สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล


2,313 ผู้ชม


ดาวศุกร์ (Venus)
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย) 108.2 ล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย) 6052 กิโลเมตร (0.9499 เท่าของโลก)
มวล 4.8685x1024 kg (0.815 เท่าของโลก)
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 225 วัน
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 243 วัน
จำนวนดาวบริวาร 0
สัญลักษณ์ สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
อุณหภูมิ 464 องศาเซลเซียส

ดาวศุกร์เป็นดาวดวงที่สองในระบบสุริยะและเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่ มีความคล้ายคลึงกับโลกมากที่สุดในเรื่องของขนาด มวล และความหนาแน่น บางคนจึงเรียกดาวศุกร์ว่าดาวฝาแฝดหรือดาวน้องสาวของโลก แต่ดาวศุกร์ก็มีความแตกต่างจากโลกอย่างสิ้นเชิงในเรื่องของชั้นบรรยากาศที่ มีความหนาแน่นสูงและเต็มไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ กลุ่มเมฆที่ประกอบไปด้วยกรดซัลฟุริก และอุณหภูมิที่ร้อนจัดถึง 464 องศาเซลเซียสซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล

ภาพจาก https://www.astro.virginia.edu/~mnc3z/astro121.html

เมื่อเราสังเกตดูท้องฟ้า ดาวศุกร์จะเป็นดาวที่มีความสว่างมากที่สุด(ถ้าไม่นับดวงอาทิตย์และดวง จันทร์) เนื่องจากดาวศุกร์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลกเราจึงเห็นดาวศุกร์ได้ในช่วง หัวค่ำและช่วงก่อนรุ่งสางเท่านั้นคือมีระยะห่างเชิงมุม (มองจากโลก) ไม่เกิน 47.8 องศา เราเรียกดาวศุกร์เมื่อปรากฏในช่วงหัวค่ำว่า ดาวประจำเมือง(evening star) ส่วนเมื่อปรากฏในช่วงก่อนรุ่งสางเราเรียกว่า ดาวประกายพรึก (morning star)
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
การหมุนรอบตัวเองและการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์
ภาพจาก https://www.geocities.com/kfuller2001/tVenus.html

ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีคาบเวลาการ หมุนรอบตัวเอง(243 วันของโลก)นานกว่าคาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์(225 วันของโลก) การหมุนรอบตัวเองของดาวศุกร์ทุกๆ 1/8 รอบ ดาวศุกร์จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ได้ประมาณ 1/7 รอบ การหมุนเช่นนี้ทำให้ 1 วัน(ของดาวศุกร์) มีค่าประมาณ 117 วัน(ของโลก) นั่นหมายถึงว่า 1 วันของดาวศุกร์มีค่าน้อยกว่าเวลาการหมุนรอบตัวเองของดาวศุกร์เสียอีก โดยระยะเวลา 1 ปี(ของดาวศุกร์) มีค่าเท่ากับประมาณ 1.9 วัน(ของดาวศุกร์)
ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus)
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ.2004
ในภาพจะเห็นดาวศุกร์เป็นจุดดำบนดวงอาทิตย์
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Transit_of_Venus,_2004

เนื่องจากดาวศุกร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้เมื่อดาวศุกร์โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ คนบนโลกจะเห็นดาวศุกร์เป็นวงกลมดำบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เรียกว่า ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ซึ่งเกิดไม่บ่อยนัก โดยจะเกิดเป็นคู่ห่างกันประมาณ 8 ปี ใน 1 ศตวรรษจะมีเกิด 1 คู่ เช่น คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 คือในปี ค.ศ. 1631 และ 1639 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 คือในปี ค.ศ. 1761 และ 1769 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือในปี ค.ศ. 1874 และ 1882 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 คือในปี ค.ศ. 2004 และ 2012 โดยในปี ค.ศ.2012 นั้นจะเกิดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
แผนภาพแสดงการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์และระนาบการโคจรของโลกกับดาวศุกร์
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Transit_of_Venus


