ไปดูหิ่งห้องและตกกุ้งที่อัมพวากับเรือนสบาย
หากพูดถึงอัมพวา ก็ขาดไม่ได้ที่ต้องไปชมหิ่งห้อย เพราะที่นี่ดังมานานมาก วันนี้หมูหินจึงถือโอกาสพาไปชมหิ่งห้องที่อัมพวาและต่อด้วยการไปตกกุ้งด้วยเลย ทริปนี้โดยการพาชมพาเที่ยวของ พี่จักรของเรือนสบายแห่งอัมพวาครับผม
ดูหิ่งห้อยนับร้อยนับพันตัวที่อัมพวากัน นั่งเรือชมหิ่งห้อย คล้อยตามลำน้ำ ดูธรรมชาติที่สร้างมาแบบสมบูรณ์ คลองอัมพวาใช่ว่ามากินๆๆๆๆแล้วก็กินอย่างเดียว ที่นี่ยังมีหิ่งห้อยให้ดูให้ชมกันอีกด้วย ช่วงเดือนห้าเดือนหก หรือเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมของทุกปี จะเป็นเดือนที่มีหิ่งห้อยมากที่สุดในรอบปี จะมีหิ่งห้อยจำนวนมากมาเกาะกิ่งต้นโกงกางและต้นลำพูอยู่นับร้อยนับพันตัว เปล่งแสงระยิบระยับแข่งกัน แต่เราก็สามารถชมหิ่งห้อยได้ตลอดทั้งปีนะครับ
ช่วงที่ชมหิ่งห้อยที่ดีที่สุดคือช่วงหัวค่ำ เวลาประมาณ หนึ่งทุ่ม-สองทุ่ม เพราะหากช้าไปกว่านี้แสงของหิ้งห้อยจะเริ่มอ่อนแสงลง เพราะยิ่งนานยิ่งดึกหิ่งห้อยก็อ่อนแรงลง อยากดูอยากเที่ยวก็ต้องไปเร็วๆหน่อย และจะให้ดีหากดูหิ่งห้อยแล้วก็นอนโฮมเสตย์แถวๆนั้นไปเลยดีกว่าครับ ดีกว่าขับรถกลับกรุงเทพ เพราะอาจจะทำให้ง่วงได้ เพราะเราได้ทานอาหารที่ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวาแบบอิ่มหนำสำรญมาแล้ว ก็นั่งเรือเที่ยวชมหิ่งห้อย ราคาที่พักก็ไม่แพง ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่าครับ ตอนเช้าจะได้ตักบาตรร่วมขันกันได้ด้วย เพราะตอนเช้าจะมีพระออกมาบิณฑบาตร บ้างก็เดินมาบ้าง บ้างก็พายเรือมาบ้าง เป็นเสน่ห์ที่หาได้ไม่ไกลจากเมืองหลวง
หิ่งห้อยตัวน้อยนิดพวกนี้มีอายุอยู่แค่ 14 วัน หรือประมาณสองอาทิตย์ อายุสั้นเหมือนแมลงทั่วๆไป ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 90 วัน อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นน้ำกร่อย แต่ก็อยู่ที่น้ำสะอาดหรือไม่สะอาดด้วยนะครับ เพราะหากน้ำไม่สะอาดการเกิดของหิ่งห้อยจะน้อย แต่ถ้าหากน้ำสะอาดการเกิดของหิ่งห้อยจะเยอะขึ้น งั้นเราต้องทำให้น้ำสะอาดๆไว้ เราจะได้มีหิ่งห้อยไว้ดูไปอีกนานแสนนาน
หิ่งห้อยจะอยู่ริมน้ำ เกาะกิ่งไม้โกงกางตามธรรมชาติ แต่บ้านของหิ่งห้อยคือต้นลำพู หิ่งห้อยที่อัมพวาจะเยอะมากที่สุดคือคลองผีหลอก แต่จะมีให้ชมตามแม่น้ำแม่กลองด้วย แต่ก็ไม่เยอะเหมือนคลองผีหลอกครับ ชื่ออาจฟังดูน่ากลัว แต่ความเป็นมาของคลองผีหลอกไม่ธรรมดา เพราะว่าชื่อคลองผีหลอกก็มาจากการหาปลาสมัยโบราณนั่นเอง
หิ่งห้อยมีให้ชมกันตามที่ต่างๆด้วย และมีหลายสายพันธุ์ หากบนับสายพันธุ์จากทั่วโลกก็ประมาณ 2,000 สายพันธุ์ แถวๆคลองบางคนทีก็มีให้ชมกัน แต่จะเป็นหิ่งห้อยช้างตัวหิ่งห้อยจะใหญ่กว่าที่อยู่ตามคลองผีหลอก(สามารถดูรูปหิ่งห้อยได้ที่หมูหินครับ) แต่จะชอบอาศัยอยู่ตามต้นมะพร้าว หิ่งห้อยช้างแสงสว่างจะเยอะกว่าหิ่งห้อยตัวน้อย แต่จะนิยมอยู่กันเป็นกลุ่มไม่ใหญ่ กลุ่มนึงจะมีประมาณสามถึงสี่ตัวครับ
การชมหิ่งห้อยควรชมในยามคืนเดือนมืดหรือข้างแรม เพราะถ้าหากเราไปชมหิ่งห้อยยามข้างขึ้นเราจะเห็นความงามของธรรมชาติของเจ้าหิ่งห้อยตัวน้อยน้อยลง เพราะความสว่างจากดวงจันทร์จะทำให้เรามองเห็นเจ้าหิ่งห้อยที่พร้อมเพียงกันส่องแสงระยิบระยับ เหมือนนัดหมายกันมาว่าต้องมีจังหวะที่เข้ากันเป็นกลุ่ม เพราะฉะนั้นก่อนการเดินทางก็ควรเช็คความพร้อมให้ดีนะครับ
