ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ


1,694 ผู้ชม


ดาวศุกร์ (mars)
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย) 227.9 ล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย) 3390 กิโลเมตร (0.533 เท่าของโลก)
มวล 6.4185x1023 kg (0.107 เท่าของโลก)
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 687 วัน
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 24.63 ชั่วโมง
จำนวนดาวบริวาร 2
สัญลักษณ์ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
อุณหภูมิ -87 ถึง -5 องศาเซลเซียส

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ในลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวเคราะห์ลำดับสุดท้ายของดาวเคราะห์หิน* บางครั้งเรามักเรียกดาวอังคารว่า "ดาวแดง" (Red Planet) เนื่องจากดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต พื้นผิวของดาวอังคารจะมีความแตกต่างระหว่างหุบเหวที่ลึกมากและภูเขาไฟที่สูง มากที่สุดเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ พื้นผิวของดาวอังคารในปัจจุบันมีความแห้งแล้งแต่ก็มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า ดาวอังคารเคยมีน้ำมาก่อน
* ดาวเคราะห์ที่มีพื้นผิวชัดเจน (terrestrial planet) หรือ ดาวเคราะห์หิน (rocky planet) ในระบบสุริยะประกอบด้วยดาวเคราะห์ 4 ดวงคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ภาพเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์หินทั้งสี่ คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร ตามลำดับ(จากซ้ายไปขวา)
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Mars

ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอส (Phobos) และดีมอส (Deimos) โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
โฟบอส (ซ้าย) และ ดีมอส (ขวา)
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/File:Phobos_deimos_diff_rotated.jpg

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
วงโคจรของโฟบอสและดีมอสรอบดาวอังคาร
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/File:Orbits_of_Phobos_and_Deimos.gif

  โฟบอส ดีมอส
ขนาด 27 x 21.6 x 18.8 กิโลเมตร 10 x 12 x 16 กิโลเมตร
เส้นผ่านศูนย์กลาง (เฉลี่ย) 22.2 กิโลเมตร 12.6 กิโลเมตร
น้ำหนัก 1.08x1016 kg 2x1015 kg
ระยะห่างจากดาวอังคาร (เฉลี่ย) 9378 กิโลเมตร 23400 กิโลเมตร
คาบเวลาการโคจร 7.66 ชั่วโมง 30.35 ชั่วโมง