วงโคจร
วงโคจรของดาวศุกร์มีความรีน้อยมาก(คือใกล้เคียงวงกลม) คือมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด(perihelion) 107.5 ล้านกิโลเมตร และจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด(aphelion) 108.9 ล้านกิโลเมตร ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีฤดูกาลเช่นเดียวกับดาวพุธด้วยเหตุที่ว่า ระนาบการโคจรกับระนาบของเส้นผ่านศูนย์กลางดาวศุกร์เกือบเป็นระนาบเดียวกัน
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
วงโคจรของดาวศุกร์
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
การหมุนรอบตัวเองของดาวศุกร์
ภาพจาก https://www.windows.ucar.edu/kids_space/images/ask_retrograde_big.jp

นอกจากนี้ดาวศุกร์เป็นหนึ่งในสองดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ (ดาวเคราะห์อีกดวงคือยูเรนัส) ที่มีทิศทางการหมุนรอบตัวเองกับทิศทางการโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ต่างกัน คือมีทิศทางการโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา ส่วนทิศทางการหมุนรอบตัวเองมีลักษณะไปตามเข็มนาฬิกา
โครงสร้างของดาวศุกร์
ดาวศุกร์เป็นดาวที่มีขนาดและมวลที่ใกล้เคียงกับโลกมากนักวิทยา ศาสตร์จึงเชื่อว่าโครงสร้างของดาวศุกร์มีความคล้ายคลึงกับโลก โดยแกนชั้นใน (inner core) ประกอบไปด้วยโลหะแข็ง(เหล็กและนิกเกิล) ส่วนแกนชั้นนอก (outer core) เป็นโลหะเหลวที่เป็นเหล็กและนิกเกิลเช่นเดียวกับแกนชั้นใน แต่ไม่ปรากฏว่าไม่สามารถวัดสนามแม่เหล็กของดาวศุกร์ได้ ทั้งนี้เนื่องจากว่าดาวศุกร์มีการหมุนรอบตัวเองที่ช้ามากเมื่อเทียบกับโลก จึงไม่สามารถทำให้โลหะเหลวในแกนชั้นนอกเเกิดการหมุนเวียน(circulation)ได้ จึงไม่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ในส่วนของชั้นแมนเทิลจะเป็นหินและชั้นเปลือกจะประกอบด้วยซิลิเกตเป็นหลัก พื้นผิวของดาวศุกร์จะมีความแห้งแล้งและร้อนกว่าดาวเคราะห์อื่นๆในระบบสุริยะ
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
โครงสร้างของดาวศุกร์
ภาพดัดแปลงจาก https://www.solarviews.com/browse/venus/venusint.jpg

ชั้นบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์มีความหนาแน่นมาก โดยมีความดันบรรยากาศมากกว่า 90 เท่าเมื่อเทียบกับโลก ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์เป็นหลักถึง 96.5 เปอร์เซนต์ ซึ่งชั้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์นี้ปกคลุมตั้งแต่พื้นผิวของดาวศุกร์สูงขึ้น ไปถึง 80 กิโลเมตร เหนือจากนั้นยังมีชั้นของกลุ่มเมฆที่ประกอบไปด้วยกรดซัลฟุริก แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังดาวศุกร์ส่วนใหญ่กว่า 80 เปอร์เซนต์จะถูกสะท้อนโดยกลุ่มเมฆกลับไปสู่อวกาศ ส่วนรังสีความร้อนที่ปลดปล่อยจากพื้นผิวดาวศุกร์จะถูกดูดกลืนด้วยแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนไปสู่อวกาศได้ จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกขึ้นบนดาวศุกร์อย่างรุนแรง อุณหภูมิบนดาวศุกร์ที่เส้นผ่านศูนย์กลางและที่ขั้วโลกจะไม่แตกต่างกันมากนัก คืออยู่ที่ประมาณ 464 องศาเซลเซียสไม่ว่าจะเป็นช่วงกลางวันหรือกลางคืนก็ตาม
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
การดักจับความร้อนของแก๊สในชั้นบรรยากาศเปรียบเทียบระหว่างโลกกับดาวศุกร์
ภาพจาก https://physics.uoregon.edu/~jimbrau/astr121/Notes/Chapter9.html

สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์
ภาพจาก https://www.astro.yale.edu/chunter/presentations/cty/solarsystem-environments.html

-------------------

ดาวพุธ (Mercury)
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย) 57.9 ล้านกิโลเมตร
รัศมี (โดยเฉลี่ย) 2439.7 กิโลเมตร (0.383 เท่าของโลก)
มวล 3.3022x1023 kg (0.055 เท่าของโลก)
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 88 วัน
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง 59 วัน
จำนวนดาวบริวาร 0
สัญลักษณ์ สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
อุณหภูมิ -183 ถึง 427 องศาเซลเซียส

ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ดวงลำดับแรกในระบบสุริยะ (Solar system) คือเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ดาวพุธเป็นดาวที่สว่างมากเมื่อมองจากโลกแต่ว่าสามารถสังเกตเห็นได้ยากเนื่อง จากดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากคือมีระยะห่างเชิงมุม (มองจากโลก) ไม่เกิน 28 องศา เราสามารถสังเกตเห็นดาวพุธได้เพียงไม่กี่วันใน 1 เดือน ซึ่งจะสังเกตเห็นดาวพุธได้ในช่วงหัวค่ำ(หลังจากดวงอาทิตย์ตกดิน)หรือตอนเช้า มืด(ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น)
ดาวพุธมีพื้นผิวที่คล้ายกับพื้นผิวของดวงจันทร์คือมีผิวขรุขระ เนื่องจากจากการชนของหลุมอุกกาบาต โดยดาวพุธจะไม่มีดาวบริวาร แกนกลางของดาวพุธประกอบด้วยโลหะอยู่จำนวนมากทำให้มีสนามแม่เหล็กบนดาวพุธ ประมาณ 1 % ของโลก อุณหภูมิบนพื้นผิวมีความแตกต่างกันมากคืออาจร้อนสุดได้ถึง 427 องศาเซลเซียส และเย็นที่สุดได้ถึง -183 องศาเซลเซียส
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
การหมุนรอบตัวเองและการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของดาวพุธ
ภาพจาก https://www.solarviews.com/eng/mercury.htm

ดาวพุธหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 59 วัน(ของโลก) ในขณะที่ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 88 วัน(ของโลก) คือมีอัตราส่วนระหว่างการหมุนรอบตัวเองกับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 3:2 หมายถึงดาวพุธหมุนรอบตัวเอง 3 รอบจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ได้ประมาณ 2 รอบ(ดังรูป) ทำให้ดาวพุธหันด้านเดิมเข้าหาดวงอาทิตย์ทุกๆการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 2 รอบ จึงทำให้เวลา 1 วัน(ของดาวพุธ) คือนับตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นถึงดวงอาทิตย์ขึ้นบนดาวพุธ มีเวลาเท่ากับ 2 ปี(ของดาวพุธ)
ยานสำรวจมาริเนอร์ 10 (MARINER 10)
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
ยานสำรวจมาริเนอร์ 10
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Mariner_10

ยานสำรวจมาริเนอร์ 10 เป็นยานสำรวจเพียงลำเดียวที่เคยเดินทางไปสำรวจดาวพุธ โดยยานสำรวจมาริเนอร์ 10 มีภารกิจในการสำรวจชั้นบรรยากาศ พื้นผิว สภาพแวดล้อม และคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆของดาวพุธและดาวศุกร์ ยานสำรวจมาริเนอร์ 10 ถูกส่งจากโลกเมื่อปีค.ศ. 1973 และเดินทางผ่านดาวพุธสองครั้งในปี ค.ศ.1974 และอีกครั้งในปี ค.ศ.1975 ทำการถ่ายภาพดาวพุธได้มากกว่า 2000 ภาพ ซึ่งสามารถทำแผนที่ดาวพุธได้ประมาณ 40-45 เปอร์เซนต์

