ข่าวการศึกษา Participle (2)/ longevity


850 ผู้ชม


เมื่อวานผมรับใช้ถึงเรื่อง past participle ซึ่งก็คือ กริยาช่อง 3 หรือ n-form เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของกริยาวลี ทำหน้าที่ขยาย จะให้ความหมายว่าถูกกระทำ หรือเป็นผู้กระทำ ก็ขึ้นอยู่กับว่ากริยาที่เป็นช่อง 3 นั้น เป็นสกรรมกริยา หรือ อกรรมกริยา สกรรมกริยา transitive verb กริยาที่มีกรรมมารองรับได้ กริยาพวกนี้ เมื่อนำมาทำเป็น past participle จะสื่อความหมายไปในทาง passive เช่น a broken car รถที่พังแล้ว (รถพังเองไม่ได้ ต้องถูกทำให้พัง) หรือ boiled water น้ำที่ถูกต้มให้เดือดแล้ว เมื่อวานผมเรียนไปแล้วว่า ผิดกับ boiling water หมายถึง น้ำกำลังเดือด ส่วนอกรรมกริยา หรือ intransitive verb หรือกริยาที่ไม่มีกรรมมารองรับ กริยาพวกนี้เมื่อนำมาเป็น past participle จะสื่อความactive ของกริยานั้นๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ยกตัวอย่าง the risen sun อันนี้หมายถึง ดวงอาทิตย์ที่ขึ้นมาแล้ว หรือ the departed tourists หรือนักท่องเที่ยวผู้ที่จากไปแล้ว Past participle นี่นะครับ เมื่อประสมกับคำอื่น ก็อาจจะมีความหมายเท่ากับ present participle ได้ ยกตัวอย่างเช่น a handwritten letter จดหมายที่เขียนด้วยมือ a handmade wood box กล่องไม้ที่ทำด้วยมือ ก่อนจบขอตอบคำถามเรื่อง longevity หน่อยครับ ออกเสียงว่า ลอน" เจฝอิติ อันนี้หมายถึง ชีวิตที่ยืนยาว เป็นคำนามนะครับ ในปัจจุบัน ทุกวันนี้ ทุกเวลานาที Thai people bless the King for his longevity. ประชาชนคนไทยถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้พระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาที่ยืนยาว. นิติภูมิ

อัพเดทล่าสุด