วงโคจร
วงโคจรของดาวอังคารเป็นวงโคจรที่เป็นวงรีมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่ สุด(perihelion) ห่างจากดวงอาทิตย์ 207 ล้านกิโลเมตร และจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด(aphelion) 249 ล้านกิโลเมตร จึงทำให้อุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวมีความแตกต่างกันมาก แกนของดาวอังคารมีความเอียงเช่นเดียวกันกับโลกโดยมีความเอียงประมาณ 25.19 องศา ทำให้ช่วงเวลาหนึ่งแกนขั้วโลกเหนือของดาวอังคารชี้ไปยังดวงอาทิตย์ และอีกช่วงเวลาหนึ่งแกนขั้วโลกใต้ชี้ไปยังดวงอาทิตย์ บนดาวอังคารจึงมีฤดูกาลเช่นเดียวกันกับบนโลกแต่ว่าในแต่ละฤดูกาลจะมีความ ยาวนานกว่าเนื่องจากเวลาที่ใช้ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์มีความยาวนานกว่าโลก นั่นเอง
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
วงโคจรของดาวอังคาร
โครงสร้างของดาวอังคาร
ดาวอังคารมีขนาด(รัศมี)ประมาณครึ่งหนึ่งของโลกและมีระยะห่างจากดวง อาทิตย์มากกว่าโลกซึ่งหมายความว่าดาวอังคารน่าจะเย็นตัวเร็วกว่าโลก แกนกลางที่เป็นโลหะของดาวอังคารจึงน่าที่จะเป็นของแข็ง แต่เนื่องด้วยความหนาแน่นของดาวอังคารค่อนข้างต่ำเมื่อเมื่อกับดาวเคราะห์ หินอื่นๆจึงเชื่อได้ว่าแกนของดาวอังคารน่าจะมีส่วนผสมของซัลเฟอร์(sulphur) อยู่ในรูปของไอออนซัลไฟด์ (iron sulphide)
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
โครงสร้างของดาวอังคาร
รอบๆแกนของดาวอังคารจะเป็นชั้นแมนเทิลที่มีความหนามากเมื่อเทียบ กับแกน โดยประกอบด้วยหินซิลิเกตเป็นหลัก ส่วนเปลือกที่เป็นหินชั้นนอกสุดของดาวอังคารจะมีความหนาประมาณ 80 กิโลเมตรในซีกโลกใต้ แต่จะมีความหนาเพียง 35 กิโลเมตรในซีกโลกเหนือ
ชั้นบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารค่อนข้างเบาบางมากคือมีความดันบรรยากาศ เฉลี่ยที่พื้นผิวเพียง 0.6 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับโลก ชั้นบรรยากาศจะประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลักประมาณ 95.3 เปอร์เซนต์ มีแก๊สไนโตรเจนและอาร์กอน ประมาณ 2.7 และ 1.6 เปอร์เซนต์ตามลำดับ นอกนั้นจะเป็นแก๊สอื่นๆ
การที่เราเห็นดาวอังคารมีสีแดง (ความจริงจะเห็นเป็นสีค่อนไปทางส้มอมชมพู) เนื่องจากมีฝุ่นของไอออนออกไซด์ (iron oxide) หรือที่เรารู้จักกันว่าเป็น สนิมเหล็ก อากาศบนดาวอังคารจะมีความแปรปรวนสูงมาก โดยในช่วงฤดูร้อนของซีกโลกใต้ ลมจะพัดจากซีกโลกใต้ที่ร้อนกว่าไปยังซีกโลกเหนือ ซึ่งจะพัดพาเอาฝุ่นละอองต่างๆขึ้นไปสูงได้ถึง 1 กิโลเมตร ซึ่งพายุฝุ่นที่เกิดขึ้นนี้จะปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของดาวอังคารเลยทีเดียว และพายุฝุ่นนี่เองที่พัดมานานหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวของดาวอังคารมีลักษณะ เป็นแนวสันของหิน (yardangs or rock ridges) อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ภาพแสดงแนวสันของหินที่เกิดขึ้นบนดาวอังคารเนื่องจากการพัดของลมพายุ
ภาพจาก https://www.psi.edu/pgwg/images/sep08image.html

--------------

โลก (Earth)
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย) 149.6 ล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย) 6371 กิโลเมตร
มวล 5.9736x1024 kg
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 365.256 วัน
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 23 ชั่วโมง 56 นาที 4.1 วินาที
จำนวนดาวบริวาร 1
สัญลักษณ์ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
อุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียส

โลกที่อยู่อาศัยของมนุษย์เรานั้นเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 3 ในระบบสุริยะ โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์หินทั้งสี่ในระบบ สุริยะ(ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร) โลกนั้นถือกำเนิดเมื่อ 4.54 พันล้านปีมาแล้ว โดยในปัจจุบันโลกถือว่าเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัย อยู่ เนื่องจากโลกมีชั้นบรรยากาศที่มีออกซิเจนและมีน้ำที่มีความจำเป็นต่อการดำรง ชีวิต อีกทั้งยังมีสนามแม่เหล็กโลกที่ป้องกันการแผ่รังสีต่างๆที่เป็นอันตรายจาก อวกาศอีกด้วย
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก
ภาพจาก https://www.nmm.ac.uk/rog/2008/08/in_the_shadow_of_the_earth.html