วงโคจร
วงโคจรของดาวพุธเป็นวงโคจรที่มีความรีมากที่สุดของดาวเคราะห์ใน ระบบสุริยะ(ถ้าไม่นับดาวพลูโตที่เป็นดาวเคราะห์แคระ) คือมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด(perihelion) 46 ล้านกิโลเมตร และจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด(aphelion) 70 ล้านกิโลเมตร นั่นหมายความว่า ถ้าไปอยู่บนดาวพุธจะเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก โดยเมื่ออยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดจะเห็นดวงอาทิตย์ใหญ่เป็น 2 เท่าครึ่งของเมื่ออยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ซึ่งโตประมาณ 4 เท่าของที่เห็นจากโลก ระนาบการโคจรกับระนาบของเส้นผ่านศูนย์กลางดาวพุธเกือบเป็นระนาบเดียวกันนั่น หมายความว่าบนดาวพุธจะไม่มีฤดูกาล และจะมีผิวดาวพุธบางส่วนที่ใกล้กับขั้วโลกจะไม่โดนแสงอาทิตย์เลยทำให้มี อากาศหนาวเย็นตลอดเวลา
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
วงโคจรของดาวพุธ
โครงสร้างของดาวพุธ
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ มีพื้นผิวที่เป็นหินคล้ายกับโลก โดยดาวพุธมีส่วนประกอบโดยรวมเป็นโลหะประมาณ 70 เปอร์เซนต์(โดยน้ำหนัก) และซิลิเกต (Silicate) ประมาณ 30 เปอร์เซนต์ แกนกลางของดาวพุธมีขนาดใหญ่คือมีรัศมีถึง 1800 กิโลเมตร(ประมาณ 75 เปอร์เซนต์ของรัศมีดาวพุธ) ประกอบด้วยโลหะเป็นส่วนมาก ล้อมรอบด้วยแมนเทิล(ที่ประกอบด้วยซิลิเกตเป็นหลัก)หนา 600 กิโลเมตร และมีเปลือกที่ประกอบด้วยซิลิเกตเป็นส่วนใหญ่ หนาประมาณ 100-300 กิโลเมตร
สีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
โครงสร้างของดาวพุธ
ชั้นบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศของดาวพุธมีความเบาบางมากและก็ไม่เสถียรนัก เนื่องจากดาวพุธมีมวลน้อยมากจึงทำให้มีแรงดึงดูดไม่เพียงพอที่จะยึดชั้น บรรยากาศไว้ได้นาน ชั้นบรรยากาศของดาวพุธประกอบไปด้วยแก๊สออกซิเจน ไฮโดรเจน โซเดียม ฮีเลียม โพแทสเซียม และแคลเซียม โดยไฮโดรเจนและฮีเลียมนั้นได้มาจากลมสุริยะ ส่วนแก๊สอื่นๆเกิดขึ้นบนดาวพุธเอง สำหรับด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์อากาศบนดาวพุธจะร้อนมากทำให้แก๊สเบาอย่าง เช่นฮีเลียมมีพลังงานสูงสามารถหลุดออกไปนอกอวกาศได้ ส่วนด้านมืดของดาวพุธที่หนาวเย็นนั้นชั้นบรรยากาศจะมีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากโมเลกุลของแก๊สมีพลังงานไม่เพียงพอที่จะหลุดออกสู่อวกาศได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

ระบบสุริยะและดาวบริวาร

ระบบสุริยะ
    ระบบสุริยะเป็นกลุ่มของดวงดาวซึ่งประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์และวัตถุบนท้องฟ้าต่าง ๆ ดาวฤกษ์มีเพียงดวงเดียว คือ ดวงอาทิยต์ ดาวเคราะห์ มี 9 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ส่วนวัตถุท้องผ้าที่มีหลายชนิด เช่น อุกกาบาต ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ เป็นต้น
    ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะซึ่งมีขนาดและความสว่างอยู่ในระดับ กลาง ๆ เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,392,000 กิโลเมตร หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา  25-35 วัน มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 6,000 องศาเซลเซียล

