ไฟฟ้ากระแสสลับความถี่และคาบเวลา
ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current)
ไฟฟ้ากระแสสลับ คือ ไฟฟ้าที่ลักษณะการไหลของกระแสไฟฟ้าที่เปลี่ยนทิศทางตลอดเวลา คือ ขณะหนึ่งมีค่าเป็น 0 แล้วจะเพิ่มขึ้นมีค่าสูงสุดในทิศทางบวกแล้วลดลงเป็น 0 ต่อจากนั้นก็จะมีค่าเพิ่มขึ้นอีกจนถึงค่าสูงสุด และทิศทางลบแล้วจะลดลงเป็น 0 อีก จะสลับกันไปตลอดเวลา ถ้าไฟฟ้ากระแสสลับมีความถี่คงที่ กระแสไฟฟ้าที่จะไหลก็จะเปลี่ยนทิศทางคงที่ตามไฟด้วย
การสร้างไฟฟ้ากระแสสลับ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับมีลักษณะการทำงาน คือ จะทำการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับนี้ สามารถที่จะผลิตแรงดันไฟฟ้า AC ได้โดยใช้หลักการของการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นขบวนการของการเหนี่ยวนำแรงดันไฟฟ้าในลวดตัวนำ โดยลวดตัวนำจะเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก
กฎมือซ้ายสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สามารถถูกใช้ในการหาทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำที่เคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก เมื่อนิ้วหัวแม่มือจะแทนทิศทางการเคลื่อนที่ของลวดตัวนำ นิ้วชี้แทนทิศทางของการแนวฟลักซ์แม่เหล็กจากเหนือไปใต้ และนิ้วกลางจะแทนทิศทางของกระแสที่ไหลในลวดตัวนำ สำหรับค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุดจะถูกเหนี่ยวนำเมื่อแนวการเคลื่อนที่ของลวดตัวนำตั้งฉากกับแนวของฟลักซ์ และเมื่อแนวการเคลื่อนที่ของลวดตัวนำไปอยู่ในแนวขนานกับแนวของฟลักซ์ จะทำให้ไม่มีแรงดันไฟฟ้าเกิดขึ้น จากรูปที่ 1 แสดงลงลวดตัวนำที่หมุนผ่านสนามแม่เหล็ก โดยที่ในตำแหน่ง A แนวการเคลื่อนที่ของวงลวดตัวนำจะขนานกับแนวของเส้นแรงแม่เหล็กซึ่งในสภาวะนี้จะไม่มีแรงดันไฟฟ้าถูกเหนี่ยวนำขึ้นในวงลวดตัวนำเลย และเมื่อวงลวดตัวนำถูกหมุนมาอยู่ในตำแหน่ง B จะทำให้มันตัดกับแนวเส้นแรงแม่เหล็กขึ้น และแรงดันไฟฟ้าถูกเหนี่ยวขึ้นสูงที่สุดเมื่อแนวทิศทางการเคลื่อนที่ของวงลวดตัวนำที่มุมฉากกับแนวเส้นแรงแม่เหล็ก และเมื่อวงลวดตัวนำหมุนต่อไปจนถึงตำแหน่ง C ซึ่งมันจะตัดผ่านแนวเส้นแรงแม่เหล็กเพียง 2-3 เส้น ทำให้แรงดันไฟฟ้าถูกเหนี่ยวนำลดลง จาการเคลื่อนที่ของวงลวดตัวนำจากตำแหน่ง A C จะกล่าวได้ว่า ขดลวดตัวนำหมุนไป 180 องศา และเมื่อวงลวดตัวนำหมุนต่อไปจนถึงตำแหน่ง D จะส่งผลให้เกิดการสลับของทิศทางของการไหลของกระแส และแรงดันไฟฟ้าจะถูกเหนี่ยวนำขึ้นสูงสุดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อแนวการเคลื่อนที่ของวงลวดตัวนำตั้งฉากกับแนวเส้นแรงแม่เหล็กและวงลวดตัวนำจะเคลื่อนที่กลับไปอยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นที่ E ซึ่งแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะกลับไปสู่ O
การสลับ คือใน 1 ไซเคิล จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เหมือนกัน
