ดอกกล้วยไม้ ส่วนประกอบของดอก


1,256 ผู้ชม


 ลักษณะดอกกล้วยไม้สกุลต่าง ๆ

 

ส่วนประกอบของดอก

 


                กลีบเลี้ยง (sepal)
                             กลีบเลี้ยงเรียบตัวอยู่รอบนอกสุด จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อคว่ำดอกดูบาง ชนิด กลีบเลี้ยง ทั้งสามมีลักษณะคล้ายกัน และหลายชนิดมีกลีบเลี้ยงที่มีลักษณะแตกต่างกัน คือ แยกเป็นกลีบเลี้ยงบน (dorsal sepal) อยู่ในตำแหน่งหลังเส้าเกสร และกลีบเลี้ยงด้านข้าง (lateral sepal) 2 กลีบ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน แต่อาจจะต่างจากกลีบเลี้ยงบน และบางสกุลกลีบเลี้ยงด้านข้างเชื่อมติดกันหรือบางสกุลกลีบเลี้ยงทั้งสามเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ หลายแยกเป็นแฉก

                                                                                                                           

คลิกดูกลีบเลี้ยง

คลิกดูกลีบดอก

                 กลีบดอก (petal)
                              กลีบดอกเรียงตัวเป็นชั้นถัดเข้าไปจากชั้นกลีบเลี้ยง ประกอบด้วยกลีบดอกด้านข้าง (lateral petals) ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนกลีบดอกอีก 1 กลีบนั้นมีลักษณะที่แตกต่างจากกลีบดอกด้านข้างอย่างชัดเจน นิยมเรียกกันว่า กลีบปาก (lip) บางคนเรียกกลีบกระเป๋าซึ่งมักจะเป็นส่วนเด่นที่สุดของดอก มีความหลากหลายหรือวิจิตพิสดารต่าง ๆ กันไปตามสกุลและชนิด เช่น เป็นแผ่นที่แยกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงโคนกลีบปาก (hypochile) กับช่วงปลายกลบีปาก (epichile) ซึ่งทั้งสองช่วงมักจะมีลักษณะต่างกัน หรือแยกเป็น 3 ส่วน มีช่วงกลางหรือช่วงคอกกลีบปาก (mesochile) เพิ่มขึ้น ช่วงโคนกลีบปากบางชนิดมีหูกลีบปาก (slide lobe) และช่วงปลายกลีบปากหลายชนิดหยักเว้าหรือพับจีบ หรือมีชายครุย ทางด้านบนแผ่นกลับปากอาจจะมีสัน (kell) เป็นแนว หรือตุ่มเนื้อเยื่อ (callus) ลักษณะต่างๆ กันนอกจากนั้นช่วงโคนหรือใกล้โคน หรืออาจจะเป็นส่วนใหญ่ ของกลีบปากยังมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นถุง (saccate) หรือเป็นเดือย (spur) ซึ่งมีลักษณะและขนาดแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดกลีบปากของกล้วยไม้ส่วนใหญ่มักจะอยู่ทางด้านล่างของดอก (resupinate) ซึ่งเกิดจากการบิดตัวของดอกในระยะที่เป็นดอกอ่อน อีกพวกมีกลีบปากอยู่ทางด้านบน (nonresupinate) 
                                                                            

               ปาก (LIP)

               ปาก (Lip) ซึ่งทั้งสองช่วงมักจะมีลักษณะต่างกัน หรือแยกเป็น 3 ส่วน มีช่วงกลางหรือช่วงคอกกลีบปาก (mesochile) เพิ่มขึ้น ช่วงโคนกลีบปากบางชนิดมีหูกลีบปาก (slide lobe) และช่วงปลายกลีบปากหลายชนิดหยักเว้าหรือพับจีบ หรือมีชายครุย ทางด้านบนแผ่นกลับปากอาจจะมีสัน (kell) เป็นแนว หรือตุ่มเนื้อเยื่อ (callus) ลักษณะต่าง ๆ กันนอกจากนั้นช่วงโคนหรือใกล้โคน หรืออาจจะเป็นส่วนใหญ่ของกลีบปากยังมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นถุง (saccate) หรือเป็นเดือย (spur) ซึ่งมีลักษณะและขนาดแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดกลีบปากของกล้วยไม้ส่วนใหญ่มักจะอยู่ทางด้านล่างของดอก (resupinate) ซึ่งเกิดจากการบิดตัวของดอกในระยะที่เป็นดอกอ่อน อีกพวกมีกลีบปากอยู่ทางด้านบน (nonresupinate) 
                                                                                                  

คลิกดู ปาก กล้วยไม้

                                           เส้าเกสร (staminal column)

เส้าเกสร

 


             ส่วนที่สำคัญและเป็นลักษณะเฉพาะของกล้วยไม้ คือ เส้าเกสร ซึ่งเป็นที่รวมของวงหรือชั้นเกสรเพศผู้และส่วนของเกสรเพศเมียเข้าไว้ด้วยกัน มีลักษณะเป็นแท่งอยู่ตรงกลางดอก ส่วนบนสุดมักจะมีฝาเล็ก ๆ (anther cap หรือ operculum) ปิดคลุมกลุ่มเรณูไว้ ต่ำลง มาทางด้านหน้าของเส้าเกสรซึ่งหันข้าสู่กลีบปาก มีแอ่งเว้าลึกเข้าไปในเส้าเกสร ภายในมีน้ำเหนียว ๆ คือส่วนยอดของเกสรเพศเมีย (stigma) ซึ่งมีลักษณะและตำแหน่งที่อยู่เปลี่ยนแปลงไป ต่างจากดอกไม้ชนิดอื่น ๆ ซึ่งปกติอยู่ที่ยอด เหนือส่วนเว้าที่เป็นแอ่ง ในกล้วยไม้บางกลุ่มอาจจะมีการเจริญของเนื้อเยื่อออกไปเป็นจะงอย (rostellum) ซึ่งนับเป็นส่วนของเกสรเพศเมียที่เป็นหมัน ส่วนด้านข้างของยอดเส้าเกสรทั้งสองข้างก็อาจจะมี stylid ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นหรือเป็นแผ่น โคนเส้าเกสรก็เช่นเดียวกัน บางกลุ่มมีการเจริญของเนื้อเยื่อโคนเส้าเกสรยืดออกไปเป็นคาง (mentum) กลีบเลี้ยงคู่ข้างในบางชนิดจะติดอยู่ 2 ข้างของส่วนที่ยืดออกไปนี้ และกลีบปากติดที่ปลายสุด ซึ่งเมื่อดูจากภายนอกจะเห็นคล้ายๆ เป็นถึงเส้าเกสรมีรูปลักษณ์ต่างๆ กันในแต่ละชนิดหรือแต่ละสกุล และใช้ในการจัดจำแนกกล้วยไม้ได้
                                                          

 

อับเรณู (anther)

คลิกดูภาพอับเรณู

 

               อับเรณูของกล้วยไม้ส่วนใหญ่มีเพียง 1 อัน (ยกเว้นวงศ์ย่อย Apostasioideae และ Cypripedioideae ซึ่งมีจำนวน 3 และ 2 อัน ตามลำดับ) ติดอยู่ที่ส่วนบนสุดของเส้าเกสรมีฝาครอบกลุ่มเรณูที่มักจะหลุดร่วงง่าย (ยกเว้นในวงศ์ย่อย Neottioideae และ Orchidioideae ที่ฝาปิดกลุ่มเรณูไม่หลุดร่วง แต่จะแตกตามยาว) อับเรณูในแต่ละสกุลมีจำนวนกลุ่มละอองเรณูต่างๆ กัน ตั้งแต่ 2 ไปจนถึง 8 กลุ่ม มีทั้งแบบที่ละอองเรณูแต่ละกลุ่มเป็นอิสระ และแบบที่ยึดติดกันแน่นกับแผ่นบางใส เรียกชุดกลุ่มเรณู (pollinarium) รูปแบบต่าง ๆ กัน ส่วนแผ่นหรือแถบเยื่อที่คล้ายก้านยึดติดกับกลุ่มเรณู เรียกว่าก้านกลุ่มเรณู (caudicle หรือ stipe) ที่ปลายอีกด้านของแผ่นเยื่อมักจะแผ่นแบนเป็นแป้นหรือเป็นตุ่ม และมีสารเหนียว ๆ ซึ่งทำให้ชุดกลุ่มละอองเรณูเกาะติดไปกับหัวหรือขาของแมลงที่มาที่ดอกกล้วยไม้ได้โดยง่าย เรียกปุ่มหรือแป้นก้านกลุ่มเรณู (viscidium)
                                                              

 รังไข่ (ovary)
  

