ศัพท์คอมพิวเตอร์


745 ผู้ชม


ศัพท์คอมพิวเตอร์                                                                                                                                                                                                                 

         ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์มีบทบาทมากมายในชีวิตประจำวัน แต่หลายๆคนยังตามเทคโนโลยีตัวนี้ไม่ทันเพราะ ศัพท์คอมพิวเตอร์มีความหมายเฉพาะ ผิดธรรมดา

คอมพิวเตอร์ (Computer)
หมายถึง เครื่องทรมานชนิดหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องแรกประดิษฐ์ขึ้นโดย โรเจอร์ บิลลิงส์ลีย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทรมานจอมเผด็จการฮิตเลอร์ โรเจอร์เสแสร้งเป็นพันธมิตรเยอรมันและมอบสิ่งประดิษฐ์ของเขาเป็นของขวัญให้ จอมเผด็จการ แผนได้ผลในวันที่8 เมษายน1945 ฮิตเลอร์ อารมณ์เสียอย่างหนักเมื่อเจอไวรัสกินฐานข้อมูลเสียหายยับเยินจนทำให้เยอรมันแพ้ หมดรูป ฮิตเลอร์ตัดสินใจฆ่าตัวตายหลังสงครามโลก โรเจอร์หันมาทำงานให้บริษัทไอบีเอ็ม

ฮารด์แวร์ (Hardware) 
คืออุปกรณ์ทุกส่วนของคอมพิวเตอร์ที่สร้างมาให้ยากต่อการใช้ (Hard) กระด้าง (Hard) ปราศจากน้ำใจ (Hard) อึด ทนต่อความรุนแรง (Hard) จึงสามารถทุบตีตบเตะได้ตามใจปรารถนา หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) คืออุปกรณ์ทำหน้าที่บวก ลบ คูณ หาร หรือ คิดเมื่อได้รับคำสั่ง ความเร็วในการคิดขึ้นกับชิพ หรือสัตว์ที่ใช้ขับเคลื่อน รุ่น 386 เคลื่อนด้วยหอยทาก รุ่น 486เคลื่อนด้วยหนอน และรุ่น 586 ใช้ตัวตุ่น

เครื่องพิมพ์ (Printer) 
หมายถึงอุปกรณ์ที่ทำให้หัวร่อมิได้ร่ำไห้มิออก บางคนเรียก ตัวกินกระดาษโครงสร้างสำคัญของพรินเตอร์มีเพียง 3 ส่วน คือ หนึ่ง ฝาครอบ สอง ช่องป้อนกระดาษที่ติดขัดตลอดปี และสายไฟกะพริบสีแดงบอกว่าเครื่องพิมพ์ขัดข้องตลอดปีเช่นกัน นิสัยเฉพาะของพรินเตอร์คือ ไม่ชอบพิมพ์สิ่งที่สั่งให้พิมพ์ ชอบพิมพ์สิ่งที่เราไม่ได้สั่งให้พิมพ์ และดื้อด้าน ไม่ยอมหยุดเมื่อเราสั่งให้หยุด

หน่วยความจำหรือเมโมรี (Memory) 
ฟังจากชื่อ มันคือส่วนที่ฉลาดที่สุด แต่จากการกระทำมันโง่ที่สุด อะไรไม่ได้สักอย่างถนัดแต่โต้เถียงและชอบโยนความผิดให้อุปกรณ์ตัวอื่นที่ไม่มี ปากเสียง เมโมรีเป็นอาหารชั้นดีของไวรัส

นักเขียนโปรแกรม (Programmer) 
สมัยเรียนหนังสือ เขาคือเพื่อนของเรา คนที่ชอบเล่นเกมในห้องเรียน ใส่แว่นตาหนาเตอะ เกรด เฉลี่ยใกล้ๆสี่ ขี้งก หวงวิชา ไม่คบคน ไม่เล่นกีฬา เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เลือกเรียนคอมพิวเตอร์เพราะไม่อยากคบมนุษย์ ดังนั้นเมื่อเขียนโปรแกรม จึงเป็นผลให้โปรแกรมกับผู้ใช้งานติดต่อกันไม่รู้เรื่อง

คู่มือการใช้เครื่อง (Reference Manual) 
วัตถุหนา เหมาะที่จะใช้รองใต้จอมอนิเตอร์ เพื่อยกจอให้อยู่ระดับสายตา ภาษาที่ใช้เขียนคู่มือ นิยมใช้ภาษาบาลีและขอม จึงต้องศึกษาทางธรรมมากๆจึงจะไม่คลุ้มคลั่งเวลาอ่าน

ช่องสัญญาณเข้าออก (Input/Output) 
หมายถึงช่องทางติดต่อระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ ช่องอินพุท คือ ช่องทางข้อมูลจากตัวเราไหลผ่านคีย์บอร์ดเข้าสู่คอมพิวเตอร์ นำข้อมูลที่พิมพ์อย่างบรรจง เว้นวรรค จัดรูปแบบ ตรวจทาน ทุ่มเทเวลาและกำลังงานเพื่อให้ข้อมูลเข้าสมบูรณ์พร้อม ส่วนช่องเอ๊าท์พุท คือ ช่องถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปยังพรินเตอร์ ข้อมูลที่ออกมามักเป็นขยะ ตัว อักษรประหลาดที่จะทำให้คุณกระอักเลือดด้วยความแค้น

ความช่วยเหลือ (Help) 
ในทุกโปรแกรมจะมีช่องความช่วยเหลือกรณีที่คุณพบปัญหาในการทำงาน ช่อง Help จะช่วยทำปัญหา เล็กๆ ที่คุณสงสัยกลายเป็นปัญหาใหญ่ ช่วยให้คุณสับสน ขาดความมั่นใจหรืออาจทำให้เครื่องแฮงก์เพราะใช้ความจำเกินพิกัด

ผู้ใช้ (User) 
เป็นคำเรียกรวมๆ หมายถึงคนที่ถูกทรมาน มักมีอาการจ้องมองหน้าจออย่างไร้จุดหมาย แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ เริ่มต้น ปานกลางและเชี่ยวชาญ ระดับเริ่มต้น คือคนที่นั่งนิ่งๆหน้าจอ ไม่กล้ากดปุ่มใดๆเลย เพราะกลัวเครื่องจะพัง ระดับปานกลาง คือคนที่กดปุ่มไปเรื่อยจนเครื่องพัง ระดับผู้เชี่ยวชาญ คือคนที่ทำเครื่องของเพื่อนพังบ่อยๆ แต่ของตัวเองไม่เป็นไร

โปรแกรมรุ่นอัลฟา (Alpha)
เป็นโปรแกรมทดสอบ ที่ผู้ผลิตลองวางตลาดเพื่อฟังข้อคิดเห็นจากผู้ใช้ อัลฟาเป็นภาษาละตินแปลว่า ไม่เคยทำงานได้

โปรแกรมรุ่นเบต้า (Bata) 
เป็นโปรแกรมทดสอบที่ออกหลังรุ่นอัลฟา โดยผู้ผลิตนำข้อคิดเห็นจากผู้ใช้รุ่นอัลฟาไปปรับปรุงใหม่ เบต้าเป็นภาษาละตินแปลว่า ก็ยังทำงานไม่ได้เหมือนเดิม เป็นมิตรกับผู้ใช้ (User Friendly) ท่องไว้ในใจเสมอว่าไม่เคยมีมิตรแท้และศัตรูถาวรในวงการคอมพิวเตอร์และวงการเมือง

ขอขอบคุณ https://www.thaidvd.com ที่เอื้อเฟื้อบทความ

อัพเดทล่าสุด