ตระกูลช้าง เป็นไปตามอนุกรมวิธาน ดังนี้
Kingdom : Animalia Phylum : Chordata Class : Mammalia Order : Proboscidea ลักษณะเด่นของสัตว์ใน Proboscidea คือ - มีร่างกายใหญ่โต จมูกและริมฝีปากบนยาว ที่เรียกว่า "งวง" ใช้สำหรับหายใจ จับสิ่งของ และจับอาหารเข้าปาก ฟันหน้าเจริญไปเป็น "งา" ฟันกรามมีขนาดใหญ่ ไม่เกิน 1 คู่ (แต่ช้างโบราณบางชนิด เช่น Dinitherium มีงาที่กรรไกรล่างคู่หนึ่ง และช้างโบราณพวก Tetrabelodon มีงาที่กรรไกรบนคู่หนึ่ง และที่กรรไกรล่างอีกคู่หนึ่ง) ไม่มีฟันเขี้ยว
- ขาใหญ่ตรงลักษณะคล้ายต้นเสา ขาหน้ามีกระดูก radius และ ulnar บริบูรณ์ ขาหลังก็มีกระดูก tibia และ fibula บริบูรณ์ เท้ามีนิ้วข้างละ 5 นิ้ว แต่เล็บนิ้วก้อยบางตัวนั้นชักจะค่อยๆ หายไป
- มีกระเพาะอาหารแบบธรรมดา ไม่ได้เป็นกระเพาะอาหาร Compound แบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง อย่างวัวหรือควาย
- ตัวผู้ลูกอัณฑะอยู่ในท้อง ไม่อยู่ในถุงห้อยออกมาอย่างสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ เช่น เสือ วัว ควาย กวาง และสุนัข เป็นต้น ส่วนตัวเมียมดลูกแยกเป็น Bicornuate และมีเต้านม 1 คู่ อยู่ที่หน้าอกระหว่างขาหน้าทั้ง 2 ข้าง
ช้างโบราณมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน จัดในพวกต่างๆ คือ - Elephas 7 ชนิด
- Mastodon 8 ชนิด
- Dinotherium 2 ชนิด
- แต่ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียง Family Elephantidae เพียง Family เดียว มี 2 Genus คือ Genus Elephas ได้แก่ ช้างเอเซีย (Species Elephas maximus) และ Genus Loxodonta ได้แก่ ช้างแอฟริกา (Species Loxodonta africana)
ภาพแสดง Anatomy ของช้างแอฟริกา Clik เพื่อดูภาพขยายใหญ่ ภาพจาก https://www.biologycorner.com
ช้างเอเซีย | ช้างแอฟริกา | Kingdom : Animalia Phylum : Chordata Class : Mammalia Order : Proboscidea Family : Elephantidae Genus : Elephas Species : Elephas maximus
| Kingdom : Animalia Phylum : Chordata Class : Mammalia Order : Proboscidea Family : Elephantidae Genus : Loxodonta Species : Loxodonta africana
|
อ้างอิง ช้างไทยในความทรงจำ. พระไพศาล วิสาโล. สำนักพิมพ์ใจสบาย นนทบุรี. 2537. รศ.สวง บุณยวณิชย์, 2534 สัตว์วิทยามีกระดูกสันหลัง ZO411, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ. https://animaldiversity.ummz.umich.edu/chordata/mammalia/proboscidea.html ภาพช้างไทยจาก มูลนิธิเพื่อนช้าง รวบรวมข้อมูลโดย : งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด |