ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์นั้นมีลักษณะรูปร่าง องค์ประกอบ และขนาดที่ผิดแผกแตกต่างกันไป ตั้งแต่ดาวเคราะห์ขนาดเล็กไปจนกระทั่งดาวก๊าซขนาดมหึมา
นอกจากนั้นแล้วดาวเคราะห์ครอบครัวของดวงอาทิตย์เหล่านี้บางดวงยังมีลักษณะบางอย่างเด่นมากๆที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นไม่มีอีกด้วย
เว็ปไซต์ สเปซ ดอท คอม ได้จัดอันดับ ท๊อป 10 ลักษณะเด่นของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเอาไว้ มาดูกันว่า ลักษณะเด่นที่ว่านั้นคืออะไรและอยู่ที่ดาวเคราะห์ดวงใดกันบ้าง
เกิดขึ้นที่ ดาวศุกร์ แม้ว่าดาวศุกร์จะเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สองต่อจาก ดาวพุธก็ตาม ทว่า บรรยากาศที่หนาแน่นและก๊าซพิษซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนก๊าซเรือนกระจกเช่น เดี่ยวกับก๊าซที่เกิดขึ้นในบรรยากาศของโลกดักจับความร้อนเอาไว้
ปรากฎการณ์นี้ทำให้อุณหภูมิของดาวศุกร์สูงถึง 870 องศาฟาเรนไฮท์ หรือ 465 องศาเซลเซียส ร้อนมากพอที่จะละลายตะกั่วได้
เกิดขึ้นที่ ดาวพุธ ด้วยระยะทางที่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทุกดวง อุณหภูมิของดาวพุธในเวลากลางวันอาจจะสูงถึง 840 องศาฟาเรนไฮท์ หรือ 450 องศาเซลเซียส
แต่ว่าดาวพุธมีบรรยากาศไม่มากพอที่จะดักจับความร้อนไว้ เหมือนดาวศุกร์ดังนั้นอุณหภูมิในเวลากลางคืนจึงดึ่งลงไปถึง -275 องศาฟาเรนไฮท์ หรือ -170 องศาเซลเซียส
ไม่มีดาวเคราะห์ดวงใดที่อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า 1,100 องศาฟาเรนไฮท์
เกิดบน ดาวเนปจูน ดาวเนปจูนมีกระแสลมที่ความเร็วมากว่า 1,500 ไมล์ต่อชั่วโมงปรากฎการ์นี้ยังคงเป็นปริศนาว่าดาวเนปจูนได้รับพลังงานที่ทำ ให้เกิดกระแสลมที่เร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทุกดวงได้อย่างไร
ทั้งๆที่มันอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากและบางครั้งไกลกว่าดาวเคราะห์แคระพลูโตด้วยซ้ำไปและยังมีความร้อนภายในค่อนข้างน้อยอีกด้วย
มันไม่เหมือนดาวเคราะห์ไดๆเลย ดาวยูเรนัส หมุนรอบตัวเองในลักษณะตะแคงข้าง ที่เป็นเช่นนี้เพราะแกนของมันเอียง
นักดาราศาสตร์เชื่อว่าลักษณะที่ผิดปกตินี้เกิดขึ้นจากการถูกชนโดยดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกหลังจากดาวยูเรนัสก่อกำเนิดได้ไม่นานนัก
อยู่บน ดาวอังคาร ดาวเคราะห์ดวงนี้มีภูเขาสูงที่สุดและหุบเหว (valley) ที่ลึกและยาวที่สุดในระบบสุริยะ
ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) มีความสูงประมาณ 17 ไมล์ หรือ 27 กิโลเมตร สูงประมาณ 3 เท่าของภูเขาเอเวอร์เรสต์บนโลกเรา
หุบเหวมาริเนอริส (Valles Marineris) มีความลึกถึง 5-6 ไมล์ หรือ 8-10 กิโลเมตรในบางพื้นที่ และยาว 2,500 ไมล์ หรือ 4,000 กิโลเมตร เกือบเท่าความกว้างของออสเตเลียเลยทีเดียว
ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่สวยทีสุดในระบบสุริยะเพราะวงแหวนที่สวยงามของมัน แต่วงแหวนใหม่ที่ค้นพบล่าสุดเมื่อปี 2009 นั้นไกลเกินกว่านักดาราศาสตร์จะจินตนาการได้
วงแหวนใหม่นี้มืดมัวเกินกว่าที่จะเห็นจากโลก มันมีขนาดใหญ่กว่าดาวเสาร์ถึง 200 เท่า กว้างขนาดบรรจุดาวเคราะห์โลกได้นับล้านดวงเลยทีเดียว
เกิดบน ดาวอังคาร เป็นพายุฝุ่นขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะครอบคลุมพื้นที่ดาวอังคารได้ทั้งดวงและกินเวลานานหลายเดือน
ทฤษฎี หนึ่งอธิบายสาเหตุว่าเป็นเพราะอนุภาคฝุ่นในอากาศดูดกลืนแสงอาทิตย์บรรยากาศ บริเวณใกล้เคียงจึงร้อนขึ้น จากนั้นอากาศที่ร้อนได้ไหลไปยังบริเวณที่เย็นกว่าทำให้เกิดกระแสลมพัดพาฝุ่น บนพื้นผิวขึ้นสู่อากาศทำให้อากาศร้อนขึ้นไปอีก
ปรากฎการณ์นี้ยิ่งทำให้เกิดแระแสลมมากขึ้นและพัดฝุ่นขึ้นสู่อากาศมากขึ้นด้วย
ยานแคสสินีค้นพบปรากฎการณ์บน ดาวเสาร์ ที่น่าตื่นตะลึง นั่นคือรูปทรงหกเหลี่ยมของดาวเสาร์ (Hexagon Shape) กว้างขนาดเท่ากับโลกสองดวง
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันน่าจะเกิดจากเส้นทางของกระแสลมกรด (Jet Stream)
ลักษณะภูมิประเทศที่เด่นที่สุดบน ดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ (The Great Red Spot) รูปไข่สีแดง มันคือพายุขนาดใหญ่ที่เห็นมานานกว่า 300 ปีแล้ว
พายุนี้มีขนาดใหญ่ประมาณสามเท่าของโลก
โลก มีมหาสมุทรที่เต็มไปด้วยน้ำ ดาวเคราะห์ที่คล้ายโลกมากที่สุดคือดาวอังคารครั้งหนึ่งก็เคยมีมหาสมุทรหรือ ทะเล แต่สิ่งที่ดาวอังคารและดาวเคราะห์ดวงอื่นไม่มีอย่างโลกนั่นคือ ก๊าซออกซิเจนจำนวนมากในชั้นบรรยากาศ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บริวารของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ (คลิก)