ข่าวการศึกษา Participle (1)


693 ผู้ชม


หลานถามเรื่อง participle ลุงนิติภูมิขอตอบแบบไม่มีการออกแขกว่า participle มี 2 แบบครับ แบบแรกคือ present participle หมายถึงเอากริยามาเติม -ing แบบที่สอง คือ past participle ได้แก่รูปกริยาช่องที่ 3 หรือ n-form รับใช้เรื่อง present participle ก่อนครับ ก่อนอื่นต้องทราบว่า verb + ing มี 2 อย่าง ถ้าทำหน้าที่เป็น "คำนาม" ในประโยค verb + ing นั้นก็คือ gerund แต่ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของกริยาวลี ที่ไปทำหน้าที่ "ขยาย" เราเรียกว่า present participle Present participle ให้ความหมายในทาง active ลุงหมายถึง นามที่ถูกขยายความเป็นผู้กระทำกริยานั้น เช่น a hunting animal สัตว์ตัวนี้เป็นผู้ล่า ไม่ใช่เป็นผู้ถูกล่า หรือ a boring person คนที่น่าเบื่อหน่าย (เป็นคนน่าเบื่อหน่ายเอง ไม่ได้ถูกทำให้น่าเบื่อหน่าย) a growing boy เด็กที่กำลังโต หรือ boiling water น้ำที่กำลังเดือด คราวนี้มาดู past participle กันบ้าง อันนี้ก็คือ กริยาช่อง 3 หรือ n-form เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของกริยาวลี ทำหน้าที่ขยาย จะให้ความหมายว่าถูกกระทำ หรือเป็นผู้กระทำ ก็ขึ้นอยู่กับว่ากริยาที่เป็นช่อง 3 นั้น เป็นสกรรมกริยา หรืออกรรมกริยา สกรรมกริยา transitive verb กริยาที่มีกรรมมารองรับได้ กริยาพวกนี้ เมื่อนำมาทำเป็น past participle จะสื่อความหมายไปในทาง passive เช่น a broken car รถที่พังแล้ว (รถพังเองไม่ได้ ต้องถูกทำให้พัง) หรือ boiled water น้ำที่ถูกต้มให้เดือดแล้ว (ผิดกับ boiling water อันนี้หมายถึง น้ำกำลังเดือด) พรุ่งนี้มาว่ากันต่อครับ. นิติภูมิ นวรัตน์

อัพเดทล่าสุด