ดวงอาทิตย์สำคัญไฉน
1. ให้ความร้อน
2. ให้แสงสว่าง
3. ให้พลังงาน

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ


ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีอุณหภูมิสูงประมาณ  400 องศาเซลเซียส ดาวพุธหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 59 วัน โคจรรอบดวงอาทิตย์ 88 วัน เราสามารถมองเห็นดาวพุธด้วยตาเปล่าในตอนเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและตกครึ่ง ชั่วโมง

ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ระบบสุริยะ ดาวศุกร์มีขนาดใกล้เคียงกับโลกจึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดของโลก ดาวศุกร์ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร ดาวศุกร์มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เล็กกว่าโลก เราเห็นดาวศุกร์ปรากฏได้สองฟากฟ้า เมื่อเห็นดาวศุกร์ปรากฎในท้องฟ้าด้านตะวันออกตอนเช้ามืดเรียกว่า “ดาวรุ่ง” หรือ “ดาวประกายพรึก” แต่เมื่อปรากฎทางด้านตะวันตกตอนหัวค่ำ เรียกว่า “ดาวประจำเมือง”

โลก


เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมี ชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57×109) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา

ดาวอังคาร  เป็นดาวสีแดง ชาวโรมันขนานนามว่า เทพเจ้าแห่งสงคราม พื้นผิวเต็มไปด้วยอุกกาบาต ดาวอังคารเป็นดาวแห่งพายุฝุ่น อุณหภูมิและกระแสลมที่แปรเปลี่ยนไป ทำให้เกิดพายุฝุ่นตลอดทั้งปีมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง ชื่อ โฟบอส และไดมอส ซึ่งดวงจันทร์ทั้ง 2 ดวงนี้ถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชื่อ เอแสฟ ฮออล ในปี พ.ศ. 2420

ดาวพฤหัสบดี

เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบมวลระหว่าง ดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนกลายเป็นดาวฤกษ์ได้

ดาวเสาร์  เป็นดาวเคราะห์ที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นสีเหลืองอ่อน จากภาพถ่ายของยานวอยเอเจอร์ 1 และ 2 พบว่าดาวเสาร์ มีวงแหวน 7 ชั้นใหญ่ ๆ และมีวงแหวนเล็กซ้อนกันอยู่หลายพันวง ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคน้ำแข็งและก้อนหินที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ดาวเสาร์มีดวงจันทร์บริวาร 18 ดวง ดวงที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ไททัน


ดาวยูเรนัส  มีลักษณะแปลกกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ คือ ขณะที่ดาวเคราะห์อื่นมีแกนเอียงออกกับแนวตั้งฉาก จากระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์เพียงเล็กน้อย แต่ดาวยูเรนัสหันขั้วเหนือออกจากแนวดิ่งถึง 98 องศา เมื่อมองจากโลกจึงดูคล้ายกับดาวยูเรนัส หมุนรอบตัวเองกลับทิศกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ดาวยูเรนัสถูกค้นพบเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2324 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ วิลเลียม เฮอร์เชลและมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 21 ดวง

ดาวเนปจูน  เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็ลำดับที่ 8 ลักษณะเป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีลักษณะคล้ายกับดาวยูเรนัส ดาวเนปจูนถูกค้นพบเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2389 โดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ โจฮันน์ จี. กาลเล ดาวเนปจูน มีดวงจันทร์เป็นบริวารที่ถูกค้นพบแล้ว 8 ดวง

ดาวพลูโต  อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 9 แต่เนื่องจากวงโคจรของดาวพลูโตเป็นวงรีมาก และเอียงจากสุริยวิถีมากจึงมีบางช่วงที่ดาวพลูโตอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2473 โดยไคล์ด ทอมบอห์ ดาวพลูโตมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง ชื่อ คารอน

