ดอกไม้ในวรรณคดี ที่มา พร้อมบทกลอน


11,295 ผู้ชม


ดอกไม้ในวรรณคดี ที่มา พร้อมบทกลอนดอกไม้ในวรรณคดี ที่มา พร้อมบทกลอนดอกไม้ในวรรณคดี ที่มา พร้อมบทกลอน

 

  ดอกไม้ในวรรณคดี

ดอกไม้ในวรรณคดี ไทย หมายถึง ดอกไม้ที่บรรดากวีไทยท่านได้พรรณาไว้เป็นบทร้อยกรองอย่างไพเราะในหนังสือวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์  อิเหนา เงาะป่า ดาหลัง ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี บทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ดอกไม้ในวรรณคดี  กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลงนิราศทองแดง ดอกไม้ในวรรณคดี นิราสหริภุญชัย นิราศพระประธม นิราศสุพรรณ นิราศเมืองแกลง นิราศภูเขาทอง ดอกไม้ในวรรณคดี นิราศอิเหนา นิราศเจ้าฟ้าลิลิตพระลอ และลิลิตตะเลงพ่าย

    เป็นความสามารถเฉพาะตัวของกวีไทย ดอกไม้ในวรรณคดี ที่ได้พรรณาชื่อดอกไม้หลายชนิดไว้อย่างไพเราะ ดอกไม้ในวรรณคดี ทั้งลักษณะ สีสัน กลิ่น ทำให้ผ้อ่านเกิดมโนภาพ ประทับใจ เหมือนได้ไปอยู่ ณ ที่ด้วย  หวังว่าสิ่งที่เรียบเรียงมาคงจะเป็นประโยชน์และเกิดความประทับใจกับการพรรณาของกวีไทยบ้าง

จากการศึกษาจะเห็นได้ว่า ดอกไม้ในวรรณคดี ส่วนใหญ่มักเป็น ดอกไม้ในวรรณคดี ที่มีสีสัน
สวยงาม  และมีชื่อเป็นมงคล   ดอกไม้ในวรรณคดี จะพบมากในวรรณคดีเรื่องอิเหนา  พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัย ( รัชกาลที่ ๒ )   และ ดอกไม้ในวรรณคดี วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน   พระราชนิพนธืในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ( รัชกาลที่ ๑ ) ดอกไม้ในวรรณคดี ส่วนใหญ่มักจะแต่งเป็นคำประพันธ์ประเภทนิราศ  อันได้แก่  บทประพันธ์  นิราศธารโศก   ของ  เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์  ( เจ้าฟ้ากุ้ง )  นิราศพระบาท  ของ  พระสุนทรโวหาร  ( สุนทรภู่ )  เป็นต้น  นอกจากนั้น ดอกไม้ในวรรณคดี ยังมีบทประพันธ์ประเภท  โคลง  ฉันท์  กาพย์  ลิลิต อีกด้วย  เช่น  บทละครนอกเรื่องคาวี  พระราชนิพนธ์ใน     พระบาทสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัย ( รัชกาลที่ ๒ ) บทละครเรื่องเงาะป่า พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ( รัชกาลที่ ๕ )  มัทนะพาธา  ดอกไม้ในวรรณคดี พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ( รัชกาลที่ ๖ ) ดอกไม้ในวรรณคดี  โคลงนิราศนรินทร์  ของ  นายนรินทร์  ธิเบศร์ ( อิน ) บทละครเรื่องพระอภัยมณี ของ พระสุนทรโวหาร ( สุนทรภู่ ) ลิลิตพระลอ  โคลงโลกนิติ  ขุนช้างขุนแผน   ดอกไม้ในวรรณคดี กาพย์พระไชยสุริยา  บุณโณวาทคำฉันท์  ดอกไม้ในวรรณคดี กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง    ลิลิตตะเลงพ่าย    เป็นต้น

กาพย์เห่เรือ
                                                                              นายฉันท์  ขำวิไล

"ทานตะวันหันรับแสง          พระแสดงแจงธรรมา
  ล้ำเลิศเกิดปัญญา              ด้วยศรัทธาที่เบิกบาน
  การะเวกเหมือนเอกองค์   พระผู้ทรงสุขสำราญ
 เป็นเอกวิเวกหวาน              โปรดประทานพระสัทธรรม
  กาหลงสัตว์หลงโลก          ว่ายเวียนโศกสุดระกำ
 ทุกข์โทษที่ครอบงำ            พระเอาธรรมนำไคลคลา
  เกศแก้วอันแพร้วเพริศ      ดังแก้วเกิดอยู่เกศา
 ส่องแสงแจ้งอุรา                 เพราะวิชชาปัญญาญาน"

