ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ


1,739 ผู้ชม


ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ  ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ


ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ดาวเนปจูน (Neptune)
ดาวเนปจูน(หรือที่คนไทยเรียกดาวเกตุ) เป็นดาวเคราะห์สุดท้ายคือลำดับที่ 8 ในระบบสุริยะที่มีขนาดเล็กที่สุดและหนาวเย็นที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์แก๊ส ยักษ์ทั้งสี่ ดาวเนปจูนถูกค้นพบในปี 1846
 
  ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ดาวยูเรนัส (Uranus)
ดาวยูเรนัส(หรือที่คนไทยเรียกดาวมฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ถูกค้นพบโดยเซอร์วิลเลียม เฮอร์เซล (Sir William Herschel)
..
  ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ดาวเสาร์ (Saturn)
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 6 ในระบบสุริยะซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากดาวพฤหัสบดี โดยเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลจากโลกมากที่สุดที่สามารถมองเห็นจากโลกได้ ด้วยตาเปล่า องค์ประกอบหลักของดาวเสาร์จะเป็นแก๊สและของเหลว
 
  ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)
ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะ มีน้ำหนักประมาณ 2.5 เท่าของน้ำหนักของดาวเคราะห์ดวงที่เหลือในระบบสุริยะรวมกัน และมีจำนวนดาวบริวารที่มากที่สุดอีกด้วย
 
  ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ดาวอังคาร (Mars)
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ในลำดับที่สี่ จากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวเคราะห์ลำดับสุดท้ายของดาวเคราะห์หิน บางครั้งเรามักเรียกดาวอังคารว่า "ดาวแดง" (Red Planet) เนื่องจากดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต
 
  ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ โลก (Earth)
โลกที่อยู่อาศัยของมนุษย์เรานั้นเป็นดาว เคราะห์ลำดับที่ 3 ในระบบสุริยะ โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์หินทั้งสี่ในระบบ สุริยะ โลกนั้นถือกำเนิดเมื่อ 4.54 พันล้านปีมาแล้ว
 
  ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ดาวศุกร์ (Venus)
ดาวศุกร์เป็นดาวดวงที่สองในระบบสุริยะและ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่มีความคล้ายคลึงกับโลกมากที่สุดในเรื่องของ ขนาด มวล และความหนาแน่น บางคนจึงเรียกดาวศุกร์ว่าดาวฝาแฝดหรือดาวน้องสาวของโลก
 
  ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ดาวพุธ (Mercury)
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ดวงลำดับแรกในระบบ สุริยะ (Solar system) คือเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ดาวพุธเป็นดาวที่สว่างมากเมื่อมองจากโลกแต่ว่าสามารถสังเกตเห็นได้ยากเนื่อง จากดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก
 
  ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์ (Sun)
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ที่ศูนย์กลาง ของระบบสุริยะซึ่งถือกำเนิดขึ้นมากว่า 4.6 พันล้านปี ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่ามวลรวมของดาวเคราะห์ทั้งหมดในระบบสุริยะถึง 750 เท่า แกนกลางของดวงอาทิตย์เปรียบเสมือนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชัน
 

------------------------

โดย สมคิด จรัสกิจวิกัยกุล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 51 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ เขตหนองจอก กรุงเทพ 10530
โทร 02-988-3655, 02-988-3666 โทรสาร 02-988-4040 E-mail: [email protected]


ดาวเนปจูน (Neptune)
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย) 4.5 พันล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย) 24766 กิโลเมตร (3.883 เท่าของโลก)
มวล 1.0243x1026 kg (17.147 เท่าของโลก)
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 60190 วัน (164.79 ปี)
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 16.11 ชั่วโมง
จำนวนดาวบริวาร 13
สัญลักษณ์ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
อุณหภูมิ -200 องศาเซลเซียส