                  ส่วนล่างสุดต่ำกว่าเส้าเกสร คือ รังไข่ ซึ่งอยู่ใต้ขั้นวงกลีบและต่อเนื่องไปกับก้านดอกแต่มักจะเห็นขอบเขตได้ค่อนข้างชัดเจน คือบริเวณที่เป็นรังไข่มักจะป่องพองกว่าส่วนที่เป็นก้านดอก และมักจะมีร่องตามยาว 3-6 ร่อง ภายในรังไข่มีออวุล (ovule) ขนาดเล็กจนเกือบเป็นผงจำนวนมากมายนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับดอกอีกส่วนหนึ่ง คือส่วนที่เรียกว่าใบประดับ (bract) และใบประดับย่อย (bracteole) อยู่ตรงบริเวณที่ก้านดอกหรือก้านดอกย่อยต่อกับต้นหรือแกนช่อดอก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของกล้วยไม้บางชนิด เช่น เอื้องเต่าทอง Eria ornata(Blume) Lindl. 
                                                                                                                         

 ช่อดอกและการเรียงตัวของดอก

คลิกดูภาพขยาย
คลิกดูรูปขยาย 

                 เมื่อเจริญสมบูรณ์เต็มที่ กล้วยไม้จะสร้างดอกเพื่อสืบพันธุ์ จุดที่ช่อดอกแตกออกมานั้นมีทั้งจากปลายยอด จากซอกใบใกล้ปลาย ยอด จากข้อตามลำต้น หรือที่โคนข้างลำต้น ช่อดอกมีทั้งที่เป็นช่อหรือดอกเดี่ยวลักษณะช่อดอกมีทั้งตั้งขึ้นจนถึงห้อยลงกล้วยไม้ดินโดย ส่วน ใหญ่จะ ออกดอก เป็นช่อจากปลายยอด ได้แก่ สกุลนางอั้ว (Habenaria spp.) สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum  spp.) สกุล นางอั้วสาคริก (Pecteilis  spp.) สกุลนางตาย (Peristylus  spp.) ที่ออกดอกตามข้อใกล้ปลายยอด อาทิ เอื้องสีลา (Corymborkis veratrifolia ) บางชนิดในสกุลเอื้องพร้าว (Phaius  spp.) หรือบางชนิดออกดอกจากโคนลำต้นหรือข้างลำลูกกล้วย เช่น สกุลนกแก้วปากหงาย (Acanthephippium  spp.) สกุลเอื้องน้ำต้น (Caloanthe  spp.) และสกุลเอื้องสีลา (Tainia  spp.) ฯลฯ กล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญ ทางยอด ส่วนใหญ่แตกช่อดอกออกตามข้อโดยออกตรงข้ามกับใบ เช่นสกุลงูเขียว (Luisia  spp.) สกุลเอื้องแมงมุม (Thrixspermum  spp.) หรือออกตามซอกใบ เช่น สกุลเข็ม (Ascocentrum  spp.) สกุลฟ้ามุ่ย (Vanda  spp.) กล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญทางข้าง จะแตกช่อดอกได้หลายจุด เช่น ออกเป็นช่อจากโคนลำลูกกล้วย ได้แก่ สกุลสิงโต (Bulbophyllum  spp.) สกุลกระสวย (Panisia  spp.) สกุลกะเรกะร่อน (Cymbidium  spp.) ฯลฯ หรือที่เป็นดอกออกเดี่ยว ๆ จากโคนลำลูกกล้วย เช่น บางชนิดในสกุลสิงโต (Bulbophyllum  spp.) หรืออกดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อตามข้อใกล้ปลายยอดหรือที่ปลายยอด เช่น สกุลเอื้องหมาก (Coelogyne  spp.) สกุลเอื้องกว่าง (Epigeneium  spp.) สกุลเอื้องลำต่อ (Pholidota  spp.) สกุลหวาย (Dendrobium  spp.) และสกุลก้านก่อ (Eria  spp.) ลักษณะช่อดอกส่วนใหญ่เป็นแบบช่อกระจะ (raceme) เช่น สกุลสิงโต (Bulbophyllum  spp.) สกุลประกายพรึก (Cheirostylis  spp.) สกุลกะเรกะร่อน (Cymbidium  spp.) สกุลหวาย (Dendrobium  spp.) และสกุลแมงมุม (Thrixspermum  spp.) หรือช่อแยกแขนง (panicle) เช่น บางชนิดในสกุลช้างดำ (Pomatocalpa  spp.) บางชนิดในสกุลเอื้องจิ๋ว (Schoenorchis  spp.) หรือช่อดอกคล้ายรูปพัดซึ่งพบในสกุลพัดโบก (Cirrhopetalum  spp.) หรือช่อเป็นกระจุกแน่น (capitulum, head) เช่น บางชนิดในสกุลสิงโต (Bulbophyllum  spp.) สกุลว่านจูงนาง (Geodorum  spp.) หรือที่เป็นดอกเดี่ยว เช่น สิงโตสยาม (Bulbophyllum siamense ) ฯลฯ
(สวนพฤษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริติ์, 2545)   

 

                                                               

อัพเดทล่าสุด