นอกจากโลกของเราที่โคจรรอบดวงอาทิตย์แล้วโลกยังมีดวงจันทร์ที่ โคจรรอบโลกอยู่ด้วย โดยระนาบการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ทำมุมประมาณ 5 องศากับระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งสมมุติว่าระนาบทั้งสองเป็นระนาบเดียวกันแล้วจะทำให้เกิดอุปราคาขึ้นทุก 2 สัปดาห์ สลับกันระหว่างสุริยุปราคาและจันทรุปราคา นอกจากนี้ดวงจันทร์ยังมีคาบเวลาการโคจรรอบโลก 27.32 วัน เท่ากันกับคาบเวลาในการโคจรรอบตัวเองของดวงจันทร์ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ จากโลกเพียงด้านเดียวของดวงจันทร์อยู่เสมอ
วงโคจร
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
วงโคจรของโลก
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากเหนือขั้ว โลกเหนือของโลกและดวงอาทิตย์ มีลักษณะการโคจรเป็นรูปวงรีใช้เวลาในการโคจร 1 รอบ 365.2564 วัน โดยมีระยะใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด 147.1 ล้านกิโลเมตร และระยะไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด 152.1 ล้านกิโลเมตร โดยแกนหมุนของโลก(ขั้วเหนือ-ใต้)ทำมุมเอียงกับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ (ecliptic plane) 23.5 องศา การที่แกนโลกมีความเอียงนี่เองทำให้แต่ละพื้นที่บนโลกได้รับแสงจากดวง อาทิตย์ไม่เท่ากันในแต่ละวันใน 1 ปี จึงทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั่นเอง ในฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ ขั้วโลกเหนือจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์ และเมื่อขั้วโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์ก็จะเกิดฤดูหนาวขึ้นที่ซีกโลกเหนือ
การแบ่งว่าเกิดฤดูกาลใดบนโลกนี้สามารถแบ่งได้โดยใช้วันโซลสทิส (solstices) และวันอิควิน็อก (equinox) โดยวันโซลสทิสฤดูร้อน (summer solstice) เกิดขึ้นวันที่ 21 มิถุนายน เป็นวันที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์มากที่สุด วันโซลสทิสฤดูหนาว (winter solstice) เกิดขึ้นวันที่ 21 ธันวาคมเป็นวันที่ขั้วโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์มากที่สุด วันอิควิน็อกฤดูใบไม้ผลิ (spring equinox) และวันอิควิน็อกฤดูใบไม้ร่วง (autumnal equinox) เกิดขึ้นในวันที่ 20 มีนาคม และ 23 กันยายน ตามลำดับเป็นวันที่แกนของโลกตั้งฉากกับเส้นตรงที่ลากจากโลกไปยังดวงอาทิตย์ โดยวันทั้งสี่ก็จะเป็นช่วงของวันที่เกิดฤดูกาลต่างๆตามชื่อของวันนั่นเอง
โครงสร้างของโลก
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
โครงสร้างของโลก
พื้นผิวส่วนใหญ่ของโลกถึง 71 เปอร์เซนต์ปกคลุมไปด้วยน้ำ ส่วนพื้นผิวที่เหนือก็จะเป็นพื้นที่ที่เป็นทวีปและเกาะต่างๆ โดยในส่วนของเปลือกโลกนี้จะมีความหนาต่างกันออกไปเช่นเปลือกโลกส่วนที่อยู่ ใต้มหาสมุทรอาจมีความหนาประมาณ 6 กิโลเมตร ส่วนเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปอาจมีความหนาถึง 30 – 50 กิโลเมตร เปลือกโลกนี้จะไปกอบไปด้วยหินและแร่ธาตุมากมากหลากหลายชนิด
ถัดจากเปลือกโลกลงไปจะเป็นชั้นของแมนเทิลที่เป็นของแข็งประกอบไป ด้วยเหล็กและแมกนีเซียมเป็นหลักโดยมีความหนาประมาณ 2800 กิโลเมตร ถัดลงไปจะเป็นส่วนของแกนโลกซึ่งแบ่งออกเป็นสองชั้นด้วยกันคือ แกนโลกชั้นนอก (outer core) และ แกนโลกชั้นใน (inner core) โดยแกนโลกชั้นนอกจะอยู่ห่างจากผิวโลกลงไปประมาณ 2900-5000 กิโลเมตรประกอบไปด้วยเหล็กและนิกเกิลในสถานะของเหลวมีอุณหภูมิประมาณ 6200 – 6400 องศาเซลเซียส ส่วนแกนโลกชั้นในมีรัศมีประมาณ 1000 กิโลเมตรชั้นนี้ก็จะประกอบไปด้วยเหล็กและนิกเกิลเช่นเดียวกับแกนโลกชั้นนอก แต่อยู่ในสถานะของแข็งมีอุณหภูมิประมาณ 4300-6200 องศาเซสเซียส
ชั้นบรรยากาศ
โลกห่อหุ้มไปด้วยชั้นบรรยากาศที่มีความหนาหลายร้อยกิโลเมตร โดยประกอบไปด้วยแก๊สไนโตรเจน 78.1 เปอร์เซนต์ แก๊สออกซิเจน 20.9 เปอร์เซนต์ อาร์กอน 0.9 เปอร์เซนต์ ที่เหลือเป็นแก๊สอื่นๆ นอกจากนี้ยังปรากฏไอน้ำในชั้นบรรยากาศอีกด้วย ชั้นบรรยากาศของโลกนี้จะมีความหนาแน่นที่บริเวณผิวโลกมากกว่าบริเวณที่สูง ขึ้นไปอันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงของโลก เช่นที่ความสูง 30 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเลความดันบรรยากาศจะมีค่าเพียง 1 เปอร์เซนต์ของความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเล
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ชั้นบรรยากาศของโลก
ภาพจาก https://www.asc-csa.gc.ca/images/spacesuit_layers.jpg

