กระชาย กระชาย พืชสมุนไพรไทย ที่ทรงคุณค่าในทางโภชนาและยารักษาโรค


963 ผู้ชม


ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อวิทยาศาสตร์

Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf.,
Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr.,
Gastrochillus panduratus (Ridl.) Schltr.

ชื่อวงศ์

Zingiberaceae

ชื่ออังกฤษ

-

ชื่อท้องถิ่น

กะแอน, ขิงทราย, จี๊ปู, ซีฟู, เป๊าะซอเร้าะ, เป๊าะสี่, ระแอน, ว่านพระอาทิตย์

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

1.  ฤทธิ์ขับลม

                    กระชายมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีฤทธิ์ขับลม (1)

2.  ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

                    กระชายสามารถลดการบีบตัวของลำไส้หนูตะเภา (2, 3) และหนูขาว (4-7) โดยกระชายมีสาร cineole มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ (8, 9) ซึ่งเป็นสาเหตุการปวดเกร็งได้

3.  ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุอาการแน่นจุกเสียด

                    กระชายสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli (10-13) ซึ่งเป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด โดยกระชายมีสาร pinostrobin และ panduratin A มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ (10)

4.  ฤทธิ์ลดการอักเสบ

                    กระชายสามารถลดการอักเสบ (14-17) โดยกระชายมีสาร 5, 7-dimethoxyflavone มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ postaglandin (15) และ pinostrobin มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase-2 (17) ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบได้

                5. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

                    5.1 การศึกษาความเป็นพิษ

                    จาก hippocratic screening เมื่อใช้ 5, 7-dimethoxyflavone จากกระชายในขนาด 3 ./กก. (10 เท่าของขนาดรักษาการอักเสบ) พบพิษต่ำมาก และไม่พบการตายในหนูถีบจักร โดยทำการสังเกตใน 7 วัน แต่จะลดการหายใจ และอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากการกดประสาทส่วนกลาง (14)

                    5.2 พิษต่อเซลล์

                    สารสกัดเมทานอลของกระชายความเข้มข้น 20 มคก./มล. เป็นพิษต่อเซลล์ Raji (18)

                    5.3 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

                    สารสกัดรากกระชายกับน้ำร้อนและน้ำในขนาด 0.5 ซี.ซี./แผ่น ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ B. Subtilis ทั้ง 2 สายพันธุ์ H-17 (Rec+) และ M-45 (Rec-) รวมทั้งเมื่อใช้น้ำคั้นจากรากสดก็ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ (19) แต่จะเสริมฤทธิ์ของสารa-amino-3, 8-dimethylimindazo (4, 5-¦) quinoxaline ในการก่อมะเร็งในตับ (20) นอกจากนี้สาร pinocembrin chalone, pinocembrin, cardamonin และ pinostrobin จากกระชายมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ (21)

การใช้กระชายรักษาอาการแน่นจุกเสียด

                     นำเหง้าแห้งประมาณครึ่งกำมือต้มเอาน้ำดื่ม (22)

อัพเดทล่าสุด