ในแต่ละครั้งที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ จะกล่าวได้ว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับทำงานได้ 1 ไซเคิล และแรงดันไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะเรียกว่าแรงดันไฟฟ้า 1 ไซเคิลเช่นกัน และในทำนองเดียวกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับก็จะผลิตกระแสไฟฟ้าในวงจรที่สมบูรณ์แบบออกมา 1 ไซเคิลเช่นกัน และสำหรับการเปลี่ยนแปลงของทั้งสองซีกของไซเคิลนี้เรียกว่า การสลับ (Alternation) สำหรับวงลวดตัวนำที่หมุนนี้เรียกว่า อาร์เมเจอร์ (Armature) และแรงดันไฟฟ้า AC นั้นจะถูกเหนี่ยวนำในอาร์เมเจอร์ และเคลื่อนที่จากตอนปลายของวงลวดตัวนำผ่านหน้าสัมผัสที่เคลื่อนที่ได้ซึ่งติดอยู่ตรงปลายของอาร์เมอเจอร์ วงแหวน 2 วงจะถูกเรียกว่า สลิปริง ซี่งจะถูกยึดติดกับตอนปลายของวงลวดตัวนำและแปรงถ่าน จะเป็นส่วนที่รับแรงดันไฟฟ้า AC จาก สปริง และสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับที่อธิบายมานี้จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้า AC ที่ค่าต่ำ ๆ ดังนั้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับจะต้องมีจำนวนของวงลวดตัวนำเพิ่มขึ้น จึงจะทำให้แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำสูงขึ้น
สำหรับรูปคลื่นที่ถูกผลิตโดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับจะถูกเรียกว่า รูปคลื่นซายน์หรือคลื่นรูปซายน์ (Sinusoidal waveform หรือ Sine wave) สำหรับคลื่นรูปซายน์เป็นคลื่นพื้นฐานที่นิยมใช้มากที่สุดในบรรดาคลื่นกระแสสลับทั้งหมด มันสามารถผลิตได้ทั้งวิธีทางกลและทางไฟฟ้า คลื่นรูปซายน์ถูกแจกแจงด้วยฟังก์ชันซายน์ในตรีโกณมิติ ซึ่งคลื่นรูปซายน์จะเปลี่ยนแปลงจาก 0 ไปจนถึงค่าสูงสุดของฟังก์ชันซายน์ โดยทั้งแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าจะอยู่ในรูปซายน์
ค่าใช้งาน (Effective value) ของไฟฟ้ากระแสสลับ คือ จำนวนที่คำนวณจากองศาของความร้อนที่ให้โดยตัวต้านทานซึ่งจะเปรียบเทียบเสมือนกับจำนวนของไฟฟ้ากระแสตรง
ค่าที่ใช้งานสามารถหาได้โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่ารูทมีนสแคว (root mean square process) ดังนั้นค่าใช้งานจะเป็นค่าเดียวกับค่า rms จากการที่ใช้ขั้นตอนของ rms จะได้ว่าค่าใช้งานของคลื่นซายน์จะเท่ากับ 0.707 เท่าของค่ายอด เมื่อแรงดันไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้า AC ที่ให้มาไม่มีข้อกำกับมาจะถือว่าเป็นค่าที่ใช้งาน และมิเตอร์ส่วนมากจะถูกปรับแต่งให้แสดงแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าออกมาเป็นค่าที่ใช้งานหรือ rms
คาบ (Period) คือเวลาที่ต้องการสำหรับการสร้างคลื่นซายน์ 1 ไซเคิล ซึ่งมีหน่วยการวัดเป็นวินาที (Second, s) และใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัว T
จำนวนของไซเคิลที่ปรากฏในคาบเวลาหนึ่ง ๆ ถูกเรียกว่า ความถี่ (frequency, f) ซึ่งความถี่ของคลื่นไฟฟ้ากระแสสลับรูปซายน์จะถูกแสดงในรูปของไซเคิลต่อวินาที และหน่วยของความถี่คือ เฮิรตช์ (Hertz, Hz) เพราะฉะนั้น 1 เฮิรตช์จะเท่ากับ 1 ไซเคิลต่อวินาที
สนใจ สามารถอ่านต่อเพื่มเติมได้ที่ https://www.geocities.com/web_2el/html/electric_6.htm ตามไปดูได้เลยค่ะ