การล่องเรือชมหิ่งห้อยจะเป็นวงรอบ หากเราชมเป็นวงรอบก็จะให้เวลาอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงกับอีก 20 นาที หากอย่างไรควรสอบถามทางเรือก่อนดีกว่าว่าเราควรจะไปแบบไหน อัตราค่าบริการก็อยู่ที่คนละ 60-90 บาทโดยประมาณหากไปแบบซื้อตั๋วนะครับ แต่เรืแก็บรรทุกได้ไม่เกิน 15 ท่าน หรือหากอยากไปแบบส่วนตัวก็ได้ไม่ว่ากัน ราคาก็อยู่ประมาณ 600 บาท นั่งได้ประมาณ 10 ท่าน ไปแบบเพื่อนฝูงหรือไปแบบครอบครัวที่อบอุ่นน่ารักก็ได้ไม่ว่ากัน
หลักจากดูหิ่งห้อยแล้วเรามาตกกุ้งกันต่อครับ เราพวกมือสมัครเล่น เห็นมืออาชีพเขาตกคิดว่าจะได้สักตัวสรุปว่าไม่ได้เลย แต่ก็ยังมีรูปสวยๆมาฝากครับ มาเรียนรู้วิธีตกกุ้งกันก่อนนะครับ
การเตรียมเบ็ด วิธีการตกกุ้ง เ มื่อตกเบ็ดแล้วให้นั่งนิ่ง ๆ เงียบ ๆ ประมาณ 15 20 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชุกชุมของกุ้ง เมื่อกุ้งกินเหยื่อแล้ว ให้ค่อย ๆยกเบ็ดขึ้นแล้วใช้สวิงรอง จากนั้นจึงหยิบกุ้งใส่ข้องที่เตรียมไว้ โดยข้องนั้นจะต้องแช่น้ำไว้เพื่อไม่ให้กุ้งตายก่อน คุณลุงยังกล่าวอีกว่าสาเหตุที่ใช้น้ำมะพร้าวน้ำหอมและใบเตยนั้นเป็นเพราะว่าทั้งสองอย่างนี้มีกลิ่นหอม เมื่อหย่อนเบ็ดลงไปในน้ำ กุ้งจะได้กลิ่นแล้วจะพากันมากิน ส่วนนุ่นและแป้งข้าวเจ้านั้นจะเป็นตัวช่วยทำให้เหยื่อเป็นก้อน ดังนั้นทั้งสองอย่างนี้จึงเป็นตัวประสานที่จะทำให้เหยื่อเกาะกันเป็นก้อนเมื่อจุ่มลงในน้ำ การตกกุ้งของคุณลุงเคยตกได้คราวละมาก ๆ เป็นประจำ จนคนอื่นที่หากุ้งเป็นอาชีพเกิดความไม่พอใจ เพราะกุ้งมีน้อยลง และขยายพันธุ์ไม่เพียงพอ กุ้งที่คุณลุงได้นั้นจะนำมากินเองบ้าง ขายบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ แต่ทุกครั้งที่คุณลุงออกไปตก มักจะได้กุ้งกลับมา คุณลุงยังกล่าวอีกว่าให้ไปลองทำดูเอง เพราะทำให้ดูไม่ได้ ถ้าทำให้ดูก็จะไม่ได้กุ้งกลับมา ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://gotoknow.org/blog/Beeboyblog/33468 |
การเดินทางก็มีอยู่มากมายหลายแบบเลือกกันแบบตามใจชอบ
การเดินทาง
จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ไปตามเส้นทางสู่ดำเนินสะดวก ประมาณกิโลเมตรที่ 9 จะเห็นทางแยกเลี้ยวขวา มีป้ายบอกชัดเจนว่า "ทางไปตลาดน้ำท่าคา" จากทางแยกไปบนถนนตัดใหม่ราว 5 กิโลเมตร จะถึง ตลาดน้ำท่าคา
จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนพระราม 2 (ทางหลวงหมายเลข 35) เมื่อเดินทางมาถึงจังหวัดสมุทรสงคราม ใช้ทางหลวงหมายเลข 325 (สมุทรสงคราม-บางแพ) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 32 เลยทางแยกเข้าวัดเกาะ แก้วไปเล็กน้อย จะมีทางแยกเข้าวัดเทพประสิทธิ์ (ถนนบางใหญ่-บางสะใภ้) ตรงเข้าไปประมาณ 5 กม. จากปากทางถึงตลาดน้ำ
จากสถานีขนส่งสายเหนือ หรือสายใต้ ถึงจังหวัดสมุทรสงคราม ขึ้นรถสองแถวเล็กสายแม่กลอง-วัดเทพ ประสิทธิ์ (คนละ 12 บาท) หรือเช่าเหมารถ (ประมาณคันละ 150 บาท) มายังตลาดน้ำ
หิ่งห้อยตัวน้อยตัวนิด ลิ่กษณะทั่วไปของหิ่งห้อย การทำแสงของหิ่งห้อย แหล่งอาศัยของหิ่งห้อย วงจรชีวิตของหิ่งห้อย ประโยชน์ของหิ่งห้อย ข้อแนะนำสำหรับการชมหิ่งห้อย ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก https://www.maeklongtoday.com |