประถมศึกษา
บทคัดย่อ : (ความเป็นมา) การทำทรงเรขาคณิต(ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก) จากเศษกระดาษที่ใช้แล้ว พบว่าการ
               เตรียมเยื่อกระดาษที่ใช้แล้วโดยการปั่นด้วยเครื่องปั่นผลไม้   จะได้เยื่อกระดาษที่ละเอียดนำ
               ไปทำทรงเรขาคณิตได้ดีกว่าวิธีการฉีกกระดาษเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประสานที่ยึดทรงเรขาคณิตได้ดี 
               ควรใช้น้ำแป้งในอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างกระดาษต่อน้ำแป้งคือ  5:1  ทรงเรขาคณิตที่ผลิต
               ได้  มีคุณภาพที่ดีคือคงรูปได้ดี  ทนต่อแรงกระแทก

จุดมุ่งหมาย  : (จุดประสงค์)
                   เพื่อศึกษาการผลิตทรงเรขาคณิตจากเศษกระดาษที่ใช้แล้ว
สมมติฐาน    
: เศษกระดาษที่ใช้แล้วสามารถผลิตเป็นทรงเรขาคณิตได้
เนื้อหา        
: ทรงเรขาคณิต
อุปกรณ์       
: 1. เครื่องปั่นผลไม้
                  2.  กะละมังพลาสติก
                  3.  แผ่นตะแกรงมุ้งลวด
                  4.  แม่พิมพ์ทรงเรขาคณิต 
                  5.  บิกเกอร์
                  6.  หลอดแก้ว
                  7.  ไม้บรรทัด
                  8.  เตาแก๊ส
                  9.  กาวน้ำ
                  10. กาวลาเท็กซ์
                  11. แป้งเปียก
                  12. สี
วิฑีดำเนินการ 
: 
                  1.  นำกระดาษมาแช่น้ำหนึ่งคืน  โดยแบ่งเป็นสองส่วน  ส่วนหนึ่งนำไปฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ อีก
                       ส่วนหนึ่งนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่นให้เป็นเยื่อกระดาษ
                  2.  เทน้ำผสมกระดาษผ่านตะแกรงมุ้งลวด
                  3.  นำน้ำเยื่อกระดาษผสมกับตัวประสาน  3  ชนิด คือ  กาว  กาวลาเท็กซ์  แป้งเปียก  ใน
                       อัตราส่วน เยื่อกระดาษ
: ตัวประสาน  คือ 5:1 
                  4.  นำเยื่อกระดาษที่ผสมกับตัวประสาน 3 ชนิดแล้ว  เทใส่แม่พิมพ์ทรงเรขาคณิต
                  5.  นำไปตากแดด  3 - 4 วัน  บันทึกผล
                  6.  แกะออกจากแม่พิมพ์  นำไปตากแดดอีก  1  -  2  วัน    บันทึกผล
                  7.  ทาสีให้สวยงาม
                  8.  เปรียบเทียบความแน่นของเนื้อกระดาษ ความคงทน  และความทนต่อแรงกระแทก
สรุปผลการดำเนินงาน
:
                  1.  จากการศึกษาวิธีเตรียมเศษกระดาษ   2  วิธีพบว่า  วิธีการปั่น  จะได้รูปทรงเรขาคณิตที่
                       ละเอียด คงที่กว่า
                  2.  ตัวประสานทั้ง  3  ชนิด สามารถยึดทรงเรขาคณิตได้  แต่น้ำแป้ง เหมาะที่สุด  เพราะว่าทำ
                      ให้ทรงเรขาคณิตมีคุณภาพดี เนื้อแน่น  คงรูปได้ดี  ทนต่อแรงกระแทก
                  3.  ได้ทรงเรขาคณิตที่ต้องการ
ข้อเสนอแนะ  
:

                  สามารถดัดแปลงเพื่อทำภาชนะอื่น ๆ ได้อีก  เช่นกระถางดอกไม้  แท่งเพาะชำ  แท่งเศษส่วน
                  ป้ายนิเทศ  นาฬิการจำลอง  และอื่น ๆ

อัพเดทล่าสุด