"ขจรกลิ่นขจาย  ธรรมบรรยายยิ่งนิยม
 ปรีดาสุขารมย์   คลายระทมตรมหทัย"

  "กระดังงาจำปาเทศ  เหมือนเสด็จแดนสวรรค์
 อินทราและเทวัญ      ทุกช่อชั้น  มาชื่นชม"

เสภาขุนช้างขุนแผน
 
             "เย็นพระพายชายเฉือยมาเรือยริน       หอมประทินซ่อนขู้ดอกบุหงา
 พอเบี่ยงบ่ายชายแสงสุริยา                              สาริการ้อยก้องสนั่นไพร
 ฝูงนางนวลแนบนวลแล้วชวนพลอด                ขึ้นจับเจ่าเฝ้ายอดไม้เรียวไผ่ 
 ฝูงนกเขาจับเขาไม่เศร้าใจ                               เสียงคูลั่นหวั่นไหวก้องวนา
 เค้าโมงจับโมกชะโงกมอง                                มักกู่ก้องฟังเสียงสำเนียงจ้า
 นกกะลิงจับกิ่งกระดังงา                                    เสียงกระทาขันก้องคะนองไพร"
      (ตอนพลายเพชรยกทัพไปช่วยพลายบัวตีเมืองลำพูน)


 
          "เจ้าพลายงามตามทางไปกลางทุ่ง           เขม้นมุ่งเขาเขินเดินสะอื้น
 ออกหลังบ้านตาลตะคุ่มเป็นพุ่มฟื้น                    ร่มรื่นเรียงเคียงตะเคียน
 ต้นแคคางกร่างกระทุ่มชอุ่มออก                       ทั้งช่อดอกดูไสวเหมือนไม้เขียน"
        (ตอนกำเนิดพลายงาม)


 
         "นกหกสล้างในกลางเถือน      บ้างถาเพื่อนเที่ยวคะนองบ้างร้องโต้
 นกแก้วป้อนลูกบนต้นชงโค       แล้วบินโผพูดจ้ออยู่จอแจ
 ดูแม่นกแล้วคะนึงถึงคุณย่า       เคยพูดเล่นเจรจาประจ๋อประแจ๋
 ฝูงนก  เอี้ยงเรียงจับต้นแกแล       เหมือนหม่อมแม่เคียงเราเฝ้าชมเชย"


 
       "กุมารทองนำหน้าพาจร              ข้ามดอนเขาเขินเนินไศล
      พระพายพัดเกสรขจรไกล           หอมตรลบอบไปในพนา
      ดื่นดอกออกช่อบุปผชาติ            ดาดาษหว่างเวิ้งวังหวัดผา
      จึงชี้ชวนวันทองน้องพี่อา             เจ้าดูพรรณบุปผาน่ายวนใจ
      นางแย้มเยิ้มยิ้มอยู่ริมไพร           เหมือนที่ไร่ฝ่ายพิมพ์เจ้ายิ้มแย้ม
      ซ่อนชู้ ชูช่ออรชน                         เหมือนเราซ่อนเป็นคู่ชู้แฉล้ม
      ซ่อนกลิ่นส่งกลิ่นประทิ่มแกม      เหมือนกลิ่นแก้มโฉมยงเมื่อส่งตัว
      เล็บมือนางกางกลีบกระทัดรัด     เหมือนมือเจ้าปรนนิบัติพัดวีผัว
      บานเย็นบานสะพรั่งฝั่งสระบัว      เหมือนเย็นเช้าเย้ายั่วอยู่กับน้อง
      มะลิวัลย์พันระกำขึ้นแกมจาก     ได้สามวัดกรรมพรากไปจากห้อง"
                                                                                          (ตอนขุนช้างตามนางวันทอง)

ที่มา : https://www.geocities.com/thaiflowers_2000/
           https://www.student.chula.ac.th/~47437567/webpage/first.htm
           https://www.thaigoodview.com/node/16888

ดูหัวข้ออื่นๆ

ดอกไม้ สารพัดเรื่องดอกไม้ 
ดอกไม้ในวรรณคดี ที่มา พร้อมบทกลอน 
ชื่อดอกไม้ 
ชวนชมยักษ์ซาอุ ชวนชม ยักษ์ ซา อุ 

 ดูทั้งหมด 

อัพเดทล่าสุด