ชั้นบรรยากาศของโลกแบ่งได้เป็น 5 ชั้นดังนี้
  • โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) เป็นชั้นบรรยากาศล่างสุดตั้งแต่ผิวโลกไปถึงความสูง 8 กิโลเมตรบริเวณขั้วโลกหรือ ความสูง 15 กิโลเมตรบริเวณเส้นศูนย์สูตร ชั้นบรรยากาศนี้จะมีมวลของอากาศถึง 75 เปอร์เซนต์โดยมวลของมวลอากาศทั้งหมดที่ห่อหุ้มโลกไว้ อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้บริเวณขั้วโลกจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณเส้น ศูนย์สูตรเนื่องจากผิวโลกบริเวณต่างๆ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ต่างกันทำให้เกิดสภาวะอากาศต่างๆขึ้น เกิดลมพัดจากบริเวณที่อุณหภูมิแตกต่างกันไปทั่วพื้นผิวโลก และลมดังกล่าวก็ทำให้เกิดการไหลขแงกระแสน้ำด้วย บริเวณบนสุดของชั้นโทรโพสเฟียร์นี้อาจมีอุณหภูมิลดลงถึงประมาณ -52 องศาเซลเซียส
  • สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) เป็นบริเวณถัดจากชั้นโทรโพสเฟียร์ไปจนถึงความสูง 50 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล บริเวณบนสุดของชั้นสตราโตสเฟียร์นี้อาจมีอุณหภูมิประมาณ -3 องศาเซลเซียส
  • เมสโซสเฟียร์ (Mesosphere) เป็นบริเวณถัดจากชั้นสตราโตสเฟียร์ไปจนถึงความสูง 80-85 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล บริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างชั้นเมสโซสเฟียร์และชั้นเทอร์โมสเฟียร์นี้(บริเวณ บนสุดของชั้นเมสโซสเฟียร์) จัดว่าเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำสุดบนโลกคือประมาณ -100 องศาเซลเซียส ชั้นเมสโซสเฟียร์นี้เป็นชั้นที่ฝนดาวตก (meteors) ส่วนใหญ่เผาไหม้หมดเมื่อเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
    ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล พร้อม ลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
    อุณหภูมิและความดันที่บรรยากาศชั้นต่างๆ
    ภาพจาก https://www.wunderground.com/blog/LRandyB/comment.html?entrynum=73

  • เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) เป็นบริเวณถัดจากชั้นเมสโซสเฟียร์ไปจนถึงความสูงประมาณ 600 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล บริเวณบนสุดของชั้นเทอร์โมสเฟียร์นี้อาจมีอุณหภูมิสูงถึง 1700 องศาเซลเซียสชั้นนี้เป็นชั้นสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) โคจรรอบโลกอยู่ที่ความสูง 320 – 380 กิโลเมตร
  • เอ็กโซสเฟียร์ (Exosphere) เป็นบรรยากาศชั้นนอกสุดของโลกเป็นรอยต่อระหว่างชั้นบรรยากาศของโลกและอวกาศ ซึ่งมีขอบเขตแบ่งระหว่างชั้นบรรยากาศและอวกาศที่ไม่ชัดเจน บรรยากาศชั้นนี้ประกอบไปด้วยแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นหลัก

Source: https://www.space.mict.go.th/knowledge.php?id=planet_earth

อัพเดทล่าสุด