"ทักษิน" คืนอัตราแม่พิมพ์เกษียณ ศธ.100%
คัดลอกจาก นสพ.ไทยรัฐ
ฉบับวันที่ 13 ตุลาคม 2547
นายอดิศัย โพธารามิก รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการนำนายอารีย์ วงศ์อารยะ รมช.ศึกษาธิการ ผู้ช่วยรัฐมนตรี และผู้บริหารทั้ง 5 องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เข้าพบ พ.ต.ท.ทักษิน ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ต.ค. ได้รายงานการทำงานในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยประเด็นสำคัญคือทิศทางยุทธศาสตร์ของ ศธ.ที่กำหนดชัดเจน และนำไปสู่การปฏิบัติที่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งนายกฯ เห็นว่าวันนี้ ศธ.ได้รับการตอบรับจากประชาชนมากขึ้น และสามารถบริหารงานต่อไปได้นอกจากนี้ได้รายงานการนำเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีทีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งนายกฯว่า ศธ. ต้องการคอมพิวเตอร์ 2.5 แสนเครื่อง หรือ 1 ต่อ 25 เครื่อง แต่ ร.ร.ขนาดเล็กขาดแคลนคอมฯ 7,000-8,000 โรง และไม่มีโทรศัพท์เข้าถึง 10,000 กว่าโรง นายกฯได้สั่งการให้กระทรวงไอซีทีติดตั้งโทรศัพท์ ให้คครบทุกโรงเรียนใน 31 ธ.ค. นี้ ส่วนคอมฯให้หลักการว่าภายในปี 48 ไม่เกินปี 49 ทุก ร.ร. ต้องมีคอมพิวเตอร์ใช้รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สำหรับการพัฒนาครูนั้น ได้จัดตั้งองค์กรขึ้นมา เพื่อวางแผนการใช้บุคลากรในระยะยาว อีกทั้งนายกฯ เห็นว่าข้าราชการครูอยู่ในภาวะที่ขาดแคลนประกอบกับมีข้าราชการครูเข้าร่วมโครงการเกษียณก่อนกำหนดจำนวนมากจึงเห็นชอบให้คืนอัตราข้าราชการครูที่เข้าร่วมโครงการฯให้แก่ ศธ. ทั้ง 100% จากเดิมที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) คืนอัตราให้เพียง 50% ซึ่งจะจัดทำแผนว่า ศธ. ขาดครูกี่คน ที่ใดสาขาใดบ้างก่อนที่เสนอขอคืนอัตราจากสำนักงาน ก.พ. ต่อไป ทั้งนายกฯ ยังได้เสริมเกี่ยวกับเรื่องนมโรงเรียนว่า ที่ผ่านมายังติดปัญหาในจุดต่างๆ หายไปกับการคอรัปชั่นบ้างทำให้เด็กไม่ได้รับนมที่ดี จึงมีแนวคิดที่จะให้มีการจัดนมให้เป็นถังและใส่ไว้ที่ ร.ร. ใครต้องการรับประทานก็มากดดื่มได้เลย โดยได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) หาวิธีที่จะจัดทำถังบรรจุนมสำหรับให้เด็กดื่มโดยไม่เสียได้รศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เผยว่า นายกฯเห็นชอบสิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รายงานการเปลี่ยนระบบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา จากระบบเอ็นทรานซ์เป็นระบบกลางคัดเลือกนิสิตนักศึกษาหรือระบบแอดมิชชั่น ซึ่งจะใช้ในปี 49 และกำชับให้ สกอ. ดูแลการพัฒนาอาจารย์การสร้างความคล่องตัวของระบบบริหารมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐหรือมหาวิทยาลัยอิสระ และการจัดทำมหาวิทยาลัยเสมือน |