ดาวเนปจูน(หรือที่คนไทยเรียกดาวเกตุ) เป็นดาวเคราะห์สุดท้ายคือลำดับที่ 8 ในระบบสุริยะที่มีขนาดเล็กที่สุดและหนาวเย็นที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์แก๊ส ยักษ์ทั้งสี่ (ได้แก่ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน) ดาวเนปจูนถูกค้นพบในปี 1846 ซึ่งถือว่าดาวเนปจูนเป็นดาวดวงแรกที่ถูกค้นพบได้ด้วยการคำนวนทางคณิตศาสตร์ ต่างกับดาวเคราะห์ดวงอื่นที่ถูกค้นพบด้วยการสังเกตการณ์ เนื่องจากนักดาราศาสตร์ได้พบว่าวงโคจรของดาวยูเรนัสมีการเปลี่ยนแปลงเนื่อง จากอิทธิพลของแรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่งซึ่งในขณะนั้นยังไม่ทราบว่า เป็นดาวเคราะห์ดวงใด ดาวเนปจูนจึงถูกค้นพบหลังจากนั้นในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับที่นักดาราศาสตร์ ได้คำนวนไว้
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ภาพวาดยานวอยเอเจอร์ 2 ขณะเดินทางไปถึงดาวเนปจูนและดวงจันทร์ Triton ของดาวเนปจูน
ภาพจาก https://cache-media.britannica.com/eb-media/12/74312-004-0405861C.jpg

ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยเดินทางไปสำรวจดาวเนปจูนคือยานวอยเอ เจอร์ 2 (Voyager 2) ซึ่งได้เดินทางไปถึงดาวเนปจูนในปี 1989 พร้อมทั้งถ่ายภาพดาวเนปจูนในระยะใกล้เป็นภาพแรกกลับมายังโลก นอกจากนั้นยังได้ถ่ายภาพยืนยันว่าดาวเนปจูนมีวงแหวนอีกด้วยหลังจากวงแหวนของ ดาวเนปจูนถูกค้นพบมาแล้วก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ยานวอยเอเจอร์ 2 ยังได้ค้นพบดวงจันทร์ของดาวเนปจูนเพิ่มเติมจากเดิมอีก 6 ดวงด้วย
วงโคจร
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
วงโคจรของดาวเนปจูน
วงโคจรของดาวเนปจูนมีความรีน้อยมากเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวง อื่นๆ (ยกเว้นดาวศุกร์) นั้นคือมีความกลมค่อนข้างมาก โดยมีจุดไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด 4.54 พันล้านกิโลเมตร และจุดใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด 4.44 พันล้านกิโลเมตร คือมีความแตกต่างกันเพียงประมาณ 100 ล้านกิโลเมตร
แกนหมุนของดาวเนปจูนมีความเอียง 28.3 องศาเมื่อเทียบกับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ (ซึ่งคล้ายกับแกนโลกที่มีความเอียง 23.5 องศา) ซึ่งหมายความว่าบนดาวเนปจูนจะมีฤดูกาลเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับโลก แต่เนื่องจากดาวเนปจูนมีคาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ยาวนานถึง 164.8 ปี ฤดูกาลแต่ละฤดูกาลจึงยาวนานถึงประมาณ 40 ปี และเนื่องจากคาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 164.8 ปีนี่เอง ทำให้ดาวเนปจูนยังโคจรไม่ครบ 1 รอบดีในปีนี้(ปี 2009) ตั้งแต่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี 1846 (จะโคจรครบ 1 รอบในปี 2011)
โครงสร้างของดาวเนปจูน
ดาวเนปจูนมีขนาดและโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับดาวยูเรนัสโดยมี แกนกลางเป็นหินและน้ำแข็ง ซึ่งมีมวลประมาณ 1.2 เท่าของแกนของโลกเรา มีความดันประมาณ 7 ล้านบาร์ ซึ่งมากกว่าความดันบรรยากาศบนพื้นโลกกว่าล้านเท่าและคาดว่ามีอุณหภูมิสูงก ว่า 5400 เคลวิน
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
โครงสร้างของดาวเนปจูน
ชั้นแมนเทิลของดาวเนปจูนประกอบด้วยน้ำ แอมโมเนีย และมีเทนที่มีอุณหภูมิ 2000 ถึง 5000 เคลวินและมีมวลประมาณ 10 ถึง 15 เท่าของมวลของโลก โดยชั้นของแมนเทิลนี่เองที่สร้างสนามแม่เหล็กรอบๆ ดาวเนปจูน ส่วนชั้นนอกสุดของดาวเนปจูนเป็นชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยแก๊สไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน
เนื่องจากดาวเนปจูนมีการโคจรรอบตัวเองที่รวดเร็วมากคือประมาณ 16.11 ชั่วโมง จึงทำให้ดาวเนปจูนมีลักษณะโป่งออกที่เส้นศูนย์สูตร โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณเส้นศูนย์สูตรมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางในแนว ขั้วเหนือ-ใต้ประมาณ 848 กิโลเมตร
ชั้นบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูนประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจน 79 เปอร์เซนต์ ฮีเลียม 18 เปอร์เซนต์ แก๊สมีเทนและแก๊สอื่นๆอีก 3 เปอร์เซนต์ และแก๊สมีเทนในชั้นบรรยากาศนี่เองที่เป็นตัวดูดกลืนแสงสีแดงพร้อมทั้งสะท้อน แสงสีน้ำเงินทำให้เราสังเกตุเห็นดาวเนปจูนปรากฏเป็นสีน้ำเงิน
ชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูนมีความแปรปรวนสูงมีพายุขนาดใหญ่และกระแส ลมที่รุนแรงมาก โดยอาจมีกระแสลมแรงถึง 2160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวเนปจูนมีความหนาวเย็นมากคือมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย -200 องศาเซลเซียส เนื่องจากว่าดาวเนปจูนอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มาก ความร้อนจากดวงอาทิตย์จึงมีผลต่อดาวเนปจูนน้อยมาก ความร้อนส่วนใหญ่ที่มีผลต่อบรรยากาศบนดาวเนปจูนจึงมาจากความร้อนภายในแกนของ ดาวเนปจูนเอง
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ภาพ Great Dark Spot บนดาวเนปจูน ถ่ายโดยยานสำรวจ Voyager 2 เป็นการเกิดพายุแบบหมุนทวนเข็มนาฬิกาบนดาวเนปจูน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