ดาวหาง  เป็นวัตถุที่เหลือจากการก่อตัวของดาวเคราะหืน้อยในระบบสุริยะและเป็นบริวาร ของดวงอาทิตย์ เพราะโคจรรอบดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับ ดาวเคราะห์ ขณะที่ดวงหางอยู่ไกลดวงอาทิตย์จะคล้ายก้อนน้ำแข็งสกปรก แต่เมื่อดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในระยะวงโคจรของดาวพฤหัสบดีดาวหาง เริ่มอุ่นขึ้น น้ำแข็งรอบนอกจะระเหิดกลายเป็นก๊าซและฝุ่นเกิดกลุ่มเมฆก๊าซเป็นบรรยากาศห่อ หุ้มขนาดใหญ่มาก ยิ่งโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ลมสุริยะรังสีจากดวงอาทิตย์ยิ่งทำให้หางของดาวหางพัดกระพืดออกเป็นลำยาวขึ้น

ปกติดาวหางที่สว่างมากจะมี 2 หาง หางแรกเป็นหางตรงสีน้ำเงินเรียกว่า หางก๊าซ (Gas tail) ลมสุริยะพัดไปในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ อีกหางหนึ่งสีเหลืองขาวเรียกว่าหางฝุ่น (Dust tail) เป็นห่างโค้งออกจากทางโคจรของดาวหาง ดาวหางบางดวงมีหางมากกว่า 2 หาง เช่น ดาวหาง เดอ เซซีออกซ์ มีหาง 7 หาง แผ่กระจายคล้ายหางนกยูง ดาวหางที่ควรรู้จักเช่นดาวหางฮัลเล่ย์ซึ่ง 75 ปีจะโคจรมาใกล้โลกครั้งหนึ่ง ดาวหางเองเก ซึ่งเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ในเวลา 3.3 ปี ทั้งนี้เพราะเคลื่อนที่เป็นวงรีอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวพุธถึงวงโคจรดาว พฤหัสบดี

ดาวตก หรือ อุกาบาต หรือผีพุ่งใต้  ดาวตกหรือผีพุ่งใต้ หรือ อุกกาบาต เป็นพวกสะเก็ดดาวของหิน เหล็ก และ นิเกิล เมื่ออยู่ในอวกาศ เรียกว่า ชิ้นอุกกาบาตหรือสะเก็ดดาว แต่ตอนผ่านชั้นบรรยากาศของโลกเกิดการเสียดสีมีแสงสว่างลุกโชติช่วงเป็นแนว สว่างไปในท้องฟ้า เรียกว่า ดาวตกหรือผีพุ่งใต้ ถ้ามีขนาดใหญ่มากเผาไหม้ไม่หมดตกถึงพื้นโลกเรียกว่า ก้อนอุกกาบาต ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ชนิด
1.    แอโรไลทส์ เป็นพวกที่เป็นหิน
2.    ไซเดอไรทส์ เป็นพวกเหล็ก และนิเกิล
3.    ไซเดอไรไรทส์ เป็นพวกหินและโลหะบางชนิด
รูปภาพก้อนอุกกาบาตและหลุมอุกกาบาต

ดาวเคราะห์น้อย เป็นวัตถุจำพวกหินและโหะ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์แต่มีขนาดเล้กเกินกว่าจะเป็นดาวเคราะห์ จึงเรียกว่า ดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์น้อยมีขนาดเท่าเม็ดกรวดจนถึงขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 1,000 กิโลเมตร มีประมาณ 3-5 หมื่นดวง ที่มีขนาดใหญ่ที่พบแล้วได้แก่ พาลาส, จูไน, เวสตา, และอีรอส ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่โคจรอยู่บริเวณแถบหนึ่งที่อยู่ระหว่างดาวอังคาร กับ ดาวพฤหัสบดี โดยเกาะกันเป็นวงแหวนอยู่

Source: https://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1208

อัพเดทล่าสุด