-------------------


ดาวยูเรนัส (Uranus)
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย) 2.87 พันล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย) 25,559 กิโลเมตร (4.007 เท่าของโลก)
มวล 8.681x1025 kg (14.536 เท่าของโลก)
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 30,799 วัน (84.3 ปี)
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 17.24 ชั่วโมง
จำนวนดาวบริวาร 27
สัญลักษณ์ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
อุณหภูมิ -214 องศาเซลเซียส


ดาวยูเรนัส(หรือที่คนไทยเรียกดาวมฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ถูกค้นพบโดยเซอร์วิลเลียม เฮอร์เซล (Sir William Herschel) ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1781 ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ.1977 นักดาราศาสตร์ที่หอดูดาวไคเปอร์ แอร์บอร์น (Kuiper Airborne Observatory) ได้ค้นพบว่าดาวยูเรนัสมีวงแหวนในระหว่างการศึกษาดาวยูเรนัส โดยพบว่าดาวยูเรนัสหายไปเป็นจำนวน 5 ครั้ง ซึ่งพวกเขาได้สรุปว่าดาวยูเรนัสน่าจะมีวงแหวนล้อมรอบอยู่ โดยวงแหวนดังกล่าวได้บดบังแสงจากดาวยูเรนัสไว้ ทำให้มองไม่เห็นดาวยูเรนัสเป็นบางช่วงเวลา
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
เซอร์วิลเลียม เฮอร์เซล
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/William_Herschel

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ภาพถ่ายดาวยูเรนัสพร้อมวงแหวนและดาวบริวารจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Uranus

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
วงแหวนดาวยูเรนัส
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Uranus

ในปีค.ศ.1986 เมื่อยานสำรวจวอยเอเจอร์ 2 โคจรผ่านดาวยูเรนัสได้ถ่ายภาพดาวยูเรนัสพร้อมวงแหวนและดาวบริวารส่งกลับมา ยังโลกเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตามวงแหวนของดาวยูเรนัสมีความมืดมากเมื่อเทียบกับวงแหวนของดาว เสาร์ เราจึงสังเกตุเห็นวงแหวนของดาวยูเรนัสได้ยาก โดยวงแหวนที่สว่างที่สุดคือวงแหวน ε
วงโคจร
ดาวยูเรนัสใช้เวลา 84 ปี(ของโลก) ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวยูเรนัสมีการโคจรรอบตัวเองในทิศทางที่ตรงข้ามกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ดวงอื่นๆ (ยกเว้นดาวศุกร์) โดยมีแกนการโคจรรอบตัวเองทำมุม 98 องศากับระนาบการโคจร ส่งผลให้ขั้วเหนือและขั้วใต้ของดาวยูเรนัสหันเข้าหาดวงอาทิตย์ต่อเนื่องเป็น เวลาถึง 21 ปี เช่น เมื่อขั้วเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์เป็นเวลา 21 ปี ขั้วใต้จะไม่ถูกแสงอาทิตย์เลย
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
วงโคจรของดาวยูเรนัส
ถึงแม้ว่าดาวยูเรนัสจะหันขั้ว(เหนือหรือใต้)เข้าหาดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้บริเวณขั้วได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากกว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตร แต่ก็ปรากฏว่าอุณหภูมิบริเวณเส้นศูนย์สูตรมีค่าสูงกว่าบริเวณขั้ว ซึ่งยังไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด
โครงสร้างของดาวยูเรนัส
แกนกลางของดาวยูเรนัสประกอบด้วยหินและน้ำแข็งมีรัศมีประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของรัศมีของดาว มีน้ำหนักประมาณ 0.55 เท่าของโลก ส่วนแมนเทิลที่ล้อมรอบแกนกลางอยู่มีน้ำหนักประมาณ 13.4 เท่าของโลกประกอบไปด้วยน้ำ มีเทน และ แอมโมเนียแข็ง ส่วนรอบนอกสุดของดาวยูเรนัสประกอบไปด้วยแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม ซึ่งมีมวลประมาณ 0.5 เท่าของโลก
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
โครงสร้างของดาวยูเรนัส
โครงสร้างภายในดาวยูเรนัสที่เป็นของเหลว นั่นหมายถึงว่าดาวยูเรนัสไม่มีพื้นผิวที่เป็นของแข็ง ชั้นบรรยากาศที่เป็นแก๊สจะแทรกซ้อนอยู่กับพื้นผิวที่เป็นของเหลว ดังนั้นบริเวณที่กำหนดให้เป็นพื้นผิวของดาวยูเรนัสจึงนิยามให้เป็นบริเวณที่ มีความดันบรรยากาศเป็น 1 บาร์(หรือ 100kPa)
องค์ประกอบของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนมีความแตกต่างจากดาวเสาร์และ ดาวพฤหัสบดี โดยพบว่าดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนประกอบด้วยน้ำแข็งเป็นหลัก จึงอาจเรียกดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนว่าเป็นดาวน้ำแข็งยักษ์ (ice gaints)
ชั้นบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศของดาวยูเรนัสประกอบด้วยไฮโดรเจน 82.5 เปอร์เซนต์ ฮีเลียม 15.2 เปอร์เซนต์ มีเทน 2.3 เปอร์เซนต์ โดยกลุ่มแก๊สมีเทนนี่เองที่ดูดกลืนแสงสีแดงจากดาวอาทิตย์ทำให้เรามองเห็นดาว ยูเรนัสมีสีฟ้า ข้อมูลจากยานสำรวจวอยเอเจอร์ 2 พบว่ากลุ่มหมอกแอมโมเนียและน้ำมีการเคลื่อนที่ไปรอบๆดาว ซึ่งเป็นผลมาจากลมที่พัดและการโคจรรอบตัวเองของดาวยูเรนัส นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการคายพลังงานจากดาวยูเรนัสและการรับพลังงานจากดวง อาทิตย์มีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งส่งผลให้สภาพอากาศบนดาวยูเรนัสมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พร้อม ข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ยานสำรวจวอยเอเจอร์ 2 โคจรผ่านดาวยูเรนัสในปีค.ศ.1986
ภาพจาก https://www.cartage.org.lb/en/themes/sciences/Astronomy/Astronautics/Theofspace/voyager2/voyager2.htm

อัพเดทล่าสุด